วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดี

พระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดี หรือ พระพุทธรูปปางทรงเครื่อง


ความเป็นมาของ ปางโปรดพญาชมพูบดี หรือ ปางทรงเครื่อง พญาชมพูบดีผู้มีฤทธิ์เดชมาก มีความริษยาพระเจ้าพิมพิสาร เพราะทรงมีปราสาทงดงามกว่าปราสาทของพระองค์ จึงมารุกรานข่มเหง จนพระเจ้าพิมพิสารต้องหนีไปพึ่งพระบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงเนรมิตพระองค์เองเป็นพระเจ้าราชาธิราชที่งดงามดุจท้าวมหาพรหม และรับสั่งให้ท้าวสักกเทวราชแปลงเป็นราชทูตไปทูลเชิญพญาชมพูบดีมา พญาชมพูบดีตกตะลึงในความงดงามและความยิ่งใหญ่แห่งพระนครของพระราชาธิราช พระพุทธองค์ทรงให้โอกาสพญาชมพูบดีแสดงอิทธิฤทธิ์ แต่ก็พ่ายต่อพระพุทธองค์ จึงทรงบันดาลให้ทุกสิ่งกลับคืนสู่สภาพเดิมและทรงแสดงธรรมโปรด จนพญาชมพูบดีเบื่อหน่ายในราชสมบัติอันไม่ยั่งยืน ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พญาชมพูบดี


ปางโปรดพญาชมพูบดี เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับนั่ง ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาคว่ำบนพระชานุ (เข่า) แบบปางมารวิชัย ต่างกันที่ปางนี้ทรงเครื่องต้นอย่าง พระมหากษัตริย์ ทำให้บางครั้งก็เรียกกันว่า ปางทรงเครื่อง

ประวัติที่มาของปางนี้มีว่า พญาชมพูบดีผู้ครองเมืองปัญจาลนคร ทรงมีอำนาจเหนือกษัตริย์ทั่วชมพูทวีป เพราะทรงมีศาสตราวิเศษ 3 อย่าง คือศรวิเศษ ฉลองพระบาทแก้ว และจักรแก้ว แต่วันหนึ่งทรงเห็นปราสาทของพระเจ้าพิมพิสาร ที่กรุงราชคฤห์ มีความงดงามกว่าปราสาทของพระองค์ จึงไม่พอพระทัย ส่งอาวุธวิเศษออกไปเพื่อทำลายปราสาทและจับพระเจ้าพิมพิสาร จนพระเจ้าพิมพิสารต้องหนีไปพึ่งพระบารมีของพระบรมศาสดา ซึ่งประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร

พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพญาชมพูบดีสามารถบรรลุพระอริยผลได้ จึงเนรมิตพระองค์เองเป็นพระเจ้าราชาธิราช ทรงเครื่องต้นสำหรับพระมหากษัตริย์ ประทับบนรัตนบัลลังก์ ให้เหล่าพระสงฆ์เนรมิตรกายเป็นอำมาตย์ราชบริพาร และเนรมิตรให้พระเวฬุวันวิหารกลายเป็นพระราชวังอันวิจิตรงดงาม และรับสั่งให้ท้าวสักกเทวราชแปลงเป็นราชทูต ไปทูลเชิญพญาชมพูบดีมาเฝ้ายังพระเวฬุวันวิหาร พญาชมพูบดีทรงตกตะลึงในความงดงามและความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพระนครของพระเจ้าราชาธิราช

เมื่อพญาชมพูบดีได้เข้าเฝ้าพระเจ้าราชาธิราช ก็ยังไม่ทรงคลายทิฐิมานะ พระพุทธองค์จึงทรงให้โอกาสพญาชมพูบดีแสดงอิทธิฤทธิ์ แต่ก็พ่ายแพ้ต่อบารมีของพระพุทธองค์ พญาชมพูบดีก็เกิดความยำเกรง คลายทิฐิมานะลง พระบรมศาสดาจึงทรงบันดาลให้นครเนรมิตร กลับคืนเป็นพระเวฬุวันวิหาร พร้อมทั้งพระองค์และเหล่าสาวกก็กลับสู่สถานะเดิม จากนั้นทรงแสดงธรรมโปรด จนพญาชมพูบดีรู้สึกปีติโสมนัส ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์จึงทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พญาชมพูบดี แล้วทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่พญาชมพูบดี จนบรรลุอรหัตตผล

ปางโปรดพญาชมพูบดี เป็นพระพุทธรูปประจำผู้เกิดปีกุน (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 102 พ.ค. 52 โดยกานต์ธีรา)

ปางทรมานพระยามหาชมพู จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปางทรมานพระยามหาชมพู เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ (เข่า) ทรงเครื่องต้นอย่างพระมหากษัตริย์ หรือเรียกอีกอย่างว่าปางทรงเครื่อง หรือ พระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์

พญาชมพูบดีผู้มีฤทธิ์เดชมาก มีความริษยาพระเจ้าพิมพิสาร เพราะทรงมีปราสาทงดงามกว่าปราสาทของพระองค์ จึงมารุกรานข่มเหง จนพระเจ้าพิมพิสารต้องหนีไปพึ่งพระบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงเนรมิตพระองค์เองเป็นพระเจ้าราชาธิราชที่งดงามดุจท้าวมหาพรหม และรับสั่งให้ท้าวสักกเทวราชแปลงเป็นราชทูตไปทูลเชิญพญาชมพูบดีมา พญาชมพูบดีตกตะลึงในความงดงามและความยิ่งใหญ่แห่งพระนครของพระราชาธิราช พระพุทธองค์ทรงให้โอกาสพญาชมพูบดีแสดงอิทธิฤทธิ์ แต่ก็พ่ายต่อพระพุทธองค์ จึงทรงบันดาลให้ทุกสิ่งกลับคืนสู่สภาพเดิมและทรงแสดงธรรมโปรด จนพญาชมพูบดีเบื่อหน่ายในราชสมบัติอันไม่ยั่งยืน ทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พญาชมพูบดี


ตำนานพระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดี (ปางทรงเครื่อง)

https://sites.google.com/site/kornlifestyle/home/phraphuthth-rup-pang-pord-phra-phya-chmphu-bdi

ตำนานพระพุทธรูปปางนี้มีตำนานกล่าวไว้ว่า ในปฐมโพธิกาล มีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งพระนามว่า พญาชมพูบดี พระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางกาญจนาเทวี ครองปัญจาลนคร พระองค์เป็นกษัตริย์ที่มีบุญญาธิการมาก ด้วยพระองค์ทรงอาวุธวิเศษมีอำนาจเหนือกษัตริย์น้อยใหญ่ทั้งหลาย ถึง ๓ อย่าง คือ ศรวิเศษ เรียกว่า “วิษสร” ฉลองพระบาทแก้ว และจักรแก้ว มีกษัตริย์ในนครต่างๆ ยอมถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทองเป็นเมืองขึ้นมากมาย ยังไม่มีกษัตริย์พระนครใดใกล้เคียงจะหาญเข้ามาต่อต้านได้ พระองค์ปรารถนาความยิ่งใหญ่โดยไม่ทรงรู้จักพอเช่นเดียวกับสามัญชนทั่วไป เมื่อทรงเห็นกษัตริย์นครใดมีราชสมบัติมากมีฤทธิ์น้อยกว่าก็ทรงใช้ศรวิเศษไปร้อยพระกรรณเอามาหมอบกราบแทบพระบาทให้ยอมเป็นเมืองขึ้นนของปัญจาลนคร

วันหนึ่งเป็นวันพระจันทร์เพ็ญ พญาชมพูบดีทรงทอดพระเนตรเห็นดวงจันทร์งามสง่าอยู่ท่ามกลางหมู่ดาวในท้องฟ้า ก็ทรงเทียบพระองค์ว่าพระองค์มีรัศมีล่วงดาวทั้งหลายฉะนั้น ทรงเบิกบานพระทัยด้วยความหวังแน่ในพระทัยเป็นที่ยิ่งนัก จึงทรงฉลองคู่พระบาทแก้วเหาะไปในอากาศ ทอดพระเนตรดูหัวเมืองทั้งหลายในชมพูทวีป

ครั้นเสด็จมาถึงพระนครราชคฤห์ ทรงเห็นยอดปราสาทสูงสล้างงามยิ่งนัก ก็ทรงจินตนาการว่า ปราสาทของใครหนอช่างงามยิ่งกว่าปราสาทของเรา ก็ทรงรู้สึกไม่พอพระราชหฤทัยด้วยความริษยา จึงได้เสด็จลงมายกพระบาทขึ้นกระทืบเพื่อจะให้ยอดปราสาทหักทลายลง แต่ด้วยพุทธานุภาพทรงรักษาคุ้มครอง ในฐานะที่พระเจ้าพิมพิสารเป็นอริยสาวกขั้นโสดาบัน ผู้ซึ่งมีพระราชศรัทธาไม่หวั่นไหวสั่นคลอนในพระรัตนตรัย ยอดปราสาทของพระองค์จึงไม่กระทบกระเทือน ดูประหนึ่งว่าเป็นเหล็กกล้า สามารถต่อต้านการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงได้ทุกประการ พญาชมพูบดีทรงกระทืบเท่าใดๆ ยอดปราสาทก็มิได้ระคายเคืองแต่ประการใดเลยและขณะเดียวกันนั้น พระบาทของพญาชมพูบดีกลับแตก พระโลหิตไหลออกโทรมพระบาท พญาชมพูบดีเจ็บพระบาทยิ่งทรงพิโรธหนักขึ้น ทรงชักพระแสงขรรค์ออกฟันจนสุดกำลัง ยอดปราสาทก็หาได้หักพังลงไม่ แต่พระแสงขรรค์กลับบิดงอบิดเบี้ยว พญาชมพูบดีทรงขัดพระทัยและเสียขวัญอย่างหนัก เพราะไม่เคยพบการผิดหวังเช่นนี้มาก่อน ทั้งทรงพิโรธหนักขึ้นเป็นร้อยเท่าพันทวี รีบเสด็จกลับปัญจาลนคร โดยทรงพระดำริจะใช้วิษสรมาร้อยพระกรรณเจ้าของปราสาทนี้ไปหมอบกราบแทบพระบาทของพระองค์ ครั้นเสด็จถึงพระนครแล้วก็ทรงใช้วิษสรให้ไปเอากษัตริย์ผู้ครอบครองนครราชคฤห์มาโดยเร็ววิษสรจากแล่งแล่นไปในอากาศโดยเร็ว ส่งเสียงร้องกัมปนาทเป็นที่หวั่นหวาด ของคนและสัตว์ที่ได้สดับทั่วกัน

พระเจ้าพิมพิสารพอได้ทรงสดับก็ทรงสะดุ้งพระทัยรีบ เสด็จออกจากปราสาทไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระเวฬุวันวิหารแต่เช้าตรู่ เพื่อขอประทานความคุ้มครองเมื่อวิษสรมาถึงปราสาทก็เข้าค้นหาพระเจ้าพิมพิสารเป็นการใหญ่ ครั้นไม่พบก็ทำลายภูฉัตรกระจัดกระจาย แล้วก็ติดตามออกไปยังพระเวฬุวันวิหารแผดเสียงสะเทือนสะท้านน่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่ง ครั้นพระบรมศาสดาเห็นวิษสรเข้ามารุกรานเช่นนั้น ก็ทรงเนรมิตพุทธจักรส่งออกไปขับไล่ทำลายวิษสรนั้น พุทธจักรมีอานุภาพมากกว่า แล่นออกไปไล่ทำลายวิษสรให้สิ้นฤทธิ์แล้วกลับคืนไป เมื่อวิษสรพ่ายแพ้แล้ว ก็รีบหนีคืนเข้าแล่งศรแห่งพญาชมพูบดี

ครั้นพญาชมพูบดีทรงเห็นวิษสรพ่ายแพ้ยับเยินกลับมาเช่นนั้น ก็ทรงโทมนัสหนักหนา ถอดฉลองพระบาทแก้วออกทั้งคู่ แล้วสั่งให้ออกไปมัดพระเจ้าพิมพิสารเอาตัวมาทันที ฉลองพระบาทแก้วคู่ได้กลายเป็นพญาวาสุกรีแผ่พังพานเลื้อยแล่นไปโดยนภากาศ ร้องส่งเสียงคำรามสนั่นหวั่นไหวดั่งฟ้าร้อง ครั้นถึงเมืองราชคฤห์แล้วก็ตรงเข้าหาพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อไม่พบก็เข้าทำลายราชบัลลังก์เสียย่อยยับ แล้วก็แล่นออกไปทางพระเวฬุวันมหาวิหาร

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงเห็นนาคราชของพญาชมพูบดีติดตามรุกรานมาถึงมหาวิหารเช่นนั้น ก็ทรงเนรมิตพญาครุฑให้โบยบินออกไปขับไล่โจมตีพญาวาสุกรีคู่นั้นให้พ่ายยับเยินหนีกลับไปเช่นคราวก่อน ครั้นนาคราชคู่นั้นหลบหนีกลับไปแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงพิจารณาอุปนิสัยของพญาชมพูบดีก็ทรงเห็นว่าท้าวเธอมีอุปนิสัยสูงส่งควรจะบรรลุอริยผลขั้นสูงได้ จึงตรัสเรียกท้าวสักกเทวราชให้มาเฝ้าแล้วทรงแจ้งให้ทราบพระประสงค์จะทรมานพญาชมพูบดีผู้มีพระทัยหลงใหลใฝ่ฝันในราชสมบัติทั่วทั้งทวีปนั้น โดยพระพุทธองค์จะทรงเนรมิตพระองค์เป็นพระเจ้าราชาธิราช ให้พระสงฆ์เป็นเสวกามาตย์ราชบริพาร ให้พระเวฬุวันมหาวิหารกลายเป็นพระราชนิเวศสถานที่งดงามไม่มีสถานที่ใดจะเปรียบปานได้ ขอให้ท้าวสักกเทวราชเป็นราชทูตไปเอาตัวพญาชมพูบดีมาเข้าเฝ้ายังพระเวฬุวันมหาวิหารแห่งนี้

ครั้นท้าวสักกเทวราชทราบพระพุทธประสงค์ดังนั้นแล้ว ก็จำแลงเพศเป็นราชทูตที่สง่างามด้วยอาภรณ์วิจิตร ซึ่งล้วนแล้วแต่สูงด้วยค่ามากยิ่งกว่าเครื่องอาภรณ์ใดๆ ของพญาชมพูบดี แล้วเสด็จเข้าไปยืนปรากฏพระกายที่ปราสาทหน้าพระพักตร์พญาชมพูบดี ในท่ามกลางอำมาตย์ราชบริพารที่เฝ้าแหนกันอยู่นั้น แล้วทรงเปล่งสุรเสียงว่า “ดูก่อนพญาชมพูบดีบัดนี้พระเจ้าราชาธิราช เจ้านายของข้าพเจ้า มีพระบัญชาให้มาเชิญตัวท่านไปเข้าเฝ้าในบัดนี้” เมื่อเห็นราชทูตเจรจากับพระองค์ด้วยวาจาไม่เคารพนอบน้อมเช่นนั้น พญาชมพูบดีก็ทรงพิโรธนักหนา ก็ร้องตวาดแล้วขว้างจักรแก้วไป หมายให้ประหารชีวิตราชทูตจำแลงนั้นในบัดดล เมื่อท้าวสักกเทวราชเห็นเช่นนั้น ก็ทรงขว้างจักรของพระองค์ออกไปต่อกรกำจัดจักรแก้วนั้น อินทร์จักรได้แล่นออกไปทำลายจักรแก้วนั้นให้พ่ายแพ้โดยครู่เดียวเท่านั้นและกระชากพระบาทของพญาชมพูบดีให้ตกจากพระแท่นประทับและลากไปตามพื้นถึง ๑๒ วา ทั้งกลับกลายเป็นเปลวไฟเผาปราสาทราชวังลุกลามไปทั่วพระราชนิเวศน์ทันที บรรดาเสวกามาตย์ราชบริพารพากันตกตะลึง ด้วยกลัวต่อไฟ พากันวิ่งวุ่นกระจัดกระจายกันออกจากท้องพระโรงทันที แม้พญาชมพูบดีก็ยอมพ่ายแพ้แก่ราชทูตจำแลงนั้น แล้วรับจะทำตามบัญชาทุกประการ


ต่อนั้น องค์อินทร์ก็เรียกจักรของพระองค์กลับคืน ทันใดนั้น เปลวไฟที่กำลังลุกลามไหม้ไปทั่วนั้นก็ดับมอดลงทันที ไม่ปรากฏมีสิ่งใดเสียหายดังเมื่อครู่ก่อนนี้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างคงตั้งอยู่ตามเดิม พญาชมพูบดีขอผัดเวลาออกไป ๑ เดือนก่อนจึงจะไป แต่ท้าวสักกเทวราชในเพศแห่งราชทูตไม่ยินยอม เพียงแต่ผ่อนให้ ๓ ราตรีเท่านั้น และก่อนที่จะเสด็จกลับไปก็ทรงสำทับว่า ถ้าพญาชมพูบดีทรงบิดพลิ้วไม่ไปตามกำหนด ๓ ราตรีนั้น ให้ทรงมาตามซ้ำสองไซร้ ก็จะทรงเผาเมืองเสียให้ราบเป็นหน้ากลอง แล้วกลับไปเฝ้ากราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบก่อนถึงวันกำหนด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเนรมิตพระเวฬุวันมหาวิหารให้เป็นราชนิเวศน์ พร้อมด้วยปราสาทราชวังกำแพงแก้ว ๗ ชั้น วิจิตรพิสดารเพียบพร้อมด้วยตลาดบก ตลาดน้ำ งดงามไม่มีนครใดในโลกหล้าเทียบเทียมได้ เพื่อต้อนรับอวดศักดาแก่พญาชมพูบดีผู้มีมานะในราชสมบัติตน กับทรงให้พระอัครสาวกและพระมหาสาวกนิรมิตกายเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่เข้าเฝ้าประจำอยู่ในตำแหน่ง ให้พญากาฬนาคราชและนางวิมาลามเหสีมาจัดตลาดน้ำ ให้ท้าวสักกเทวราชพร้องด้วยนางสุธรรมา นางสุจิตรา และนางสุชาดา และพญาครุฑมาจัดตลาดเพชรนิลจินดาตลาด ทอง ตลาดเงินตลาดผ้าสรรพาภรณ์ ตลาดอาหาร ตลาดลูกไม้ ตลาดไม้ดอกนานาพรรณ งดงามเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นที่เจริญตาเจริญใจสของผู้ได้พบเห็น หาสถานที่ใดงดงามเสมอเหมือนมิได้

ครั้นถึงวันกำหนดหมาย พญาชมพูบดีเสด็จขึ้นช้างพระที่นั่งพร้อมด้วยจตุรงคเสนา ยกพลมาโดยลำดับ ทั้งตั้งพระทัยว่า ถ้าเห็นว่ามีกำลังมากกว่าพอที่จะบังคับข่มขู่พระเจ้าราชาธิราชนั้นได้ ก็จะจัดการเอาเป็นเมืองขึ้นทันทีด้วยเช่นกัน ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนิรมิตพระวรกายเป็นพระเจ้าราชาธิราช ทรงเครื่องต้นสำหรับพระมหากษัตริย์จักรพรรดิอันวิจิตรยิ่งนัก ทรงขึ้นประทับบนรัตนบัลลังก์ ในท่ามกลางมหาอำมาตย์ราชเสนาน้อยใหญ่ ณ ท้องพระโรงรัตนมหาสมาคม มีพระบัญชาให้มาฆสามเณรไปย่นทางเดินอันมีระยะถึง ๖๐ โยชน์ที่พญาชมพูบดีกำลังเสด็จมาให้สั้นลงเพื่อจะได้พลันถึงในครู่เดี๋ยวนั้น มาฆสามเณรรับพระบัญชานั้นแล้ว ก็ออกไปนอกวิหาร ย่นระยะทางมาของพญาชมพูบดีพร้อมด้วยจตุรงคเสนา เพื่อให้ถึงชานพระนครที่เนรมิตขึ้นนไว้ต้อนรับนั้น ครั้นแล้วก็แปลงเพศเป็นราชทูตเข้าไปหาพญาชมพูบดีร้องเชิญว่า “บัดนี้พระองค์เสด็จมาถึงพระนครแล้ว ควรจะเสด็จลงจากคอช้างพระที่นั่ง แล้วเสด็จดำเนินพระบาทเข้าสู่พระนคร” เมื่อพญาชมพูบดีทรงขัดเคืองและขัดขืน มาฆสามเณรในเพศแห่งราชทูตก็แสดงอานุภาพฉุดช้างพระที่นั่งให้ล้มลง พญาชมพูบดีทรงเห็นดังนั้นก็เกรงเดชานุภาพ ก็จำใจปฏิบัติตามโดยเสด็จดำเนินตามมาฆสามเณรเข้าพระนครไปขณะที่เสด็จเข้าพระนคร พอทอดพระเนตรเห็นท้าวจตุโลกบาลคุมทหารพร้อมด้วยศาตราวุธรักษาพระนคร ก็ทรงเกรงขามครั่นคร้าม ครั้นเสด็จดำเนินต่อไป ก็ทรงเห็นตลาดต่างๆ ทั้งหลายเข้า ก็ถึงกับทรงตะลึงแลด้วยความแปลกพระราชหฤทัยระคนด้วยทรงพอพระทัยยิ่งนัก เห็นแม่ค้าทั้งหลายอัน มีรูปร่างงามโฉมสะคราญไม่มีที่เปรียบ ทั้งวาจาปราศรัยเชิญชวนก็ไพเราะเสนาะโสตจับพระทัยเหลือประมาณ ทำให้ท้าวเธอหลงเพลิดเพลินจนมาฆสามเณรต้องคอยเตือนให้รีบเสด็จไปทุกระยะทีเดียว กระทั่งถึงที่ประทับของพระพุทธองค์ที่ทรงนิรมิตพระรูปโฉมดุจท้าวมหาพรหมประกอบด้วยพระรัศมี ๖ ประการ
ประทับนั่งบนรัตนบัลลังก์ ท่ามกลางมุขอำมาตย์ราชเสนาบดี ก็ทรงเกรงกลัวแทบพระทัยจะดีดดิ้นหลุดออกจากทรวง ทรงทรุดพระวรกายนั่งลง แม้อย่างนั้น ก็ไม่ยอมถวายบังคม ด้วยอำนาจมานะทิฏฐิแรงกล้า เมื่อพระบรมศาสดาทรงให้โอกาสท้าวเธอแสดงฤทธิเดชบรรดามี พญาชมพูบดีก็แสดงจักรแก้ว วิษสร และฉลองพระบาทแก้วอันเป็นอาวุธอานุภาพสูงประจำพระองค์แล้ว อาวุธต่างๆ นั้นก็หาทำอันตรายใดๆ แก่พระพุทธองค์ได้ไม่กลับพังสลายในทันทีจนเป็นเหตุให้พญาชมพูบดีท้อพระทัยและยอมเกรงพระบารมีจนหมดสิ้นท่า

ต่อนั้นพระพุทธองค์ก็ตรัสธรรมเทศนาชำระอกุศลจิตของพญาชมพูบดีให้ผ่องใส ด้วยอนุปุพพีกถาให้พญาชมพูบดีมีจิตศรัทธาในกุศลธรรม ถึงกับทรงมอบกายถวายชีวิตตนในพระรัตนตรัย ขอบรรพชาอุปสมบท จึงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้สุคตอนาวรญาณ ก็ทรงคลายอิทธาภิสังขาร บันดาลพระนครนิรมิตให้กลับคืนเป็นดังเดิมพระองค์ก็ทรงกลายเพศเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหล่าบรรดาอำมาตย์ราชบริพารก็กลับกลายเป็นพระภิกษุสงฆ์อัครสาวกและมหาสาวกตามปกติแวดล้อมพระบรมศาสดาเหล่าเทพเจ้าชั้นฟ้า ชั้นพสุธา และชั้นดินดาลใต้พิภพก็พากันกลับคืนสถิตยังสถานที่อยู่ของตนๆ ต่อนั้นพระบรมศาสดาก็ทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาแก่พญาชมพูบดีให้เป็นภิกษุสงฆ์ทรงจตุปาริสุทธิศีลในบวรพุทธศาสนา.

ภาพปริศนาธรรม

ภาพปริศนาธรรม


หนึ่งพยัคฆ์ คำราม ตามตะปบ
หนึ่งคนหลบ เกาะไม้เลื้อย ริมผาหิน
ที่ด้านล่าง พญางู รอกลืนกิน
ลมหายใจ ก็โรยริน ไร้เรี่ยวแรง
เถาไม้เลื้อย ที่รับร่าง กลางภัยร้าย
หนูกระหาย ร่าง ขาว-ดำ ช่างกำแหง
ลงฟันแทะ เถาไม้เลื้อย กันเต็มแรง
คนก็แกว่ง อยู่กลางภัย พยัคฆ์-งู
ด้วยไม่รู้ ทางใดใด จะให้รอด
ได้แต่กอด เถาวัลย์ไว้ ให้อดสู
พลันได้เห็น รวงผึ้งอ่อน เอื้อมชิมดู
จึงได้รู้ รสแสนหวาน อันโอชา...

ปริศนาธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พยัคฆ์คือ อดีตกรรม ตามไล่ล่า
เถาวัลย์คือ กายา สังขารขันธ์
พญางู คือสุดทาง แห่งชีวัน
หนู ขาว-ดำ สองตัวนั้น คือ วัน-คืน
จิตของคน คือชายหนุ่ม ผู้นั้นเล่า
ชีพคนเรา ภัยล้อมรอบ ไร้ใครฝืน
เปรียบน้ำผึ้ง คือพระธรรม ที่ยั่งยืน
ใครได้ลิ้ม ชิมกลืน จักชื่นบาน

#หลวงพ่อสอนไว้

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วงเวียนเจดีย์วัดสามปลื้ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


เป็นวัดเก่า ที่โดนถนนตัดผ่าน เหลือไว้เพียงเจดีย์องค์เดียว บางคนเรียก เจดีย์นักเลง เพราะอยู่กลางถนนไม่ยอมหลบให้ใคร

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัย อดีตประธานาธิบดีเยอรมนี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ส่งข้อความพระราชสาส์นแสดงความเสียพระราชหฤทัยไปยังประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในการที่นายวัลเทอร์ เชล (Mr. Walter Scheel) อดีตประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙

วัดธาตุน้อย หรือ วัดพระธาตุน้อย

วัดธาตุน้อย หรือ วัดพระธาตุน้อย


ตั้งอยู่ในอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ "วัดป่าแก้ว" หรือ "วัดเจ้าไท"


ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี


วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ 50 หมู่ 3 ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมเป็นวัดราษฎร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 มีนามว่า พระธาตุไชยา และต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้เลื่อนฐานะเป็น วัดพระธาตุไชยา ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และพระราชทานนามใหม่ว่าพระบรมธาตุไชยา เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 พระบรมธาตุไชยานี้ ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไชยา ประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟไชยาไปทางตะวันตก ประมาณ 1 กิโลเมตร และตั้งอยู่ห่างจากถนนทางหลวง แผ่นดินสายเอ 41 ไปทางตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร

อาณาเขตแบ่งเป็น 2 ส่วน

1. เขตพุทธาวาส มีกำแพงแก้วล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ก็แลด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีกำแพงยาว 127 เมตร ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีกำแพงยาว 66 เมตร ภายในเขต พุทธาวาส ประกอบด้วยองค์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา พระวิหารคดหรือระเบียงพระเวียน พระเจดีย์ พระอุโบสถ พระวิหารหลวง พระพุทธรูปสิลาทรายแดง ตนพระสีมหาโพธิ์และพลับพลาที่ประทับ

2. เขตสังฆาวาส อยู่ทางทิศใต้และทิศตะวันตก ประกอบด้วยกุฏิ พระสงฆ์อยู่อาศัย กุฏิวิปัสสนากรรมฐาน ศาลาการเปรียญ โรงเรียนปริยัติธรรม ศาลาบูรพาจารย์ ห้องสมุด และหอฉัน ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา สอนชั้นเด็กเล็กถึงชั้นประถมปีที่ 6 ด้านทิศตะวันออก มีพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา


ประวัติความเป็นมาของวัด

วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นวัดที่เก่าแก่มากสังเกตได้จากโบราณวัตถุ โบราณสถานที่ยังปรากฏอยู่ทำให้ทราบได้ว่าวัดนี้มีมานานหลายวัดหลายสมัย คือตั้งขึ้นแล้วร้างไป แล้วกลับฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในพื้นที่เดียวกัน ดังต่อไปนี้

1.สมัยทวารดี มีพระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่เท่าคน และย่อมกว่าเหลืออยู่ในบริเวณจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ คือพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดสูง 104 ซม. หน้าตักกว้าง 74 ซม. ทำด้วยสิลา ลักษณะประทับบนฐานบัวคว่ำบัวหลาย ขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ทั้งสองวางหายซ้อนกัน ขมวดพระเกศาเป็นต่อมขนาดโต อุษณีย์ปรากฏไม่ชัด ไม่มีอูรณา จีวรบางแนบพระองค์มีแต่ขอบที่ห่อหุ้มอังสะซ้าย อายุราพุทธศตวรรษที่ 11-12 ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่พิพิฑภัณฑสถานแห่งชาติไชยา พระพุทธรูปประทับยืน ซึ่งประทับยินบนฐานบัวลงลักปิดทองทั้งองค์ จีวรห่อคลุม ปลายจีวรตัดตรง รัดประคบมีลวดลาย ไม่มีพระรัศมี เม็ดพระเกศากลมใหญ่ ทำด้วยสิลา ขนาดสูง 142 ซม. ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ด้วยเหตุนี้ท้ำให้เชื่อถือได้ว่าวัดนี้หรือสถานที่แห่งนี้มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยทราวดี คือระหว่าง พ.ศ. 1000-1200

2. สมัยศรีวิชัย มีองค์เจดีย์พระมหาธาตุแบบศรีวิชัย ปรากฏอยู่เป็นปูชนียสถาน อันศักดิ์สิทธิ์ โดยมิได้รับการดัดแปลงเว้นแต่ตอนส่วนยอด เพราะได้หักพังลงบมาและหายสาบสูญไปจึงทำใหม่เป็นศิลปะแบบไทยแล้วยังมีรูปสำริดของ ของพระอวโลกิเตศวลโพธิสัตว์ขนาดใหญ่ สวยงามเป็นชิ้นเอกของปฏิมากรรม สมัยนี้ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในพิพิฑภัณฑสถานแห่งชาติพระนครและมีองค์ขนาดย่อมตลอดถึงที่ทำด้วยศิลาอีกหลายองค์ มีมากกว่าในสถานที่ใดๆในประเทศไทย รวมทั้งเศษหักพังของโบราณวัตถุสมัยเดียวกันอีกหลายชิ้น ดังนั้นทำให้เชื่อได้ว่าวัดนี้มีความเจริญรุ่งเรื่องอยู่ในสมัยศรีวิชัย คือระหว่าง พ.ศ. 1200-1500

3. สมัยสุโขทัย มีพุทธศิลป์เป็นแบบสกุลช่าง นครศรีธรรมราช โดยได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ลัทธิเถวราท แบบลังกาวงศ์ มีหลักฐานปรากฏว่ามีใบพัทธสีมาคู่แฝดปรากฏอยู่รอบๆเขตพระอุโบสถเดิมของวัดทำให้เชื่อได้ว่าสมัยนี้ก็มีการปรับปรุงวัดหรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าในสมัยสุโขทัยซึ่งพ้องกับสมัยนครศรีธรรมราชนั้นวัดนี้ยังคงมีอยู่

4. สมัยกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานปรากฏมากมายกว่าสมัยใด คือ พระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปศิลาทรายแดงมีมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ มีขนาดโตมากกว่าคนธรรมดา ลงมาถึงขนาดเท่าคน และย่อมกว่าแสดงให้เห็นศรัทธาหรือความรุ่งเรื่องของพุทธศาสนาอย่างสูงสุด ในสมัยนั้น ในสถานที่แห่งนี้

5. สมัยกรุงธนบุรี แม้นจะมีระยะสั้น แต่ก็เชื่อว่าวัดนี้คงเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยจะเห็นได้จากศิลาจารึกที่ใกล้ๆกัน แสดงถึงการทำนุบำรุง พุทธศาสนาในถิ่นทั่วๆ ไป แต่ว่าโบราณวัตถุที่สร้างขึ้น ในสมัยกรุงธนบุรีนี้มีน้อย และแบบที่สร้างขึ้นคงเหมือนแบบสมัยอยุธยานั้นเอง

6. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สันนิษฐานว่าวัดพระบรมธาตไชยานี้คงจะรวมอยู่ในบรรดาสิ่งที่ถูทำลายโดยพวกพม่าข้าสึกในสมัยรัชกาลที่ 1 จนกระทั่งรางไปในที่สุดได้มาค้นพบและบูรณะขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยพระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ เมื่อครั้งดำรงค์สมาณศักดิ์เป็นพระครูรัตนมุนีศรีสังฆาราชาลังกาแก้ว เจ้าคณะเมืองไชยา ระหว่าง พ.ศ. 2439 ถึง 2453 เป็นวัดที่ฟื้นคืนขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง การบูรณะที่สำคัญคือตกแต่งองค์พระบรมธาตุเจดีย์ แล้วฉาบปูนผิวบางๆทั่วทั้งองค์พร้องทั้งเสริมยอดที่หักไป มีการสร้างพระวิหารหลวงขึ้นมาใหม่ในที่เดิมและสร้างวิหารคดรอบบริเวณล้อมองค์พระเจดีย์และพระวิหารหลวงยกพระพุทธรูปที่เกลื่อนกลาดอยู่เข้าไปประดิษฐานในพระวิหารคดเสียใหม่จนเป็นที่เรียบร้อย ปริมณฑลพระวิหารคดที่ยกขึ้นในครั้งนั้นแคบเข้าของเดิมเพียงเล็กน้อย


ความสำคัญของวัด

ความสำคัญของวัดพระบรมธาตุไชยาอยู่ที่พระบรมธาตุไชยาซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพัทธเจ้าอันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธสานิกชนทั้วไปและเป็นพุทธสถานเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของช่างศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยไว้ได้สมบูรณ์วัดพระบรมธาตุไชยาจึงเป็นวัดที่มีความสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวไชยาและสุราษฎร์ธานีมานานนับแต่โบราณกาลซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญแก่วัดประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติและยกฐานะวัดเป็นพระอารมหลวง

สิ่งสำคัญภายในวัดพระบรมธาตุไชยา

พระบรมธาตุไชยา เป็นพุทธเจดีย์สมัยศรีวิชัยสร้างตามลัทธิมหายานประมาณ พ.ศ. 1300 ในสมัยที่อาณาจักรศรีวิชัยกำลังรุ่งเรื่องและได้แพร่อำนาจปกคลุมตลอดแหลมมาลายูจนถึงเมืองไชยาตั้งอยู่ระหว่างระอุโบสถกับพระวิหารหลวงในบริเวณปิ่นกลางล้อมรอบด้วยพระระเบียงคดทั้ง 4 ด้าน ฐานพระบรมธาตุขุดเป็นสระกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ลึกประมาณ 60 – 70 เซนติเมตร จนเห็นฐานเดิมก่อสร้างด้วยอิฐโบกปูน ซึ่งก่อนหน้าที่จะบูรณะในสมัยพระชยาภิวัฒน์ ฐานพระบรมธาตุฝังจมอยู่ ต่ำกว่าระดับพื้นดิน ปัจจุบันมีน้ำขังอยู่รอบฐานตลอดปี บางปีในหน้าแล้งรอบๆฐานพระบรมธาตุจะแห้งและมีตาน้ำผุดขึ้นมา จนชาวบ้านพากันแตกตื่นและถือว่าเป็นน้ำทิพย์ที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถแก้โรคภัยต่างๆได้ ต่อมาทางวัดได้ใช้ปูนซีเมนต์ปิดตาน้ำนั้นเสีย

การบูรณะปฏิสังขรณ์

พระบรมธาตุไชยาได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยใดบ้างไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ตามทางสันนิษฐานแสดงว่าพระบรมธาตุไชยาได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมทรับซ้อนกันหลายครั้งในพุทธศตวรรษที่ 18 คงจะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์พระบรมธาตุไชยาและได้เปลี่ยนเจดีย์ทิศหรือยอดเจดีย์บริวารเป็นหินทรายสีแดงโดยทำเป็นหน้าเทวดาจตุรพักตร์ซึ่งเข้าใจว่าเป็นพระโพธิสัตว์อวโรกิเตศวร


ประวัติของพระบรมธาตุ

1. พระบรมธาตุ ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุ ในอำเภอพุมเรียง เมืองไชยาเก่านี้ เป็นของเก่า สร้างตั้งแต่ครั้งโบราณช้านานมาหลายร้อยปีแล้วจนไม่มีผู้ใดทราบได้ว่าใครเป็นผู้สร้างไว้แต่ครั้งไหน ในที่สุดจะสื่อให้ได้แต่เพียงว่าเมื่อพระบรมธาตุองค์นี้ชำรุดแล้วใครเป็นผู้ปฏิสังขรณ์เมื่อครั้งไหนบ้าง ก็ยังไม่ได้ความ การที่สืบสาวหาเรื่องราวของเก่าๆที่ไม่ได้ความดีๆนั้นเป็นเพราะด้วยผู้ที่ได้ทำการก่อสร้างไว้ในครั้งแรกทั้งผู้ปฏิสังขรณ์ในชั้นหลังมักไม่จารึกจดหมายบอกเหตุไว้ให้ได้หลักฐาน ครั้งกาลล่วงเลยมาช้าๆนานๆเช่นนี้ก็ไม่มีใครสามารถอาจจดจำได้ การสืบหาหลักฐานเรื่องราวต่างๆจึงไม่สามารถทราบได้ดี

รูปของพระธาตุ

องค์พระเจดีย์อยู่บนฐานแต่ฐานในเวลาชำรุดถูกดินถมขึ้นมาเสียราว 2 ศอก สูงตั้งเชิงฐานที่สุดถึงยอดที่เหลือประมาณ 10 วาเศษ ความกว้างของฐาน 4 วา 2 ศอก ยาว 5 วา ตอนต่อจากพื้นขึ้นไปถึงหอระฆัง ลดชั้นมีหน้ามุข หน้าบัน และมีบราลีทุกๆชั้น แต่บราลีมักทำเป็นรูปเจดีย์เล็กๆ ตลอดทรวดทรงของพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุองค์นี้มักมีผู้ชมว่าสง่างามกว่าที่อื่น ซึ่งได้พบเห็นมาแม้ว่าไม่สูงไม่ใหญ่ก็จริงแต่วิธีลดหลังชั้นเชิงชดช้อย

ว่าด้วยการชำรุด

2. น่าเสียดายที่ของหลักฐานดังกล่าวมาแล้วนั้นมาชำรุดทรุดโทรมไปยอดเจดีย์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้น หักพังลงมาถึงหอระฆังลวดลายซึ่งเป็นของละเอียดก็ทำลายเสียโดยมาก เครื่องที่ทำให้ชำรุดไปเร็วก็คือไม้ต่างๆ มีโพธิ์ไทร เป็นต้น งอกขึ้นตามระหว่างอิฐทำให้แตกแยะ หลังคาระเบียงพระเวียน ปกคลุมไปด้วยหญ้าและเถาวัลย์ ในลานพระบรมธาตุกำแพงชั้นใน ซึ่งปูด้วยอิฐหน้าวัวนั้น ชำรุดแตกหัก กำแพงชั้นนอกนั้นหักพังลงเสียทั้งหมด พระเจดีย์เล็กใหญ่ต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในบริเวณพระบรมธาตุนั้นชำรุดไป 4 ใน 5 วิหารหลวงและวิหารต่างๆ ก็ดุจเดียวกัน พระพุทธปฎิมากรทั่วไปในบริเวณพระบรมธาตุนี้แตกหักออกเป็นท่อนๆ บั้นๆ ที่ยังเป็นองค์ดีมีอยู่บ้างก็แต่ที่ทำด้วยศิลา ในบริเวณพระบรมธาตุทั่วไปซึ่งต้นไม้และเถาวัลย์ต่างๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ดังนี้ ควรนับว่าหลายปีมาแล้ว ที่ปราศจากผู้รักษาตกแต่งปฎิสังขรณ์ จนต้นไม้โตขึ้น วัดผ่าศูนย์กลาง ขนาด 6-7 นิ้วฟุตก็มี เมื่อได้เห็นเข้าก็นึกเสียดายว่า ของอย่างนี้ยากที่จะมีขึ้นได้ก็เมื่อมีอยู่แล้วก็ไม่น่าให้เสื่อมสูญไป จึงได้ชวนพุทธศาสนิกชน ที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พร้อมใจกันกระทำปฎิสังขรณ์

การปฎิสังขรณ์ใหม่

3. การปฎิสังขรณ์พระบรมธาตุนี้ อาตมาภาพได้ลงมือจับทำการมาตั้งแต่เดือนมีนาคม ศก 115 ถึง ศก 129 นี้ นับได้ 14 ปีเศษ การที่ทำเสร็จไปคือ พระเจดีย์ซึ่งบรรจุพระสารีริกธาตุนั้น ได้ปฎิสังขรณ์ขึ้นตามเค้าเดิมของเก่าบ้าง ได้ดัดแปลงไปให้แปลกไปบ้าง ได้เพิ่มเติมขึ้นใหม่บ้าง ที่เพิ่มเติมจากของเก่าบ้างนั้นคือ ได้ต่อบัวคอระฆัง และขยับยอดให้สูงขึ้นไป 1 แห่ง กับได้ทำฉัตรใส่ยอด คือทำเป็น 3 ชั้น ก้านและใบฉัตรภายในรองด้วยเงินแล้วหุ้มด้วยทองคำ ทองที่เหลือจากหุ้มฉัตร ยังได้หุ้มตลอดลงมาถึงลูกแก้วและปลี สิ้นทองคำหนัก 82 บาท 3 สลึง ต่อนั้นลงมา ได้ปิดด้วยทองคำเปลวตลอดคอระฆังและบัว


ว่าด้วยผู้ที่อุดหนุน

4. การที่จัดทำสำเร็จไปได้เพียงนี้ โดยได้รับความอุดหนุนจากท่านข้าราชการและราษฎร์ผู้มีจิตศรัทธาโดยมาก เมื่อแรกลงมือทำในการนี้มีพระศรีราชสงครามรามภักดี ปลัดเมืองไชยาคนเด่า กับภรรยาหลวงวิชิตสงคราม เป็นต้น ช่วยในการนี้โดยเต็มกำลังทั้งพระอธิการวัดต่างๆ คือ พระปลัดเสือ วัดสพ พระเริก วัดไชธารา พระชู วัดเวียง พระหีต วัดดอนพต พระกลับ วัดท่าม่วง ก็ได้มาช่วยระดมกันออกแรงทำส่วนเงินใช้จ่ายในการนี้ทั่วไปทุกอย่าง ตั้งแต่ลงมือทำจนนับว่าสำเร็จไปเพียงนี้สิ้นเงิน 11,357 บาท ทองคำหนัก 82 บาท 3 สลึง ส่วนเงินและทองเหล่านี้โดยท่านผู้มีจิตศรัทธาออกตลอดทั่วเจ้านายและข้าราชการอีกราษฎรทั่วไปดังรายนามและนามแจ้งอยู่ในบัทชีรายละเอียดหมายเลขที่นั้นแล้ว และยังมีผู้ลงขันลับๆ ซึ่งมิได้มีรายชื่อไว้ก็มี โดยมากรวมเป็นจำนวนเงิน...บาท กับทองคำหนัก...บาท ครั้นมาเมื่อปี ร.ศ. 121 ซึ่งการใหญ่ๆ ได้จัดทำเสร็จไปแล้วนั้น ส่วนราษฎรผู้ที่ได้เกื้อกูลในการนี้ โดยมากได้ชักชวนกันให้มีการสมโภชพระบรมธาตุเสียครั้งหนึ่ง ได้มีการมหรสพ 3 วัน 3 คืน เพื่อให้เป็นการครึกครื้นของราษฎร และได้นิมนต์พระสงฆ์นั่งเรียงรอบพระระเบียงสวดมนต์สมโภชแล้วถวายอาหารบิณฑบาตทั้ง 3 วัน แล้วได้มีเครื่องไทยทานมีผ้าไตรเป็นต้น ถวายพระสงฆ์ในงานนี้ทั่วทุกๆ รูป การที่ต้องไปต่อไป

5. ส่วนการที่จะต้องทำต่อไป มีวิหารต่างๆ ซึ่งยังไม่ได้ปฎิสังขรณ์อยู่บ้างหลายอย่าง แต่ที่จำเป็นก็คือ พระอุโบสถ 1 หลัง การที่จะปฎิสังขรณ์ต่อไปให้แล้วเสร็จทุกสิ่งนั้น คงจะเปลืองเวลาอยู่อีกหลายปีจึงจะนับว่าสำเร็จส่วนสิ่งที่จะจัดขึ้นใหม่ต่อไปนั้น เมื่อเห็นว่ามีผู้ศรัทธาอุดหนุน จะควรทำสิ่งใด เพิ่มเติมขึ้น จะได้จัดทำต่อไป

พระวิหารคด

พระระเบียงหรือพระวิหารคด โดยรอบเจดีย์พระบรมธาตุไชยาทั้งหมดมีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 39 เมตร สูง 4 เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสกุลช่างไชยา ขนาดและปางต่างๆ รวมทั้งสิ้น 180 องค์ และมีพระเจดีย์ หอระฆัง รูปปั้นพระชยาภิวัฒน์ ผู้เป็นประธานในการบูรณะปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยราชการที่ 5 หลังจากนั้นมีการบูรณะอีกเพียงเล็กน้อยบางสมัย พระระเบียงจึงได้ชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา

พระวิหารหลวง

พระวิหารหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขององค์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา สร้างยื่นล้ำเข้าไปในพระวิหารคด ในพระวิหารหลวงมีพระพุทธใหญ่น้อยหลายองค์ การบูรณะพระวิหารหลวงนั้น ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยท่านเจ้าคุณพระชยาภิวัฒน์ เมื่อ พ.ศ. 2444 โดยได้เปลี่ยนเครื่องไม้ต่างๆ ใหม่หมด หลังคา 2 ชั้น มีช่อฟ้า นาคสะดุ้ง มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ที่หน้าบันสลักลายดอกไม้เทศ พื้นประดับด้วยกระจกสีตามลวดลายปิดทองคำเปลว ฝาผนังใช้โบกปูนใหม่ทั้งหมด ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2502 พระราชชัยกวี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาเป็นประธานในการบูรณะพระวิหารหลวง โดยรื้อพระวิหารหลังเก่าที่ชำรุดออกคงไว้แต่พระพุทธรูปและฝาผนังด้านหลังพระพุทธรูป ส่วนหน้าบันของเดิมนั้นได้นำไปแสดงไว้ในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ศาลานีลวัฒนานนท์พระวิหารหลวงที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ได้เสริมฝาผนังให้สูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยท้ายพระวิหารหลวงด้านตะวันตก เดิมเป็นห้องลับแล ได้ตัดออก เพื่อเป็นที่นมัสการพระบรมธาตุ แต่เนื่องจากเวลาฝนตกฝนจะสาด ทางวัดจึงปล่อยไว้เป็นห้องโถง เมื่อครั้งพระครูโสภณเจตสิการาม ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ของวัดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2478 ก็ได้ใช้พระวิหารหลวงนี้เป็นสถานที่แสดงโบราณวัตถุต่างๆ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลและประชุมคณะสงฆ์ ต่อมา พ.ศ. 2541 ได้บูรณะอีกครั้งหนึ่ง

พระอุโบสถ

พระอุโบสถตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์เจดีย์พระบรมธาตุ นอกกำแพงพระวิหารคดเริ่มสร้างประมาณ พ.ศ. 1335 เขตพัทธสีมากว้าง 13.15 เมตร ยาว 18.80 เมตร แต่เดิมนั้นมีใบพัทธสีมาเพียงใบเดียว เรียงรายรอบพระอุโบสถจนถึงสมัยพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาได้แผ่เข้ามาในประเทศไทยประมาณ พ.ศ. 1800 พระสงฆ์ลังกาได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาซ้ำลงในที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้พระพุทธศาสนาบริสุทธิ์มีความมั่นคง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้นวัดที่ได้ผูกพัทธสีมาซ้ำแล้ว จึงให้ปักใบพัทธสีมาเพิ่มขึ้นเป็นคู่แฝด โดยมากมักจะเป็นอารามหลวง ด้วยเหตุนี้ วัดพระบรมธาตุไชยาจึงมีใบพัทธสีมา 2 ใบ ดังปรากฎเห็นอยู่ในปัจจุบัน หลังจากท่านเจ้าคุณพระชยาภิวัฒน์ ได้ทำการบูรณะปฎิสังขรณ์พระบรมธาตุและพระวิหารคดแล้ว ทางวัดได้ทำการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวัดพระบรมธาตุไชยา ได้ยกฐานขึ้นเป็นพระอารามหลวงแล้ว ได้รับงบประมาณ เมื่อ พ.ศ. 2498 ทางวัดได้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ตรงที่เดิม แต่ขยายส่วนออกไปอีกยาวกว่าเดิมเล็กน้อยภายในพระอุโบสถมีพระประธานเป็นพระรูปศิลาทรายแดงปางมารวิชัยสมัยอยุธยา เบื้องหน้าพระประธานมีใบพัทธสีมาคู่ ซึ่งเป็นของเดิมแต่ครั้งพระอุโบสถหลังเก่า

พระพุทธรูปศิลาทรายแดง 3 องค์

พระพุทธรูปศิลาทรายแดง 3 องค์ ประดิษฐานอยู่กลางกลางแจ้งบนลานภายในกำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยอยุธยา โดยฝีมือสกุลช่างไชยา อาสน์เป็นของทำใหม่โดยยกให้สูงขึ้น

รูปปั้นพระชยาภิวัฒน์ ( หนู ติสฺโส )

พระชยาภิวัฒน์ ( หนู ติสฺโส ) มีพระราชทินนามเต็มว่า พระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ ชาวบ้านบางมะเดื่อ ตำบลบางมะเดื่อ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยแสดงตลกหลวงหน้าพระที่นั่งในสมัยพุทธเจ้าหลวง ได้อุปสมบทตั้งแต่อายุ 20 ปีบริบูรณ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ได้ริเริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2478 โดย พระครูโสภณเจตสิการาม อดีตเจ้าคณะอำเภอไชยาได้รวบรวมศิลปะโบราณวัตถุมาเก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถ พระวิหารหลวงและพระระเบียง ต่อมากรมศิลปากร ได้พิจารณารับเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรียกชื่อในขนาดนั้นว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี” โดยจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม ครั้นถึง พ.ศ. 2493 พระเดชพระคุณพระธรรมโกศาจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยา เป็นผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ได้เริ่มสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบไทยประยุกต์อาคารใหม่หลังแรก เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมา พ.ศ. 2499 ได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นเป็นหลังที่สอง ด้านทิศเหนือ ใหญ่กว่าหลังแรก สร้างด้วยเงินงบประมาณของกรมศิลปากร และเงินงบประมาณการจร ซึ่ง พ.ต.อ.พัฒน์ นีลวัฒนานนท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผู้จัดหา อาคารหลังนี้ต่อมาได้มีชื่อว่าศาลานีลวัฒนานนท์ ต่อมาเมื่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบกับพระวิหารหลวงชำรุดทรุดโทรมและทางวัดจะรื้อสร้างใหม่ จึงได้ย้ายศิลปวัตถุทั้งหมดจากวิหารหลวงนำไปเก็บและตั้งแสดงในอาคารพิพิธภัณฑ์ที่สร้างใหม่ เมื่อวันที่ 28 – 31 มกราคม พ.ศ. 2500 กิจการพิพิธภัณฑ์ได้เจริญก้าวหน้าตามลำดับมาประจวบกับในวาระสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี กรมศิลปากรเห็นเป็นโอกาสเหมาะสมที่จะปรับปรุงกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานสากล จึงก่อสร้างเพิ่มเติมตัวอาคารขึ้นอีกหลังหนึ่งใน พ.ศ. 2524-2525 รวมเป็นอาคาร 3 หลัง และปรับปรุงการจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ โดยใช้สิ่งที่มีอยู่เดิม ตลอดจนที่ได้รับบริจาคและได้จากการขุดค้นทางโบราณคดี งานทั้งปวงนี้ได้สำเร็จเรียบร้อยลงแล้ว จึงได้ประกอบพีธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2525 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยานี้ ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกภายในบริเวณวัดพระบรมธาตุไชยา

พระมหากษัตริย์กับวัดพระบรมธาตุไชยา

วัดพระบรมธาตุไชยา เป็นพระอารามหลวง ที่พระมหากษัตริย์ และพระบรมราชานุวงศ์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ได้เสร็จพระราชดำเนิน และเดินทางมานมัสการพระบรมธาตุไชยาเสมอมา

งานการศึกษา

วัดพระบรมธาตุไชยา มีการศึกษาทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระมีโรงเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนนักธรรมและแผนกบาลี แผนกนักธรรมเปิดสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2472 มีทั้งชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก นักเรียนหลายวัดที่มาเรียน เช่นวัดเวียง วัดศรีเวียง วัดวชิราราม วัดรัตนาราม และวัดธารน้ำไหล ส่วนแผนกบาลีเปิดเรียนเมื่อ พ.ศ. 2501 ฝ่ายวิปัสสนาธุระได้เปิดสอนวิปัสสนากรรมฐานตั้งแต่ พ.ศ. 2479 เป็นต้นมา เมื่อ พ.ศ. 2541 ได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา

งานเผยแผ่

ประเพณีทำบุญปีใหม่ กลางวันเวลาเช้า มีการทำบุญตักบาตรและอวยพรปีใหม่ ในบริเวณเขตพุทธาวาส กลางคืนพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์และเจริญชัยมงคลคาถา มีการแสดงธรรม ฟังธรรม สนทนาธรรมพุทธศาสนิกชนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก

ประเพณีทำบุญวันวิสาขบูชา วันอัฎฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา และ วันมาฆบูชา เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ เพราะเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา พิธีกรรมต่างๆ กระทำขึ้นโดยมีพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ้งบรรจุอยู่ในองค์เจดีย์พระบรมธาตุเป็นประธานโดยมีการทำวัตรสวดมนต์ แสดงพระธรรมเทศนา ฟังธรรม สนทนาธรรมทั้งกลางวันและกลางคืน พุทธศาสนิกชนที่มาร่วมกันประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยความศรัทธาเลื่อมใสยิ่ง

ประเพณีทำบุญเข้าพรรษา วันแรมค่ำ 1 เดือน 8 เวลากลางวันพุทธศาสนิกชนนำดอกไม้ธูปเทียนมาถวายแก่พระภิกษุสามเณร และข้าวตอกมาถวายวัด วันแรม 2 ค่ำ เดือน 8 พระภิกษุสามเถรในอำเภอไชยาทั้งหมด มาประชุมพร้อมกันทำวัตรนมัสการพระบรมธาตุไชยาแล้วเข้าประชุมในพระวิหารหลวง เพื่อทำวัตรพระเถระผู้ใหญ่ และมีการประชุมประจำปีโดยพร้อมเพรียงกัน

ประเพณีทำบุญวันสารทเดือน 10 ถือเป็นประเพณีประจำปีที่ชาวบ้านมาชุมนุมกัน ทำบุญที่วัดเป็นจำนวนมาก เพื่ออุทิศส่วนกุศลผลบุญ ให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว

ประเพณีทำบุญออกพรรษา ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เวลาเช้ามีการทำบุญตักบาตร เรียกว่า ตักบาตรเทโวโรหนะหรือตักบาตรดาวดึงส์แล้วมีพิธีแห่พระหรือชักพระ ชาวบ้านเรียกว่าลากพระ จากวัดพระบรมธาตุไชยา ไปสมโภชร่วมกับวัดพระประสพ ณ ที่ว่าการอำเภอไชยา ในขบวนแห่มีการแสดงของนักเรียน การแสดงจำอวดต่างๆของชาวบ้าน การสมโภชมีขึ้น 2-3 คืน แล้วจึงแห่พระกลับ

ประเพณีเทศน์มหาชาติ หรือเทศนาเรื่องพระเวสสันดรชาดก ทางวัดจัดให้มีขึ้นในฤดูแล้ง ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน วันใดวันหนึ่ง ซึ่งโดยมากตรงกับวันธรรมสวนะอันเป็นประเพณีของชาวไชยามาแต่โบราณ

ประเพณีของคณะสงฆ์จังหวัดสุราษฎร์ธานีกับเจดีย์พระบรมธาตุไชยา โดยกำหนดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี คณะสงฆ์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปนมัสการพระบรมธาตุไชยา และได้ถือเป็นระเบียบมาถึงปัจจุบันนี้ และถือเป็นธรรมเนียมว่าพระสังฆาธิการได้รับพระราชทานแต่งตั้งหรือเลื่อนสมณศักดิ์ใหม่จะต้องไปนมัสการเจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นกรณีพิเศษ

งานสาธารณูปโภค

ทางวัดพระบรมธาตุไชยา ได้สร้างกุฏิใหม่ เปลี่ยนกุฏิเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมตามลำดับ สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม สร้างหอสมุดประจำวัด เป็นอาคารเก่าถาวรและอุปกรณ์ที่จำเป็น สร้างหอฉัน สร้างศาลาการเปรียญแทนหลังเก่าที่ต้องรื้อออก เนื่องจากการสร้างกำแพงแก้วล้อมเขตพุทธาวาส ศาลาการเปรียญหลังนี้สร้างให้เป็นศาลาอเนกประสงค์ เป็นสถานที่สำหรับเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนและประกอบกิจกรรมทางศาสนา ตลอดจนเป็นที่พักอาศัยของสาธุชนต่างบ้านต่างเมือง ที่เดินทางมานมัสการพระบรมธาตุไชยา เรียกศาลาหลังนี้ว่าศาลา 200 ปีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์นอกจากนี้ได้สร้างศาลาบูรพาจารย์ขึ้นอีก 2 หลัง พระภิกษุสามเณรภายในวัดเป็นผู้มีความรับผิดชอบร่วมกัน ในการดูแลรักษาสมบัติของวัด กรณีที่จะทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ ถ้าเป็นวัตถุสำคัญภายในเขตุพุทธาวาส เช่น องค์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา ทางวัดจะต้องแจ้งให้กรมศิลปากรทราบเพื่อทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อไป ส่วนในเขตสังฆาวาส การก่อสร้างหรือการซ่อมแซมเล็กๆน้อยๆ ทางวัดจัดการบูรณะเสียเอง หรือมีช่างผู้ชำนาญจัดการก่อสร้างและซ่อมแซมให้

จากหนังสือ: ประวัติวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
แต่งโดย: พระราชสุธรรมเมธี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยา 5 ธันวาคม 2542

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ภาพมหาภิเนษกรมณ์ วัดสำโรง

ภาพมหาภิเนษกรมณ์ วัดสำโรง ตำบลนาหลวงเสน อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช.


เป็นรูปพระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะเกาะหลังม้าตามเสด็จ ขาม้าทั้ง 4 ขา มีท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ประจำอยู่ มีพญามารมาห้ามมิให้ทรงผนวช

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ท้าวเวสสุวรรณ

ท้าวเวสสุวรรณ

ที่มา http://www.ponboon.com/?p=1290


ท้าวกุเวร มีอีกพระนามหนึ่งที่รู้จักกันดี คือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ เป็นเจ้าแห่งผี เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมฯ ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือมียักษ์เป็นบริวาร คนไทยโบราณ นิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็ก เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควาญแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริต ว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกามาเฝ้าพระพุทธเจ้าและได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก ไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่นๆของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาญ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้งสี่ปกครอง คือ ท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรุฬหกะ ท้าววิรูปักชะ และท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ประจำทิศต่างๆ ทั้งสี่ทิศโดยเฉพาะท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) เป็นใหญ่ปกครองบริวารทางทิศเหนือ ว่ากันว่าอาณาเขตที่ท้าวเธอดูแลปกครองรับผิดชอบ ม อาณาเขตใหญ่โตมหาศาล กว้างขวาง และเป็นใหญ่ (หัวหน้าท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ) กว่าท้าวมหาราชองค์อื่น

ท้าวเวสสุวรรณ เป็น เทพแห่งขุมทรัพย์ เป็น มหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก ทั้งเป็นเจ้านายปกครองดูแลพวกยักษ์ ภูตผีปีศาจทั้งปวง(ในคัมภีร์เทวภูมิ กล่าวไว้ว่า ท้าวเวสสุวรรณได้บำเพ็ญบารมี มาหลายพันปี รับพรจากพระอิศวร พระพรหม ให้เป็นเทพแห่งความร่ำรวย นอกจากนี้หน้าที่ของท้าวเวสสุวรรณ มีมากมายเช่นการดูแลปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิ ปฏิบัติพระกรรมฐาน เป็นต้น ในคัมภีร์โบราณ ได้กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวัง ความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชารูปท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร

คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร

อิติปิโสภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโมพุทธายะ

(ให้สวดภาวนาขอโชคลาภ กันภูตผีเบียดเบียน การบูชา ธูปสีแดง 9 ดอก กุหลาบแดงเก้าดอกหรือบายศรีปากชาม 1คู่ )

ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสวัณ (สันสกฤต: वैश्रवण Vaiśravaṇa; บาลี: वेस्सवण Vessavaṇa) เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ เป็นหนึ่งในจาตุมหาราช ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ

คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตรว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาน

ท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณนั้น ส่วนมากเราจะพบเห็นในรูปลักษณ์ของยักษ์ยืนถือกระบองยาวหรือคทา (ไม้เท้าเป็นรูปกระบอง) กันซะส่วนใหญ่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีรูปเคารพของท่านในรูปของชายนั่งในท่า มหาราชลีลา มีลักษณะอันโดดเด่นคือ พระอุระพลุ้ยอีกด้วย กล่าวกันว่าผู้มีอาชีพสัปเหร่อ หรือมีอาชีพประหารชีวิตนักโทษ มักพกพารูปท้าวท้าวเวสวัณ สำหรับคล้องคอเพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันภัยจากวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาเบียดเบียน ในภายหลังภาพลักษณ์ของท้าวกุเวรที่ปรากฏในรูปของชายพุงพลุ้ยเป็นที่เคารพนับถือ ในความเชื่อว่าเป็นเทพแห่งความร่ำรวย แต่ท้าวกุเวรในรูปของท้าวเวสวัณซึ่งมาในรูปของยักษ์เป็นที่เคารพนับถือว่า เป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภูติผีปีศาจ

สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่าท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก "กุเวร" ว่า "กุเปรัน" ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาว มีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสวัณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ "อลกา" อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า "สวนไจตรต" หรือ "มนทร" มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกว่า "โต้เหวน" หรือ "โต้บุ๋น" คนญี่ปุ่นเรียกว่า "พสมอน"

ท้าวกุเวรนี้สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน

นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสวัณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มงกุฏ 5 กะโหลก - องค์มหากาล

มงกุฏ 5 กะโหลก - องค์มหากาล


องค์มหากาล ทุกปาง จะสวมมงกุฏ 5 กะโหลก อันเป็นตัวแทน ของการเปลี่ยนแปลง ของกิเลส 5 ประการ ที่มนุษย์มี (โมหะ โลภะ โทสะ มานะ อิสสา)ไปสู่ คุณความดี

ข้อมูล -- ท่านตรังกู รินโปเช
thrangu.org

A crown of five skulls: This is worn by all manifestations of Mahakala and represents the transmutation of the five negative afflictions of human nature into positive virtues.

ที่มาของเพลง "สดุดีมหาราชา"

ที่มาของเพลง "สดุดีมหาราชา"


คุณชรินทร์ นันทนาคร เป็นผู้ริเริ่มอยากให้มีเพลงอะไรสัก 1 เพลง ที่รองลงมาจากเพลง สรรเสริญพระบารมี และเป็นเพลงใช้ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคมด้วย เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัว คุณชรินทร์จึงไปหา คุณสุรัฐ พุกกะเวส คุณสุรัฐ จึงพิมพ์เป็นบทเพลงมาให้ เมื่อเดือน พ.ค. 2507

หลังจากนั้นจึงมาหาคุณสมาน ที่บ้าน เวลา 8.00 น. มาพร้อมกับ “คุณชาลี อินทรวิจิตร” เพื่อแต่ง และแก้ไขเพลงสดุดีมหาราชาใหม่ รวมถึงการแก้คำศัพท์เจ้าให้ถูกต้อง เมื่อเริ่มหาคำขึ้นต้นของเพลง คุณชาลี ถามคุณชรินทร์ว่า ” ถ้าเราพบในหลวง เราจะพูดกับท่านคำแรกว่าอะไร” คุณชรินทร์ตอบว่า ต้องพูดว่า “ขอเดชะ ซิ” นั่นเป็นคำเริ่มต้นของเพลง..

คุณชาลีแต่งไป คุณสมาน ก็ใส่ทำนองไป จนจบเพลง ประมาณบ่าย 2 โมง รุ่งขึ้น คุณสมาน ก็เรียบเรียงเสียงประสานเพลงนี้จบเสร็จ และให้วง “ลูกฟ้า”เล่นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2507 ที่เวทีสวนลุมพินี งานแผ่นเสียงทองคำปีแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชทานรางวัล

ต่อมา คุณชรินทร์ ได้นำเพลง “สดุดีมหาราชา” ไปใส่ในภาพยนตร์ เรื่อง “ลมหนาว” ซีงคุณชรินทร์เป็นผู้สร้างและผู้กำกับเอง ต่อมาได้มีลูกเสือชาวบ้านเกิดขึ้นมากมาย และได้เอาเพลง “สดุดีมหาราชา" ไปร้องและใช้เป็นเพลงประจำตลอดมา

เพลง"สดุดีมหาราชา" อัดแผ่นเสียงของ บ.กรุงไทย โดยคุณประเสริฐ(จุ่น) หวังสันติพร ที่ห้องอัดเสียง คิงซาวน์ เมื่อ พ.ศ. 2514 หรือ2516 ผู้อัดเสียงคือ คุณประกาศ(แป๊ะ) วังสุทธิสมศรี มีนักร้องชาย-หญิงมากมาย ที่จำได้มีฝ่ายชายมี สุเทพ วงศ์กำแหง ธานินทร์ อินทรเทพ ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา สุวัชชัย สุทธิมา ฝ่ายหญิงมี นภา หวังในธรรม เพ็ญศรี พุ่มชูศรี สวลี ผกาพันธุ์
จินตนา สุขสถิตย์ ดาวใจ ไพจิตร พราวตา ดาราเรือง

ส่วนการแต่ง “อินโทร”ของเพลงนี้ คุณสมานเล่าว่า “อาจารย์พระเจนดุริยางค์” เคยเล่าให้ฟังว่า เมื่อสมัยรัชกาลที่ 1,2,3 เวลาพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกท้องพระโรง สมัยนั้นยังไม่มีแตรฟันฟาเป่า เขาใช้หอยสังข์หรือหอยโข่งเป่า เป็นทำนองหลายๆเสียงล้อกัน คุณสมาน จึงนำมาทำเป็น”อินโทร “ของเพลงสดุดีมหาราชา

ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ครูสมาน กาญจนะผลิน (ศิลปินแห่งชาติ) และจากหนังสือรวมเพลงครูสมาน เล่ม 6 ซีงเขียนโดยลายมือของท่านเอง

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา

โรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา



ประวัติโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา



โรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยาตั้งอยู่ที่ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 077-431444 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 เปิดสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับประถมศึกษามีเนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 7 ตารางวา

โรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยาเปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2466 ตรงกับวันเสาร์ แรม 6 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน โดยนายทับ สุวรรณ ศึกษาธิการอำเภอไชยา มีพระวินัยธรรมเจ้าอาวาสวัดพระธาตุเป็นผู้อุปการะ โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลเวียง ใช้ศาลาการเปรียญเป็นสถานที่เรียน


ในวันที่ 18 มกราคม 2475 ได้ทำพิธีเปิดป้ายโรงเรียนและอาคารเรียน โดยมหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีธรรมราชชาติเดโชชัยมหัยสุริยาธิบดีพิริยะพาหะ (ทองคำ กาญจณโชติ)สมุเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราชเป็นประธาน พร้อมด้วยอำมาตย์โทพระยาสุราษฎร์ธานีเกษตรนิคม ( เต่า สตะกรูมะ )ข้าหลวงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำมาตย์พระสรรพกิจจำนงค์(มณเฑียร ยุวดีระติ)นายอำเภอไชยาและราชราชบุรุษขุนมณีวัติศึกษาธิการ

ในปีพุทธศักราช 2500 กระทรวงวัฒนธรรม ได้ยกฐานะวัดพระธาตุเป็นอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ให้ชื่อว่าวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร ได้เปลียนชื่อโรงเรียนตามสภาพที่อยู่ในอารามหลวง ชื่อว่าโรงเรียนวัดพระบรมธาตุไชยา

บัวบาน

บัวบาน


บัวยิ่งบาน เต็มที่ ยิ่งมีมาก
ผู้มีพระภาค ยิ่งพอ พระทัยยิ่ง
เหตุดังนั้น บัวที่เริ่ม จะบานจริง
อย่ากลอกกลิ้ง ล่อหลุบ หุบเสียเอย

ภาพจากโรงมหรสพทางวิญญาณ สวนโมกข์ สุราษฎร์ธานี

แม่น้ำคีรีรัฐ หรือ แม่น้ำพุมดวง

แม่น้ำคีรีรัฐ หรือ แม่น้ำพุมดวง


เป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานีโซนตะวันตกประเทศไทย มีต้นกำเนิดจากต้นน้ำเกิดจากเทือกเขา ระหว่างจังหวัดพังงากับจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่อำเภอพนม และไหลมาบรรจบกับแม่น้ำตาปี อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แม่น้ำคีรีรัฐ เกิดจากหลายๆลุ่มน้ำไหลมาบรรจบกันจากเทือกเขาภูเก็ตในอำเภอพนม จังหวัดไหลผ่าน อำเภอพนม อำเภอบ้านตาขุน อำเภอคีรีรัฐนิคม อำเภอพุนพิน ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำตาปี ที่อำเภอพุนพิน แม่น้ำคีรีรัฐ มีความยาวทั้งหมดประมาณ 80 กิโลเมตร มีคลองสาขาที่สำคัญ 4 สาย ได้แก่

คลองสก
ต้นน้ำอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาสก ตำบลคลองศก อำเภอพนม ไหลมารวมกับคลองแสงที่ ตำบลต้นยวน อำเภอพนม กลายเป็แม่น้ำคีรีรัฐ มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร

คลองพนม
ต้นน้ำอยู่ในอุทยานแห่งชาติคลองพนม ตำบลพลูเถื่อน อำเภอพนม ไหลมารวมกับคลองสกทางฝั่งซ้ายในตำบลพนม อำเภอพนม มีความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร

คลองแสง
ต้นน้ำอยู่ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าคลองแสง และอุทยานแห่งชาติเขาสก ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน ไหลมารวมกับคลองสกที่ ตำบลพะแสง อำเภอบ้านตาขุน กลายเป็นแม่น้ำคีรีรัฐ มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร

คลองยัน
ต้นน้ำอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกรุงและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าคลองยัน ตำบลตะกุกเหนือ อำเภอวิภาวดี ไหลมารวมกับแม่น้ำคีรีรัฐที่ ตำบลย่านยาว อำเภอคีรีรัฐนิคม มีความยาวประมาณ 70 กิโลเมตร

รูปลักษณ์ องค์มหากาล

รูปลักษณ์ องค์มหากาล


ตามปกติท่านมีองค์สีดำ ดุจเดียวกับการที่สีทุกสีถูกดูดซึมและสลายตัวสู่สีดำ ชื่อทั้งหลาย รูปทั้งหลาย หลอมละลายสู่องค์มหากาล เป็นสัญญลักษณ์ ของธรรมชาติ อันสมบูรณ์ที่โอบอุ้มทุกสรรพสิ่ง สีดำยังเป็นตัวแทนของการไร้สีใดและแสดงให้เห็นถึง ธรรมชาติขององค์มหากาล อันคือ ความจริงอันสมบูรณ์สูงสุด และ พ้นไปจากรูปทั้งมวล

ข้อมูล - เว็ปไซท์ ท่านตรังกู รินโปเช
-------------------
Forms of Mahakala

Mahakala is typically black in color. Just as all colors are absorbed and dissolved into black, all names and forms are said to melt into those of Mahakala, symbolizing his all-embracing, comprehensive nature. Black can also represent the total absence of color and signifies the nature of Mahakala as ultimate or absolute reality and transcendence of all form.

http://www.thranguhk.org/

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สิงห์ วัดถ้ำสิงขร

ที่มา http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=23197.0

สถานที่ตั้ง

อยู่ตำบลถ้ำสิงขร อำเภอคีรีรัฐนิคม (ท่าขนอนเดิม) จังหวัดสุราษฏร์ธานี อยู่ริมฝั่งแม่น้ำพุมดวง



ประวัติความเป็นมา

สร้างราวในสมัยอยุธยาตอนปลาย ด้านหน้าวัดเป็นแม่น้ำ ด้านหลังวัดเป็นภูเขาซึ่งมีสายน้ำลำธาร หลายสาย สมัยก่อนภูมิประเทศโดยรอบเป็นป่าเคยเป็นที่ตั้งคอกจับช้าง ที่ภูเขาด้านหลังวัดมีถ้ำใหญ่อยู่ถ้ำ หนึ่งภายในพระพุทธรูปปั้นแบบและขนาดต่าง ๆ จำนวนมากมาย ที่สำคัญคือ พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท ขนาดใหญ่ ที่พื้นชิดผนังถ้ำด้านซ้ายมือมีช้างปูนปั้นยืนเรียงรายตามลำดับจำนวนไม่น้อยกว่า ๖ เชือก บนผนัง ถ้ำด้าน บนผนังถ้ำด้านขวามือและตรงหลืบหินย้อยกลางถ้ำมีภาพรูปปั้นเป็นเทวรูป ยักษ์มาร แม่พระธรณี ล้อมรอบพระพุทธองค์ รูปสัตว์ในเทพนิยาย เช่น เหว่าพด มังกร ตลอดจน ปู กุ้ง ปลา อยู่เป็นกลุ่ม ๆ ฝีมืองาน พอใช้ บนเพดานถ้ำเป็นลายปูนปั้นรูปลายก้านขดลักเถาหรือกระหนกลายไทย และติดกระเบื้องถ้วยชาม ประดับดูประหนึ่งเป็นลายดาวบนฝ้าเพดาน อุโบสถ วิหาร บนเพดานถ้ำบางแห่งยังมีภาพเขียนสีปรากฏอยู่ ด้วย แต่ความชื้นทำให้ลบเลือนเกือบหมด หน้าถ้ำมีเจดีย์แบบศรีวิชัยองค์หนึ่ง เป็นเจดีย์ใหญ่ก่ออิฐเลียบแบบ เจดีย์สมัยศรีวิชัยที่ไชยาประดับกระเบื้องถ้วยชามทั่วทั้งองค์



ความสำคัญต่อชุมชน

ปัจจุบันในวันปกติจึงมีคนไปเที่ยวชมเสมอ โดยเฉพาะวันงานไหว้พระประจำปี วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๖ จะมีประชาชนไปเที่ยวชมงาน และนมัสการพระพุทธรูปในถ้ำและพระพุทธบาทจำลองกันมาก ภายในผนังถ้ำด้านขวามือ เคยมีรูปพระนารายณ์ศิลาชำรุด องค์หนึ่งสูง ๖๔๘.๕ เซนติเมตร สลักติดไว้ กับผนังถ้ำ ซึ่งมีบุคคลที่ต้องการไปเป็นเครื่องสักการะบูชาของตนเอง จึงพยายามขโมยหลายครั้ง ทาง วัดถ้ำสิงขรเห็นว่าไม่ปลอดภัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ จึงนำไปเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จังหวัด นครศรีธรรมราช



ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

วัดถ้ำสิงขร มีซุ้มทิศและพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัยอยู่ภายในซุ้มมุขประดิษฐานพระพุทธรูปปาง มารวิชัย และพระพุทธบาทจำลองสำหรับให้ประชาชนที่มีจิตใจศรัทธาเข้าไปนมัสการ ซึ่งเจดีย์องค์นี้ถ้ามอง ออกมาจากในถ้ำจะเห็นงามแปลกตามาก อุโบสถสร้างอยู่บนพื้นที่ราบเยื้องกับถ้ำ ห่างกันไม่ถึง ๑๐๐ เมตร ตัวอุโบสถหลังเก่ารื้อเสียแล้ว ได้ ทราบว่าของเดิมสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง (เว้นพื้น) มุงกระเบื้องพิจารณาจากเสาไม้ขนาดใหญ่ของเดิมปลายเสา สลักเป็นรูปบัว หัวเสาทุกต้นก็แสดงว่าอุโบสถจะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าของวัด น้ำรอบโดยรอบอุโบสถมีเสมา หินทรายคู่หลายแผ่นตั้งอยู่บนฐานพัทธสีมาของเติมสลักลวดลายหน้าเดียวและมีฝีมือพอใช้เนื่องจากถ้ำสิงขร เป็นวัดโบราณมีถาวรวัตถุหลายอย่าง จึงมีประชาชนไปสักการะเรื่อยมาจนมาถึงปัจจุบัน

เส้นทางสู่สถานที่สำคัญ

สามารถนั่งเรือจากตลาดท่าข้าม ทวนแม่น้ำพุมดวงขึ้นไปได้ แต่ทางที่สะดวกมากคือทางรถยนต์ เฉพาะสายสุราษฏร์ธานี - ตะกั่วป่า ตัดย่านไปใกล้วัด คือตรงกิโลเมตร ๓๔ - ๓๕ จะมีทางแยกเข้าวัด ระยะทางราว ๒ กิโลเมตรเศษ

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ที่หยุดรถไฟบ้านเกาะปริง

ที่หยุดรถไฟบ้านเกาะปริง ตั้งอยู่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช


รหัส : 4433
ชื่อภาษาไทย : บ้านเกาะปริง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Ban Ko Pring
ชื่อย่อภาษาไทย : ะป.
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ :
ชั้นสถานี : ที่หยุดรถ
ระบบอาณัติสัญญาณ : -
พิกัดที่ตั้ง : กม.ที่ 751+030

ที่หยุดรถ คลองกุย

ที่หยุดรถ คลองกุย



ที่หยุดรถ คลองกุย ตั้งอยู่บ้านคลองกุย หมู่ 8 ตำบลช้างกลาง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พ่อหมอเฒ่า (ปฏิยะ)

พ่อหมอเฒ่า (ปฏิยะ)

ที่มา กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร


กว้าง ๓๕ ซม. สูง ๔๔ ซม. สมัยรัตนโกสินทร์ วัสดุ สำริด
กรมช้างต้นกระทรวงวัง ส่งให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติช้างต้นวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๗๒
เข้าใจว่าเดิมเป็นรูปเคารพอยู่ในกรมพระคชบาล ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ช้างต้น

สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง

สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง ตั้งอยู่ถนนรถไฟ ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัด นครศรีธรรมราช 80110




รหัส : 4270
ชื่อภาษาไทย : ชุมทางทุ่งสง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Thung Song Junction
ชื่อย่อภาษาไทย : ทส.
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ :
ชั้นสถานี : สถานีชั้น 1
ระบบอาณัติสัญญาณ :สายลวด
พิกัดที่ตั้ง : กม.ที่ 757.08
ที่อยู่ : ถนนรถไฟ ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัด นครศรีธรรมราช 80110



สถานีคลองจัง

สถานีคลองจัง



สถานีรถไฟคลองจัง ตั้งอยู่บ้านคลองจัง หมู่ 4 ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสถานีรถไฟระดับ 3 ของทางรถไฟสายใต้

รหัส : 4269
ชื่อภาษาไทย : คลองจัง
ชื่อภาษาอังกฤษ : Khlong Jung
ชื่อย่อภาษาไทย : คจ.
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ :
ชั้นสถานี : สถานีชั้น 3
ระบบอาณัติสัญญาณ : ประแจกลเดี่ยว พร้อมสัญญาณหางปลาเข้าเขตใน
พิกัดที่ตั้ง : กม.ที่ 747+030
ที่อยู่ : ถนน อบจ.คลองจัง-บ้านคลองจัง บ้านคลองจัง หมู่ 4 ตำบลนาบอน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช 80220


มหาภิเนษกรมณ์

มหาภิเนษกรมณ์ เป็นรูปพระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะเกาะหลังม้าตามเสด็จ ขาม้าทั้ง 4 ขา มีท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ประจำอยู่ นำพระองค์เหาะข้ามกำแพงพระนครออกไปด้วยปาฏิหาริย์ เจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อพระองค์ทรงได้รับคำทำนายจากดาบสและพราหมณ์ผู้เชี่ยวชาญในพระเวทว่าจะเสด็จออกบรรพชา


และตรัสรู้ธรรมเป็นศาสดาเอกของโลก เมื่อทรงเจริญวัย ทรงศึกษาศิลปศาสตร์ 18 ประการจนสำเร็จ ทรงอภิเษกกับพระนางพิมพา และมีพระโอรสพระนามว่า ราหุล เจ้าชายสิทธัตถะทรงและได้นิมิตเห็นเทวทูตทั้ง 4 จึงตระหนักถึงทุกข์จากความแก่ ความเจ็บ ความตาย ซึ่งย่ำยีสรรพสัตว์โดยไม่ยกเว้น จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จหนีออกบรรพชา โดยเสด็จขึ้นหลังม้ากัณฐกะและมีนายฉันนะตามเสด็จ

วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สถานีประจวบคีรีขันธ์

สถานีรถไฟประจวบคีรีขันธ์ ตั้งอยู่ ถนนมหาราช 1 ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์




สถานีรถไฟประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในความควบคุมของงานเดินรถแขวงหัวหิน เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้



รหัสสถานี 4142
ชื่อภาษาไทย ประจวบคีรีขันธ์
ชื่อภาษาอังกฤษ Prachuap Khiri Khan
ตัวย่อไทย จข.
ตัวย่ออังกฤษ PKK
ระดับสถานี 1
อาณัติสัญญาณ สัญญาณไฟสี 3 สี 3 ท่า พร้อมประแจกลไฟฟ้า ชนิดบังคับด้วยรีเลย์ (ประเภท ก.1-ก)
พิกัดภูมิศาสตร์ 11.80768? N 99.79384? E
หมายเลขโทรศัพท์ 0 3261 1175
จำนวนชานชาลา 4 ชานชาลาราง


ภาพปูนปั้น วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ภาพปูนปั้น วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



๑๘ สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ.

๑๘ สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ.


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถปรับปรุงสยามประเทศให้เจริญทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงรับเอาศิลปวิทยาการและความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ

ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลกด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์

เมียร์แคต

เมียร์แคต จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


เมียร์แคต (อังกฤษ: Meerkat, Suricate; ชื่อวิทยาศาสตร์: Suricata suricatta) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม (2 ปอนด์) และสูงประมาณ 50 เซนติเมตร (20 นิ้ว) จัดอยู่ในวงศ์พังพอน (Herpestidae) มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเลทรายคาลาฮารีทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา

จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Suricata และแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย

เมียร์แคตมีอุ้งเล็บที่มีลักษณะโค้งเพื่อใช้ในการขุด และมีจมูกไวมาก มีขนสั้นสีน้ำตาล มีขนเป็นแนวเส้นขนานพาดข้ามหลัง อาศัยและหาอาหารในโพรงดินที่ขุดขึ้น โดยอาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ รวมถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวเล็ก ๆ อีกด้วย อีกทั้งยังสู้และกินสัตว์มีพิษต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น แมงป่อง ตะขาบ งูพิษ เป็นต้น


มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่บางครั้งอาจมีสมาชิกถึง 30 ตัว และอยู่ร่วมกับสัตว์ขนาดเล็กชนิดอื่น ๆ เช่น กระรอกดิน ไม่ชอบอยู่กับที่ ชอบยืนชะเง้อคอ เพื่อตรวจดูและดมกลิ่นในบริเวณรอบ ๆ จะออกมารับแสงแดดในช่วงเวลาเช้าเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น เมียร์แคตถือได้ว่าเป็นสัตว์มีประสาทสัมผัสและการระแวดระวังภัยที่ดีมาก โดยเฉพาะเรื่องการรับฟังเสียงจะสามารถได้ยินเสียงในรัศมีถึง 160 ฟุต (50 เมตร) และจะอพยพย้ายที่อยู่เมื่อมีภัย ทั้งนี้โพรงของเมียร์แคตมีความลึกลงไปในใต้ดิน โพรงดินที่สร้างขึ้นสามารถเชื่อมต่อกัน ทำให้มีช่องทางเข้าออกมากขึ้นและช่วยให้มีทางหลบหนีเมื่อมีภัยมา

เมียร์แคตจะขยายพันธุ์เมื่อมีอายุประมาณ 1 ปี จะออกลูกตามโพรง ช่วงฤดูผสมพันธุ์คือเดือนตุลาคม-มีนาคม ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 11 สัปดาห์ ออกลูกครั้งละ 2-5 ตัว

พระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี

พระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระปรางค์วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองกระแซง อำเภอเมืองเพชรบุรี (อำเภอคลองกระแชง) สร้างมามากกว่า 1,900 ปี มีพระปรางค์ห้ายอด ล้อมรอบด้วยพระระเบียงคด ที่หน้าบันพระวิหารหลวงประดับลวดลายปูนปั้นศิลปะสมัยอยุธยา ใบเสมาคู่สมัยอยุธยาตอนปลาย ทำด้วยหินทรายแดง จำหลักลวดลายทั้งใบ ความสูงถึงยอดนภศูลประมาณ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร


วัดมหาธาตุวรวิหารมีอายุมากกว่า 1,000 ปี หลักฐานจากสมุดเพชรบุรี ระบุว่าได้พบอิฐสมัยทวาราวดี บริเวณป่าช้าวัดมหาธาตุ ฯ ด้านที่อยู่ติดกับวัดแก่นเหล็ก เป็นแผ่นอิฐยาวประมาณหนึ่งศอก ปิดทับอยู่บนหลุมฝังศพ มีซากโครงกระดูกหนึ่งโครง มีอักษรจารึกที่แผ่นอิฐนั้นมีความว่า "ข้าพเจ้าจีนแดงได้สร้างพระปรางค์ไว้ไม่สำเร็จ ขอให้ข้าพเจ้าได้สร้างพระปรางค์นี้อีกต่อไป"

วัดมหาธาตุ เป็นสถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก น้ำอภิเษกจากจังหวัดเพชรบุรี เป็นน้ำที่ตักจากน้ำแม่น้ำเพชรบุรี บริเวณหน้า วัดท่าชัย (ปัจจุบัน ชื่อวัดท่าชัยศิริ) ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ความสำคัญของน้ำที่วัดท่าชัยศิรินี้มีมาว่า สมัยโบราณกองทัพไทยรบกับกองทัพพม่า กองทัพไทยได้ถอยมาถึงวัดใต้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า วัดชัย ทหารไทยได้ลงดื่มน้ำที่ศาลาท่าน้ำของวัดนี้ แล้วกลับขึ้นไปยึดโบสถ์วัดใต้เป็นที่มั่นต่อสู้กับกองทัพพม่าจนพม่าแตกหนีไป พ.ศ. 2462 วัดมหาธาตุได้เป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้างพระราชวังบนเขาวัง จึงได้ย้ายการทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ไปกระทำบนเขาวัง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายมาทำพิธีที่วัดมหาธาตุตามเดิม ปัจจุบันได้เลิกใช้ ตั้งแต่ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก

ศาลเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตั้งอยู่ริมท่าน้ำวัดพนัญเชิงวรวิหาร ตำบลคลองสวนพลู พระนครศรีอยุธยา ชาวจีนรู้จักกันดีในชื่อ ศาลเจ้าแม่อาเนี้ย นับเป็นอีกหนึ่งสถานที่เก่าแก่ของพระนครศรีอยุธยา และเป็นหลักฐานของตำนานเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ธิดาแห่งพระเจ้ากรุงจีน


เรื่องราวของเจ้าแม่สร้อยดอกหมากมีความเป็นมาอันยาวนานในหมู่ชาวกรุงศรีอยุธยา ตามตำนานเล่าว่าพระเจ้ากรุงจีนได้พระราชทานพระราชธิดา นามว่า เจ้าหญิงสร้อยดอกหมาก ให้แก่พระเจ้าสายน้ำผึ้ง แห่งแผ่นดินสยาม โดยแต่งกระบวนเรือสำเภาเพื่อส่งพระนางมายังกรุงศรีอยุธยา ทว่าเมื่อขบวนเรือมาถึงแล้ว กลับไม่มีการต้อนรับใดๆ จากพระเจ้าสายน้ำผึ้ง พระนางจึงเกิดน้อยพระทัยไม่ยอมเสด็จลงจากเรือ หากแต่พระเจ้าสายน้ำผึ้งกลับหยอกล้อนางว่า “หากไม่อยากขึ้นจากเรือ ก็จงอยู่ที่นี่เถิด” เจ้าหญิงสร้อยดอกหมากได้ยินดังนั้นก็รู้สึกน้อยพระทัย และทรงเลือกที่จะกลั้นใจตายบนเรือสำเภา เป็นเหตุให้พระเจ้าสายน้ำผึ้งทรงโทมนัส ภายหลังการปลงพระศพของพระนาง โปรดให้สร้างศาลขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักและอาลัยต่อพระนาง


ผู้คนเชื่อกันว่า ตำนานดังกล่าวอาจเป็นที่มาของชื่อวัดพนัญเชิง ซึ่งมาจากคำว่า พระนางลองเชิง