วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างระหว่าง สละ กับ ระกำ

ความแตกต่างระหว่าง สละ กับ ระกำ

ที่มา http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=30365.0

เจอปัญหานี้กับตัวเองเลย คือ แยกไม่ออกระหว่างสละกับระกำ 5555

อันนี้ต้องบอกก่อนว่าถ้าไปซื้อกินเองตามตลาด แยกออกนะ ระหว่างเจ้าลูกสละกับลูกระกำเนี่ยะ แต่ที่เกิดปัญหากับตัวเองวันนี้คือ ตัดเจ้าผลไม้ชนิดหนึ่งจากสวน แล้วบอกไม่ได้ว่ามันคือสละหรือระกำ




คุณผู้ชายบอกว่ามันคือระกำ แต่เราดูจากลูกและกลิ่น มันคือสละ เพราะในความจำเราคือ ระกำมันลูกป้อม ๆ ก้นใหญ่ ๆ หัวลีบ ๆ แต่ถ้าสละลูกมันเรียว ๆ ไอ้เจ้าต้นที่เราตัดลูกมันก็เรียว ๆ นะ แต่....รสชาดเปรี้ยวแบบว่า ไม่รู้จะอธิบายยังไงเลย 5555


มานั่งหาข้อมูลจากในอินเตอร์เน็ต พอได้ข้อสรุปว่า ระกำกับสละมันแตกต่างกันประมาณนี้


ระกำ

- เปลือกสีส้มสว่าง ออกส้มแดง
- รสชาดเปรี้ยว
- ผลนึงมี 3 กลีบ
- ติดลูกได้เองไม่ต้องผสมเกสร


สละ
- เปลือกสีแดงเข้มถึงน้ำตาล
- รสชาดหวานมากกว่าเปรี้ยว
- ส่วนใหญ่ ผลมี 1-2 กลีบ
- ไม่ค่อยติดผลเองต้องช่วยผสมเกสร


จากที่ลองแกะชิมเองเมื่อเช้า สรุปได้ว่า ไอ้ผลไม้ที่เราตัดในสวนเมื่อเช้า มันคือ ระกำ เพราะลูกนึง มันมี 3 กลีบ และที่สำคัญมันเปรี้ยวมากกกกกก

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตำนานพระพุทธมหาธรรมราชา

ตำนานพระพุทธมหาธรรมราชา

https://sites.google.com/site/parichat1106/phra-praca-canghwad-phechrburn


พระพุทธรูป พระพุทธมหาธรรมราชา เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ เคียงคู่กับหลวงพ่อเพชรมีชัย พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดมหาธาตุ พระอารามหลวง จ.เพชรบูรณ์ สาเหตุที่พระพุทธรูปองค์นี้ มีนามว่า พระพุทธมหาธรรมราชา เนื่องจากพระวรกายสวมใส่เครื่องประดับของกษัตริย์นักรบสมัยโบราณ ชาวบ้านจึงพากันเรียกขานว่า "พระพุทธมหาธรรมราชา" สันนิษฐานว่า พระพุทธมหาธรรมราชา สร้างในราวปี พ.ศ.1600 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ในระหว่างที่สร้างนั้นก็ได้นิมนต์พระภิกษุที่เป็น พระเกจิอาจารย์มาปลุกเสกด้วย และยังมีเรื่องเล่ากันว่าพระเกจิอาจารย์บางรูปสามารถรู้ภาษาสัตว์ได้ หลังจากสร้างเสร็จแล้วก็มีการฉลองสมโภช 9 คืน 9 วัน

ครั้นเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครองราชสมบัติต่อจากกษัตริย์องค์ก่อน ก็ได้พระราชทานพระพุทธมหาธรรมราชาให้กับพ่อขุนผาเมือง เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี นอกจากนี้ ยังได้มอบพระราชธิดา พระนามว่า นางสุขรมหาเทวี และพระราชโอรสพระนามว่า กมรเตงอัญศรีทราทิตย์ หรือ ศรีอินทราทิตย์ ต่อมาพ่อขุนผาเมืองกับพ่อขุนบางกลางหาว ได้กอบกู้กรุงสุโขทัยคืนจากขอมสมาดโขลญได้แล้วพ่อขุนผาเมือง จึงได้สถาปนาให้พ่อขุนบางกลางหาว เป็นกษัตริย์ปกครองกรุงสุโขทัย
ทำให้นางสุขรมหาเทวีไม่พอพระทัย จึงได้โยน พระพุทธมหาธรรมราชา ลงแม่น้ำป่าสัก และพระนางก็ได้กระโดดน้ำตาย เวลาผ่านไป ได้มีชาวประมงได้ไปหาปลาเวียงแห แต่แล้วก็ได้พระพุทธมหาธรรมราชา

สถานที่พบนั้น คือ วัดโบสถ์ชนะมาร (ซึ่งวัดโบสถ์ชนะมารในสมัยนั้นยังไม่ได้สร้าง) ซึ่งอยู่ในเขต อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ชาวบ้านเห็นเป็นที่อัศจรรย์ คิดว่าพระพุทธรูปองค์นี้ คงเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จึงช่วยกันนำขึ้นมาจากแม่น้ำป่าสัก หลังจากนั้น ได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วัดไตรภูมิ พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งตรงกับวันสารทไทย ปรากฏว่า พระพุทธมหาธรรมราชา ได้หายไปจากวัดไตรภูมิ ทำให้เจ้าอาวาส พระลูกวัด และชาวบ้านต่างพากันค้นหา ในที่สุดก็พบ พระพุทธมหาธรรมราชา ดำผุดดำว่ายอยู่บริเวณที่พบครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 จึงมีการแห่พระพุทธมหาธรรมราชาไปรอบเมือง จนถึงบริเวณหน้าวัดไตรภูมิ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นตัวแทนของชาวเพชรบูรณ์ จะเป็นผู้อุ้มพระพุทธมหาธรรมราชา ลงดำน้ำทั้ง 4 ทิศ ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด จนกลายเป็นประเพณีอุ้มพระดำน้ำของจังหวัดเพชรบูรณ์ จนถึงทุกวันนี้

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พระธาตุหลวง ประเทศลาว

พระธาตุหลวง ประเทศลาว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


พระธาตุหลวง หรือ พระเจดีย์โลกะจุฬามณี (ลาว: ທາດຫລວງ หรือ ลาว: ພຣະທາດຫລວງ) นับเป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งแห่งเวียงจันทน์ และเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนชาวลาวทั่วประเทศ ตามตำนานกล่าวว่าพระธาตุหลวงมีประวัติการก่อสร้างนับพันปีเช่นเดียวกันพระธาตุพนมในประเทศไทย และปรากฏความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงอย่างแยกไม่ออก สถานที่นี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างของประเทศลาว ดังปรากฏว่าตราแผ่นดินของลาวที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้มีรูปพระธาตุหลวงเป็นภาพประธานในดวงตรา

ตำนานการสร้างพระธาตุหลวง

ตามตำนานอุรังคนิทานได้กล่าวไว้ว่า พระธาตุหลวงสร้างขึ้นคราวเดียวกับการสร้างเมืองนครเวียงจันทน์ หลังจากก่อสร้างพระธาตุพนมแล้ว ผู้สร้างคือ บุรีจันอ้วยล้วย หรือ พระเจ้าจันทบุรีประสิทธิศักดิ์ เจ้าเหนือหัวผู้ครองนครเวียงจันทน์พระองค์แรก พร้อมกับพระอรหันต์ 5 องค์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนหัวเหน่า 27 พระองค์ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองราชคฤห์ ประเทศอินเดีย โดยก่อเป็นอุโมงค์หินคร่อมไว้ อุโมงค์นั้นกว้างด้านละ 5 วา ผนังหนา 2 วา และสูงได้ 4 วา 3 ศอก เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้ว พระเจ้าจันทบุรี จึงได้มีพระราชดำรัสให้เสนาอำมาตย์สร้างวิหารขึ้นในเมืองจันทบุรีหรือนครเวียงจันทน์ 5 หลัง เพื่อให้เป็นที่อยู่จำพรรษาของ พระอรหันต์ทั้ง 5 องค์นั้นด้วย ตามตำนานดังกล่าวระบุศักราชการสร้างว่าอยู่ในช่วง พ.ศ. 238

ในระยะต่อมาแม้ว่าชื่อของเวียงจันทน์จะไม่ได้ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ใดเลย แต่อย่างไรก็ดี นครเวียงจันทน์ก็ยังคงเป็นเมืองสำคัญอยู่ตลอดมา ดังปรากฏการอ้างถึงชื่อเมืองเวียงจันทน์ในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง และในพงศาวดาวลาวฉบับต่างๆ ก็ระบุด้วยว่านับตั้งแต่พระเจ้าฟ้างุ้มเสวยราชสมบัติที่เมืองหลวงพระบางแล้ว ก็ได้มีการส่งเชื้อพระวงศ์และขุนนางสำคัญมาปกครองเมืองนี้โดยตลอด จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2109 หลังจาก พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช วีรกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรล้านช้าง ได้ทรงย้ายราชธานีเมืองเชียงทองหลวงพระบาง ลงมายังนครเวียงจันทน์ได้ 6 ปีแล้ว พระองค์จึงได้มีพระบรมราชโองการให้สร้างองค์พระธาตุหลวงขึ้นมาใหม่ ในเขตพระราชอุทยานทางด้านทิศตะวันออกของกรุงเวียงจันทน์ โดยสร้างครอบพระธาตุองค์เก่าที่มีมาแต่โบราณกาล เมื่อสร้างพระธาตุหลวงเสร็จแล้ว จึงทรงขนานนามพระธาตุนี้ว่า "พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี” หรือ “พระธาตุใหญ่” (แต่คนส่วนมากมักเรียกว่า “พระธาตุหลวง”) และมีพระราชโองการให้อุทิศข้าพระธาตุจำนวน 35 ครอบครัว อยู่เฝ้ารักษาพระธาตุนี้ พร้อมทั้งที่ดินสำหรับให้ครอบครัวของข้าพระธาตุทำกิน

องค์พระธาตุมีความสูง 45 เมตร รูปลักษณะคล้ายดอกบัวตูม อันหมายถึงสัญลักษณ์คำสอนของพระพุทธเจ้า มีพระธาตุเล็กอยู่บนพระธาตุใหญ่ชั้นที่สอง รองทั้งสี่ด้าน มี 30 องค์เรียกวา “สัมมติงสบารมี” อยู่ในธาตุองค์เล็กทั้ง 30 องค์นี้ ผู้สร้างได้นำเอาทองคำมาหล่อเป็นรูปพระธาตุเล็ก ๆ 30 องค์ แต่ละองค์หนัก 4 บาท และเอาทองคำมาตีเป็นแผ่น รุปลักษณะเหมือนใบลาน เรียกว่า “ลานคำ” 30 แผ่น แต่ละแผ่นยาวศอกกำมือ (คือวัดศอก โดยกำมือไว้ ไม่วัดจากปลายมือ กำมือแล้วยื่นนิ้วก้อยออกมา วัดที่สุยปลายนิ้วก้อยเท่านั้น) แล้วเขียนคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลงในใบลานคำทุกใบว่า “เยธัมมา เหตุปปัพวา เตสัง เหตุง คถาคโต เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ เอวัง วาทิ มหาสมโณ” แปลว่า “ธรรมทั้งหลายเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้า ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และเพราะเหตุเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสเช่นนี้” แล้วเอาทองคำและใบลานลงไว้ในพื้นธาตุเล็ก ทั้ง 30 องค์ การที่ได้สร้างพระธาตุขนาดเล็กนี้ขึ้นมา มีความหมายว่า “ผู้ที่จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น จะต้องได้สร้างคุณงามความดีไว้ให้ถึง 30 ประการ มีทานบารมี เป็นต้น จนถึงอุเบกขา ปรมัตถบารมีเป็นปริโยสาน

รูปชั้นล่างสุดเป็นฐานพระธาตุ 4 เหลี่ยม ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกยาวด้านละ 69 เมตร ส่วนทางทิศเหนือและทางทิศใต้ยาวด้านและ 68 เมตร ด้านล่างมีใบเสมรอบ 4 ด้าน มีทั้งหมด 323 ใบ มีหอไหว้ทั้ง 4 ด้าน มีบันไดขึ้นหอไหว้ทุกหอ

ที่หอไหว้ทิศตะวันออก ชั้นบนขึ้นไป มีธาตุเล็กองค์หนึ่งที่มีลวดลายสวยงาม และได้สร้างหอครอบไว้อีกชั้นหนอ หอที่สร้างครอบมีลวดลายวิจิตรสวยงามเช่นเดียวกัน ธาตุเล็กนี้เรียกว่า “ พระธาตุศรีธรรมทายโลกด้านที่สอง ถัดจากหอไหว้ขึ้นไป แต่ละด้านยาว 48 เมตร มีกลีบดอกบัวล้อมรอบ ทั้งหมดมีจำนวน 120 กลีบ ภายในกลีบดอกบัวทำด้วยกระดูกงู (เส้นลวดเป็นขอบล้อมทั้ง 4 ด้าน) แล้วตั้งใบเสมาบนกระดูกงูนั้น ใบเสมาในชั้นนี้ จำนวน 228 ใบ ตรงกลางใบเสมาทุกใบเป็นโพลง(ไม่ทะลุ) สำหรับใส่พระพิมพ์ใบละองค์ บนชั้นนี้มีประตูโขงตรงกับทางขึ้นหอไหว้ทั้ง 4 ด้านพอเข้าไปที่ประตูโขงนั้นก็จะพบพระธาตุบารมีที่กล่าวแล้ว และธาตุบารมีก็มีชื่อเรียกทุกองค์ คือเริ่มแต่ทานบารมี ทานอุปบารมีในจนครบ ทั้ง 30 องค์

ชั้นที่สามสร้างขึ้นถัดจากพระธาตุองค์เล็ก 30 องค์นั้น ขึ้นไปบนชั้นนี้จะเห็นว่า มีความกว้าง ด้านละ 30 เมตร พื้นด้านที่สามนี้ มีรูปลักษณะเป็นหลังเต่า หรือโอคว่ำ (ขันตักน้ำคว่ำ) อยู่บนชั้นหลังเต่า เป็นฐานของยอดพระธาตุ มีรูปเป็นสี่เหลียมล้อมรอบด้วยกลีบดอกบัวใหญ่ ซึ่งมีปลายกลีบเริ่มบานออก ถัดจากดอกบัวไปจึงมีรูปรัดเอว เหนือจากที่รัดเอวไปจะเป็นฐานจอมธาตุ ฐานนี้จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเหวอ (บาน) ขึ้นด้านบนนิดหน่อย ต่อจากฐานนี้ คนโบราณเรียกว่า “ดวงปี” ดังมีอยู่ในคำกลอนว่า “เจดีย์ดิ้ว ดวงปีพ้นพุ่ง” อยู่บนดวงปี จึงเป็นสเวตฉัตรเป็นยอดพระธาตุที่สูงสุด” อยู่รอบฐานพระธาตุ ก็ได้สร้างบริเวณล้อมรอบติดกันทั้ง 4 ด้าน มีประตูเข้าทั้ง 4 ด้าน ประตูอยู่ระหว่างกลาง บริเวณแต่ละด้านพอดี บริเวณยาวด้านละ 91 เมตร 75 เซนติเมตร

นอกบริเวณทางทิศเหนือ และทางทิศใต้ มีวัดสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย เรียกว่า “วัดธาตุหลวงเหนือและวัดธาตุหลวงใต้”

ประเพณีนมัสการพระธาตุหลวง

ประเพณีบุญนมัสการพระธาตุหลวงนี้ ได้ทำสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล โดยมีพระมหากษัตริย์องค์เป็นประมุขของชาติทรงเป็นประทาน จึงนับว่าบุญนมัสการพระธาตุหลวงนี้เป็นบุญของหลวง ในวัน ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ตอนบ่ายประชาชนทุกภาคส่วน มารวมกันที่ วัดศรีสัตนาค เพื่อแห่ปราสาทผึ้ง และต้นกัลปพกฤษ์ ไปทอดถวายที่วัดศรีเมืองตอนค่ำมีงานมหรสมโภชน์ตลอดทั้งคืน วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ตอนเช้า ทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัธสัจจาอยู่สิมวัดองตื้อ ผู้ที่เข้ารับน้ำสาบาน มีตั้งแต่ระดับหัวหน้าขึ้นไป ถึงคณะรัฐมนตรีของประเทศลาว ตอนบ่าย 2 โมง ประชาชนทุกภาคส่วนตั้งขบวนแห่ปราสาทผึ้ง และต้นกัลปพฤกษ์ ออกไปธาตุหลวง เวลาบ่าย 3 โมง ประมุขรัฐ และเจ้านาย ทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ออกไปสู่พระธาตุหลวง เพื่อเป็นเกียรติแห่ปราสาทผึ้งเดินรอบบริเวณพระธาตุหลวงร่วมกับประชาชนที่มาจากทั่วสารทิศ เมื่อเวียนครบ 3 รอบแล้วก็ทำพิธีถวาย ถึงเวลากลางคืนก็มีงานมหรสพสมโภช วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตรในบริเวณพระธาตุ แล้วฟังพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ตอนกลางคืนมีงานฉลองเป็นวันสุดท้าย วันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 เสร็จงานจากพระธาตุหลวงแล้ว ก็มีการแห่ปราสาทผึ้งมาถวายที่วัดองค์ตื้อ และวัดอินแปง อีกจึงจะถืองานนมัสการพระธาตุหลวงเสร็จสิ้นสมบูรณ์[

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วัดโพธิสมภรณ์

วัดโพธิสมภรณ์


ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดโพธิสมภรณ์ (พระอารามหลวง) ตั้งอยู่บนถนนเพาะนิยม เลขที่ 22 ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี อยู่ทางทิศตะวันตกของหนองประจักษ์ มีเนื้อที่ทั้งหมด 40 ไร่ ปัจจุบันมี พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) เป็นเจ้าอาวาส ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ วัดโพธิสมภรณ์ เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ

ประวัติ

วัดโพธิสมภรณ์ เริ่มสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2449 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดย มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ได้พิจารณาเห็นว่าในเขตเทศบาลเมืองอุดรธานี มีเพียง “วัดมัชฌิมาวาส” วัดเดียวเท่านั้น สมควรที่จะสร้างวัดขึ้นอีกสักวัดหนึ่ง จึงได้ไปสำรวจดูสถานที่ทางด้านทิศใต้ของ “หนองนาเกลือ” ซึ่งเป็นหนองน้ำกว้างใหญ่อุดมไปด้วยเกลือสินเธาว์ มีปลาและจระเข้ชุกชุม (ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หนองประจักษ์” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี) เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสมควรแก่การสร้างวัดได้เพราะเป็นที่ราบป่าละเมาะเงียบสงบดี ไม่ใกล้ไม่ไกลจากหมู่บ้านมากนักและอยู่ใกล้แหล่งน้ำ

เมื่อตกลงใจเลือกสถานที่ได้แล้ว มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ก็ได้ชักชวนและนำพาราษฎรในหมู่บ้านหมากแข้งมาร่วมกันถากถางป่าจนพอควรแก่การปลูกกุฏิ ศาลาโรงธรรม สำหรับใช้เป็นที่บำเพ็ญบุญ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาประจำปีของหน่วยราชการ ใช้เวลาสร้างอยู่ประมาณ 1 ปี ในระยะแรกชาวบ้านเรียกว่า “วัดใหม่” เพราะแต่เดิมมีเพียงวัดมัชฌิมาวาสซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “วัดเก่า” ด้วยพบร่องรอยเป็นวัดร้างมาก่อน มีเจดีย์ศิลาแลงเก่าแก่และพระพุทธรูปหินขาวปางนาคปรก และได้กราบอาราธนา พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู) เจ้าคณะเมืองอุดรธานี จากวัดมัชฌิมาวาสมาเป็นเจ้าอาวาสวัด

การตั้งชื่อ

มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ได้นำความขึ้นกราบทูลขอชื่อต่อ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท สิริวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ ได้ทรงประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์” เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แก่ มหาอำมาตย์ตรีพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ผู้สร้างวัดแห่งนี้

ลำดับเจ้าอาวาส

รูปที่ 1 พระครูธรรมวินยานุยุต (หนู) พ.ศ. 2450-2465
รูปที่ 2 พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) พ.ศ. 2466-2505
รูปที่ 3 พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จนฺททีโป) พ.ศ. 2505-ปัจจุบัน

ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัด

พระพุทธรูปทองสำริด เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย(หลวงพ่อพระพุทธรัศมี) หน้าตักกว้าง ๑.๕๕ เมตร สูง ๒.๓๐ เมตร อายุประมาณ ๖๐๐ ปี สมัยสุโขทัย เป็นพระประธานในพระอุโบสถ และพระประธานองค์นี้ยังมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ในพระเศียรด้วย

พระพุทธรูปศิลาแลง เป็นพระพุทธรูปปางประทานพร สูง ๙๕ เซนติเมตร กว้าง ๒๔ เซนติเมตร สมัยลพบุรี อายุประมาณ ๑,๓๐๐ ปีประดิษฐานอยู่หลังพระอุโบสถพระพุทธรูปองค์นี้ชาวเมืองอุดรให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก มักจะมีคนมากราบไหว้ขอพรอยู่เสมอ จนมีอีกชื่อหนึ่งว่า “พระขอ” ซึ่งหมายถึงหากเราขออะไรก็จะได้อย่างนั้นนั่นเอง

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นโพธิ์ที่รัฐบาลประเทศศรีลังกา มอบให้รัฐบาลไทย ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้นำมาปลูกไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔

ยพระพุทธบาทจำลอง ทำด้วยศิลาแลง อายุประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ

ตู้พระไตรปิฎกลายทองลดน้ำ สร้างในพระนามเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒

พระบรมธาตูธรรมเจดีย์