วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

มหาโยคีทักษิณามูรติจากพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์

มหาโยคีทักษิณามูรติจากพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์

ที่มา https://www.facebook.com/profile.php?id=100011062355845


อวตารหนึ่งของพระศิวะในศาสนาฮินดู เพื่อมาเป็นพระบรมครู หรือ กูรู (อาจารย์) ผู้รู้ทุกสรรพสิ่ง ทุกอย่าง ทุกประเภท ของทุกความรู้

ในปางนี้พระอิศวรทรงเสด็จอวตารลงมาเพื่อสั่งสอนให้ความรู้แก่มหาคุรุ หรือ ครูผู้ที่มีความรู้เป็นเลิศและชำนาญในแต่ละด้าน ที่สามารถไปอบรมสั่งสอนให้ความรู้แก่มวลมนุษย์คนอื่นต่อๆไป ให้ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ที่ดีที่สุด และ เข้าใจในองค์ความรู้เหล่านั้นอย่างละเอียดลึกซึ้ง

แสดงให้เห็นถึงการเป็นบรมครูเหนือกว่าบรมครูทั้งหมดของ พระอิศวร ทั้งเป็นครูของวิชาต่างๆ พระเวท มนต์คาถา โยคะ การบำบัดรักษาโรค ดนตรี นาฏยศาสต์ เพลง ภูมิปัญญาต่างๆ พราหมณ์ นักบวช นักพรต ดาบส มุนีทั้งหลายได้ยกย่องและให้ความเคารพบูชาในฐานะเทพเจ้าแห่งภูมิปัญญา และ การทำสมาธิ ที่สมบูรณ์ขั้นสูงสุด

ตาม พระคัมภีร์ ในสมัยอดีต กุรู หรือ ครู ของมนุษย์ทั้งหลายไม่มีความรู้ความสามารถมากพอที่จะสั่งสอนคนอื่นๆได้ เหล่ากูรูจึงได้พากันสวดอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้า เพื่อให้มาเป็นบรมครูของตน เพื่อที่ตนจะได้นำความรู้เหล่านั้นไปสั่งสอนผู้อื่นต่อๆไปได้

ทักษิณามูรติ แท้จริงหมายถึง "คนที่หันหน้าไปทางทิศใต้ ทักษิณาในภาษาสันสกฤต แปลว่า ภาคใต้ เป็นทิศทางแห่งความตาย

ในทุกวัดหรือศาสนสถานที่มี พระศิวะ ปางมหาโยคีทักษิณามูรติ ไม่ว่าจะเป็นภาพ หินแกะสลัก หรือรูปปั้น จะมีการติดตั้งให้หันหน้าไปทางทิศใต้ หันไปทางภาคใต้ บางทีอาจจะเป็น เทพเจ้า ของฮินดูซึ่งเป็นเพียงพระองค์เดียวที่นั่งหันหน้าไปทางทิศใต้

อาจารย์ Ramana Maharshi ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีและเทววิทยา ได้กล่าวในจดหมายเหตุ อีกหนึ่งความหมาย ของ Dakshina คือ อยู่ในหัวใจอยู่ทางด้านขวาของร่างกาย ส่วนคำว่า Amurthy หมายถึง ผู้เป็นเลิศที่มีความรู้ชั้นเลิศ ทักษิณามูรติ "Dakshinamurthy" ในภาษาสันสกฤต จึงหมายถึง "มหาเทพผู้เป็นใหญ่ตั้งอยู่บนฝั่งขวา" หรือ สถิตในทางเบื้องขวาของความคิดและสติปัญญาของมนุษย์ ส่วนการที่พระองค์หันหน้าไปทางทิศใต้ มีนัยยะที่สื่อถึงการตรัสรู้ รอบรู้ มีความรู้ในทุกๆด้าน และพระองค์หยั่งรู้ทุกสรรพสิ่งเหนือความตาย หรือได้ก้าวพ้นความตายแล้ว

รูปแบบที่ถูกต้องตามเทวปกรณ์ในคัมภีร์พระเวท สำหรับการสร้างรูปเคารพ และ ภาพวาด พระอิศวร ปางมหาโยคีทักษิณามูรติ ในศิลปะอินเดียแบบโบราณส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะของ มหาโยคี หรือ มหาฤๅษี ในแง่ของพระองค์ที่เป็นมหาโยคีทักษิณามูรติ (Maha Yogi Dakshinamurti) พระอิศวรก็จะทรงแสดงให้เห็นโดยทั่วไปที่มีพระกร สี่พระกร หรือ สี่แขน พระองค์ทรงประทับนั่งอยู่ภายใต้ต้นไทร หันหน้าไปทางทิศใต้ พระอิศวร ทรงประทับนั่งอยู่บนพระบัลลังก์ และล้อมรอบด้วยปราชญ์ที่มีความรอบรู้ ชำนาญรอบด้าน ที่ได้รับการอบรมสั่งสอน ได้รับความรู้วิชาต่างๆจากการเรียนการสอนของพระองค์ทั้งสี่ทิศ

- ลักษณะท่าประทับนั่ง จะแสดงเป็นท่านั่งที่เท้าขวาของพระองค์เหยียบอสูร (apasmara) ตามตำนาน (อสูรซึ่งตามตำนานในพระเวทที่เป็นตัวตนของความไม่รู้ ซึ่งเป็นตัวแทนของอวิชชา เมื่ออวิชชาถูก เหยียบไม่ให้โผล่ขึ้นมาบดบังความจริง ความรู้แจ้ง {วิชชา} ก็จะปรากฏขึ้นนั่นเอง)
- และ เท้าซ้ายของพระองค์ทรงพับยกขึ้นวางอยู่บนตักของพระองค์ แสดงถึงความสุขอันเป็นที่สุดของการรู้แจ้ง มีปัญญาล้ำเลิศ
- บางภาพจะมีสัตว์ป่านาๆชนิด เป็นภาพที่สรรพสัตว์ล้อมรอบ พระอิศวร
- พระหัตถ์ขวาด้านบน ทรงถือกลองรูปร่างคล้ายๆ นาฬิกาทราย (เอวคอด) พันด้วยงู กลองเล็กๆ ใบนี้ให้จังหวะประกอบการฟ้อนรำของพระศิวะ มีนัยยะในการสร้างสรรสิ่งใหม่ๆ ให้ดำเนินไปข้างหน้าตามจังหวะชีวิต และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เสียงกลองเป็นสัญลักษณ์แทนโลกธาตุแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในจักรวาล นั่นคือ กลองเป็นสัญลักษณ์แห่งการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ทั้งหมดทั้งมวล
- พระหัตถ์ซ้ายด้านบน ถือ พระตรีศูล อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการทำลายล้าง โดยคำว่า ทำลายล้าง ในที่นี้ หมายถึง ล้างความชั่ว ล้างอวิชชา ล้างความเขลา ความไม่รู้ ให้หมดไป เพื่อเปิดทางการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ พระกรและพระหัตถ์คู่ซ้าย-ขวา ซึ่งแทนการสร้างสรรค์และการทำลายล้างนี้ กางออกไปในระดับเสมอกัน อันบ่งบอกถึงความหมายที่ว่า "มีสลาย ก็ย่อมมีการสร้างขึ้นใหม่ได้" นั่นเอง
- พระหัตถ์ขวาด้านล่างแบออก เรียกว่า ปางอภัย (abhaya Mudra) ซึ่งมีความหมายว่า "จงอย่าได้กลัวเลย" (do not fear) เพราะไม่มีภัยใดๆ จะมากล้ำกลาย ท่านี้บ่งว่า พระศิวะ เป็นผู้ปกป้องอีกด้วย
- พระหัตถ์ซ้ายด้านล่างทรงถือ พระคัมภีร์ นี้บ่งถึงการหลุดพ้นจากความเขลา ความไม่รู้ทั้งปวง พระเวท คือศาสตร์ วิชาความรู้ต่างๆอันสูงสุด เปรียบเสมือนพระองค์ทรงมีวิชาความรู้ต่างๆที่มากมี และมากมายมหาศาล
เพิ่มเติม ลักษณะนิ้วชี้ของมือข้างขวาของพระองค์จะงอและสัมผัสปลายนิ้วหัวแม่มือ อีกสามนิ้วจะถูกยืดออกจากกัน หรือ ทรงแสดงสัญญาณมือ หรือ สัญลักษณ์มุทรา (Mudra) เป็น กนะนามุทรา (Gnana Mudra ) หรือ จนะนามุทรา (Jnana Mudra) หรือ จานามุทรา (Jana Mudra) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และ ภูมิปัญญา ...บางครั้งมือนี้อยู่ในท่า อับบายะมุทรา (Abhaya Mudra) นี้ยังเป็นท่าของการตั้งใจให้ศีลให้พรอีกด้วย
- ในลักษณะการประทับนั่งอยู่ภายใต้ต้นไทร มีนัยยะว่าพระองค์ทรงมีพระมหาบารมี มีความรู้ความสามารถที่ยิ่งใหญ่แผ่ไพศาล เป็นที่พึ่งให้กับมหาชน ดุจร่มเงาของต้นไทร
- หลุมในหูของของเทวรูป หรือรูปปั้นนี้ที่ขยายเป็นรูใหญ่ เป็นการแสดงถึงการรับรู้ ได้ยิน รับฟัง ที่ยอดเยี่ยม
มหาโยคีทักษิณามูรติ (Maha Yogi Dakshinamurthy) ถือเป็นภาคหรือปางที่ใหญ่ที่สุด อยู่ในภาคของโยคี (yogi) หรือ มหาฤๅษี บรมครูสูงสุดแห่งปัญญาและการทำสมาธิ ทั้งนามธรรมและรูปธรรม ที่เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ เป็นแบบแผน เต็มไปด้วย ความสุข ความสงบ ความสำเร็จที่เต็มล้นของทุกๆความสุขสูงสุด
ในภาคนี้จะมี 3 ปางใหญ่ๆ ปางที่โดดเด่นรองลงมา ได้แก่
- มหาวีนาถระทักษิณามูรติ Maha Veenadhara Dakshinamurthy ( ทรงถือพิณ{Veena} )
- มหาริชาบาโรดาทักษิณามูรติ Maha Rishabharooda Dakshinamurthy ( ทรงประทับนั่งอยู่บนหลังพระโค{Rishabha} )

อาจารย์ Maharshi Kardamshankara Jnanadeva ผู้เชี่ยวชาญด้านพระเวท และศาสตร์ด้านการพยากรณ์ ได้กล่าวว่า มหาโยคีทักษิณามูรติ (Maha Yogi Dakshinamurthy) นั้นหมายถึง พลังมหาอำนาจที่เป็นนามธรรม หรือ ที่มีความเที่ยงแท้แน่นอน ซึ่งจะคล้ายๆกับการตรัสรู้ของ พุทธะ ที่แสดงถึงการหยั่งรู้ในทุกสรรพสิ่งทั้ง 3 โลก โดยที่คนปกติธรรมดาทั่วไปไม่สามารถที่จะรู้ได้

ศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ศาลหลักเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

หลวงพ่อดำ วัดพุนพินใต้

หลวงพ่อดำ วัดพุนพินใต้ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560

ตำนานฉลองพระองค์สำหรับพระบรมศพ

ตำนานฉลองพระองค์สำหรับพระบรมศพ

ที่มา https://www.facebook.com/thaihistorytalk/


เมื่อเช้าได้พบเห็นคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับฉลองพระองค์สำหรับพระบรมศพ จึงขอนำมาตอบ ณ ที่นี้เพื่อไขความใคร่รู้ของหลายๆ ท่าน และประเทืองปัญญาให้งอกงามออกไป

ธรรมเนียมการแต่งองค์พระบรมศพพระมหากษัตริย์ก่อนถวายสุกำเพื่อเชิญลงพระลองเงินนั้น มีมาอย่างยาวนาน แม้จะเป็นการภายในของเจ้าพนักงาน แต่ก็มีการบันทึกไว้ในพระราชพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุทุกสมัย

ในอดีต น่าจะตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงพระบรมศพรัชกาลที่ 6 เมื่อจะถวายสุกำพระบรมศพ พระบรมศพจะได้รับการแต่งพระองค์อย่างพระจักรพรรดิราช ทรงเครื่องใหญ่ดังพระพุทธรูปทรงเครื่อง เพื่อแสดงถึงสภาวะที่เปลี่ยนไป จากร่างมนุษย์สู่ความเป็นเทพเจ้าดังเดิม

ข้อมูลที่ละเอียดที่สุดเกี่ยวกับการแต่งองค์พระบรมศพ อยู่ในบันทึกการพระบรมศพรัชกาลที่ 2 แสดงให้เห็นว่า เริ่มด้วยการทรงพระภูษา (ผ้านุ่ง) ซ้อนกันหลายชั้น กลับหน้ากลับหลัง แล้วทรงสะพัก (ผ้าสไบ) เสื้อครุย ทรงพระสังวาลย์ต่างๆ ทรงทับทรวง พาหุรัด ทรงถุงมือและถุงเท้าตาดทอง พระธำมรงค์ (แหวน) ทั้งสิบนิ้ว และใส่ในพระโอษฐ์ เมื่อเสร็จแล้วก็นำแผ่นทองคำจำหลักลายรูปหน้าคนที่สงบนิ่ง ไม่ไหวติงอันใดปิดพระพักตร์ ถึงขั้นตอนนี้ พระบรมศพจะมีสภาพดังพระจักรพรรดิราชในอุดมคติ โดยมองไม่เห็นพระตจะ (ผิวหนัง) เลย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงการเปลี่ยนสภาวะกลับสู่ทิพยภาวะอย่างแท้จริง บางพื้นที่จะแปะแผ่นทองคำทั้งพระองค์ เช่น ในราชสำนักพม่า

เมื่อแต่งพระองค์เสร็จแล้ว เชิญพระบรมศพขึ้นนั่ง นำไม้กาจับหลักค้ำคาง บางท่านเรียกว่าพระปทุมปัตนิการ ให้เชิญพระหนุ (คาง) ไว้บนไม้นั้น ดัดพระบรมศพให้อยู่ในท่านั่งงอเข่าพนมมือ (++ไม่มีเสียบร่างเสียบทวารตามคำร่ำลือแน่นอน++) มัดพระบรมศพในท่านั่งให้แน่น นำซองพระศรีบรรจุดอกไม้ธูปเทียนไว้ในพระหัตถ์ สำหรับนำไปสักการะพระจุฬามณี แล้วรวบชายผ้าห่อพระบรมศพขึ้น เชิญลงพระลองเงิน ถวายพระมาลาสุกำเป็นอย่างสุดท้าย หากเป็นพระมหากษัตริย์ มาลาสุกำจะเป็นพระชฎาห้ายอด ที่สร้างไว้สำหรับรัชกาลนั้นๆ ถวายสวมแล้วก็รวบผ้าขมวดปม ปิดฝา ยาขี้ผึ้ง ยกเชิญขึ้นบนพระแท่นประกอบพระโกศต่อไป

ก่อนออกพระเมรุมาศ เจ้าพนักงานจะเปลื้องสุกำพระบรมศพ ถอดเอาเครื่องทองต่างๆ รวมทั้งพระชฎาที่ถวายไว้ออกไป เพื่อนำไปยุบหลอมเป็นพระพุทธรูป อุทิศถวาย

พอถึงครั้งพระบรมศพรัชกาลที่ 7 นั้น มิได้ถวายเครื่องทรงดังนี้ เพราะเสด็จสวรรคต ณ ประเทศอังกฤษ และทรงไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทรงระบุเพียงให้นุ่งโจง และสวมเสื้อถวาย เมื่อจะเชิญลงหีบพระบรมศพเท่านั้น

ส่วนพระบรมศพรัชกาลที่ 8 พระบรมศพถูกเชิญลงพระลองเงิน แต่ครั้งนั้นทรงชุดสากลสีขาว ตามธรรมเนียมในยุคคณะราษฎร

ส่วนพระบรมศพรัชกาลที่ 9 นั้น ข้อมูลที่มีในปัจจุบันคือ ประดิษฐานในหีบพระบรมศพ โดยเมื่อจะเชิญพระบรมศพลงหีบนั้น ได้ถวายซองพระศรี แผ่นทองคำปิดพระพักตร์ และวางพระชฎาห้ายอดข้างพระเศียร ทั้งหมดนี้ส่งคืนเจ้าพนักงานแต่แรก มิได้บรรจุลงไปในหีบด้วย

จากข้อมูลดังกล่าว แม้ยังไม่มีข้อมูลจากจดหมายเหตุพระราชพิธีพระบรมศพ เนื่องจากพระราชพิธียังไม่เสร็จสิ้น แต่พอจะอนุมานถึงการแต่งพระองค์ได้ว่า น่าจะมีความต่างออกไปจากพระราชประเพณีโบราณ สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทั้งตัวพิธีกรรม และมโนทัศน์ในการพระบรมศพตลอดช่วงหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมา

ภาพ: พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ พระเจ้ากรุงกัมพูชา เมื่อถวายสุกำ

สิ่งดีๆปกป้องโดยคนโง่

สิ่งดีๆที่ปกป้องโดยคนโง่ สิ่งนั้นก็จะถูกทำลายโดยคนโง่ๆ ด้วยวิธีการปกป้องที่มันคิดว่าดี รักชาติแต่ไม่เคารพกฏหมาย ศรัทธาพระพุทธศาสนา แต่ไม่ทำตามพระธรรมวินัย ... รักและศรัทธาแบบไหนกัน

คำว่าไม่เป็นไรหรอก สร้างความฉิบหายมาเท่าไหร่ ทั้งกับประเทศชาติและพุทธศาสนา ถึงเวลาหรือยังที่เราจะช่วยกันเคารพกฏหมาย เคารพหลักคำสอนของพุทธศาสนา ด้วยการช่วยกันปฏิบัติตามและไม่ยินดี ไม่สนับสนุนประชาชนที่ละเมิดกฏหมาย รวมถึงสาวกที่ผิดพระธรรมวินัย อย่าทำสิ่งผิดโดยความคุ้นชินจนคนรุ่นต่อไปเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องปกติ

บุญเหมือนข้าวเปลือกพันธุ์ดี ถ้าหว่านลงในนาที่แห้งแล้ง รกร้าง มีหรือจะงอกงามขึ้นมาได้ สิ่งดีๆใดๆ ถ้าร่วมกระทำกับคนเลว มีหรือจะได้ดีจริงๆโดยบริสุทธิ์บอกได้แค่นี้แหละ ยุคกระเบื้องเฟื่องฟูลอย น้ำเต้าน้อยถอยจม ผู้ดีเดินตรอก ขี้ครอกเดินถนน นักปราชญ์ราชครูเข้าอยู่ป่า คนชั่วช้าขึ้นครองเมือง

บุญ ... ใครๆก็ทำได้
ละบาป ... คนชั่วทำไม่ได้

การเขียนอะไรยาวๆ เป็นการคัดกรองคนได้ระดับหนึ่ง คนที่อ่านถึงตรงนี้ คือคนที่มีคุณภาพระดับหนึ่ง เชื่อผมเถอะครับ เคารพกฏหมาย ยึดพระธรรมวินัยเป็นที่ตั้ง แล้วประเทศชาติ และพุทธศาสนา จะมั่นคงไปตลอดกาล ไม่ต้องอ้างว่าคนต่างชาติ ต่างศาสนา ทำลายพุทธศาสนาหรอกครับ ถ้าสาวกของพระพุทธองค์ส่วนใหญ่กระทำการจังไรกันอยุ่แบบนี้ ... ปล่อยไปเฉยๆ เดี๋ยวก็ฉิบหายไปเอง

วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560

เครื่องจักรไอน้ำเก่า ยี่ห้อ Marshall, Sons & Co

ที่วัดเขียน บางแก้ว จังหวัดพัทลุง ผมเจอซากเครื่องจักรไอน้ำเก่า ยี่ห้อ Marshall, Sons & Co. ปี 1901 เจ้าตัวนี้ผมพยายามหาข้อมูลเพื่อหารูปสมัยที่ยังสมบูรณ์อยู่ แต่ก็หาไม่ได้ ที่เจอในกูเกิ้ล ก็เป็นปีหลังๆ ลองเข้าไปดูตามลิงค์นี้นะครับ

https://www.google.co.th/search?q=marshall+1901+gainsborough&tbm=isch&tbs=rimg:Cb_1ZvhI4nLipIjgxCFFuEKh9SiStDbBWaf7yfW8Yh_1C_1ao3QCqTs_1_1C69sSb_1zPbeBnp2AUf_1dS6s6uC_1-kdqjQAWSoSCTEIUW4QqH1KEdZD8BMR4BHSKhIJJK0NsFZp_1vIR1qCkfd5aCiAqEgl9bxiH8L9qjRH4UooUM8AjuioSCdAKpOz_18Lr2EVml_1t-YOgZbKhIJxJv_1M9t4GekRbhorOJhtTgAqEgnYBR_191LqzqxFpFiuFCedEvioSCYL_16R2qNABZEfhSihQzwCO6&tbo=u&sa=X&ved=0ahUKEwisyeLByZTWAhVBYo8KHXNPB5kQ9C8IHw&biw=1252&bih=604&dpr=1.09#imgrc=MQhRbhCofUoMhM:

วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560

พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6

พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 สวนสราญรมย์ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พระอรหันต์ 108 วัดแก้วประเสริฐ จังหวัดชุมพร

พระอรหันต์ 108 วัดแก้วประเสริฐ จังหวัดชุมพร

สถานีนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สถานีนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี




สถานีบ้านนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

สถานีบ้านนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี





พระร่วงหลังรางปืน วัดพระธาตุดอยสุเทพ 2515

พระร่วงหลังรางปืน วัดพระธาตุดอยสุเทพ 2515

รุ่นนี้ พระเกจิ 108 รูป อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง, หลวงพ่อเกษม เขมโก, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, อาจารย์นำ แก้วจันทร์และ อาจารย์ชุม ไชยคีรี เป็นเจ้าพิธีฝ่ายฆราวาส


พระร่วงหลังรางปืน วัดพระธาตุดอยสุเทพ


http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdPVEEwTURRMU9RPT0%3D§ionid=TURNd053PT0%3D&day=TWpBeE5pMHdOQzB3TkE9PQ%3D%3D


พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์

ผู้นิยมสะสมพระกรุเก่าทั้งหลาย ลองฟังทางนี้ การจะไขว่คว้าหาของล้ำค่าและค่านิยมสูงๆ นั้น บางครั้งก็ยากยิ่งนัก ของดีๆ มีน้อยมักถูกเก็บเข้ากรุเข้ารังใหญ่ๆ หมด ยิ่งถ้า เสียเงินเสียทองไปแล้วได้ของเก๊มาครอบครอง ยิ่งช้ำใจเข้าไปใหญ่ ... ลองเปิดใจดู "พระใหม่" พุทธคุณเทียบเทียม รู้ที่ไปที่มาแน่นอน อีกทั้งสนนราคาก็อยู่ในเกณฑ์ที่เช่าหาได้แบบกระเป๋าไม่แบน และ "ห้อยคอแบบไม่อายใคร" อย่างเช่น "พระร่วงหลังรางปืน ปี 2515 วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่" กันดูที

พระร่วงหลังรางปืน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองเก่า ชะเลียง อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย นับเป็นพระยอดขุนพลกรุเก่า ยอดนิยม ที่มีพุทธลักษณะอ่อนช้อยงดงาม แฝงด้วยความเข้มขลังและสง่างาม กับพุทธคุณทางแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีเป็นเลิศปรากฏเป็นที่ร่ำลือ พร้อมเอกลักษณ์ประจำองค์พระที่มีด้านหลังเป็น "หลังรางปืน" ได้รับสมญาว่า "จักรพรรดิแห่งพระเนื้อชิน" ที่ใครๆ ก็ใฝ่ฝันอยากได้มาครอบครอง

นอกจากนี้ ยังทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นพระพุทธศิลปะแบบเขมรยุคบายน มี อายุในราวปี ค.ศ.13 สมัยที่ขอม เรืองอำนาจและเข้าปกครองพื้นที่ บริเวณนี้ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพระพิมพ์ที่ "ขอม" เป็นผู้สร้าง

แต่ด้วยความที่พระมีจำนวนน้อยมากๆ ทำให้สนนราคาเช่าหาจัดได้ว่าสูงที่สุดสำหรับพระพิมพ์ประเภทเดียวกัน และยังหาพระแท้ได้ยากยิ่ง ด้วยผู้ที่มีไว้ครอบครองไม่ว่าจะเป็นองค์ที่สมบูรณ์หรือชำรุดก็ตามก็ต่างหวงแหนยิ่งนัก จึงเป็นธรรมเนียมที่มีผู้ฉวยโอกาสสร้าง ของเทียมขึ้นมาสร้างมูลค่า การพิจารณาพระแท้จึงเป็นสิ่งที่ผู้รักชอบที่จะสะสมพระต้องขวนขวายศึกษา เพื่อให้ได้ของแท้มาครอบครอง ซึ่งบางครั้งก็ตกม้าตายได้เช่นกัน

ด้วยความทรงคุณค่า เป็นที่ใฝ่หา แต่หายากยิ่งนี้ จึงมีหลายสำนักได้มีการจำลองรูปแบบ "พระร่วงหลังรางปืน" มาจัดสร้างขึ้นในยุคหลังหลายรุ่น ซึ่งโดยส่วนใหญ่ล้วนได้รับความนิยม ยิ่งถ้าจัดพิธีปลุกเสกที่ยิ่งใหญ่ มีพระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงพุทธาคมร่วมอธิษฐานจิต และมีประสบการณ์เข้มขลังเป็นที่ปรากฏให้เห็นเป็น "รูปธรรม" แล้ว ยิ่งสร้างค่านิยมให้สูงขึ้น และหนึ่งในพระร่วงหลังรางปืนที่จัดว่า เป็น "ของดีน่าเก็บ" ก็คือ "พระร่วงหลังรางปืน ปี 2515 วัดพระธาตุดอยสุเทพ"

พระร่วงหลังรางปืน ปี 2515 วัดพระธาตุดอยสุเทพ นี้ พิมพ์ด้านหน้าจะมีพุทธลักษณะเช่นเดียวกับ "พระร่วงหลังรางปืน" ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "พระร่วงหลังรางปืนย้อนยุค" ลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง พระประธานประทับยืน แสดงปางประทานพร พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับพระอุระ พระกรซ้ายทอดลงขนานกับลำพระองค์แบบหงายฝ่าพระหัตถ์ออกด้านหน้า ภายในซุ้มเรือนแก้ว ครองเครื่องจีวรห่มคลุมพลิ้วบาง ขนานกับองค์พระตกลงมาเบื้องล่าง

พระพักตร์ค่อนข้างเคร่งขรึม ปรากฏรายละเอียดชัดเจน สวมศิราภรณ์ อันได้แก่ กระบังหน้า และมงกุฎรูปกรวยที่เรียกว่า "หมวกชีโบ" นุ่งสบง คาดด้วยรัดประคดแบบศิลปะเขมรแบบ บายน ส่วนพิมพ์ด้านหลังมีการจัดสร้างเป็น 2 พิมพ์ คือ "พิมพ์หลังเจดีย์นูน" และ "พิมพ์หลังเจดีย์จม" บ้างก็เรียกว่า "พิมพ์พระธาตุลอย" กับ "พิมพ์พระธาตุ"

ประการสำคัญที่ต้องกล่าวถึง คือ พิธีพุทธาภิเษกที่จัดอย่าง ยิ่งใหญ่ ณ วัดพระธาตุดอยสุเทพ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2515 โดย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธี ทั้งยังได้สุดยอดพระเกจิคณาจารย์แห่งยุค ทั้งภาคเหนือ, ภาคกลาง และ ภาคใต้ รวม 108 รูป ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ, หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม จ.ชัยนาท, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, หลวงพ่อเกษม เขมโก จ.ลำปาง, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, ครูบาคำแสน อินทจักโก วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่, ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล จ.เชียงใหม่, ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย จ.ลำพูน, พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา จ.พัทลุง ฯลฯ

นอกจากนี้ อาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์สำนักเขาอ้อสายตรง ผู้เข้มขลัง มาเป็นเจ้าพิธีฝ่ายฆราวาส จึงนับเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด พิธีหนึ่งของไทยในยุคนั้นทีเดียว

ดูจากพุทธศิลปะและพุทธลักษณะ รวมทั้งรายชื่อพระเกจิคณาจารย์ที่มาร่วมพลังอธิษฐานแล้ว ถ้าไม่ติดว่า "พระเก่า-พระใหม่" ก็น่าจะการันตีได้ถึงความเข้มขลังทางพุทธคุณ ที่เรียกได้ว่า "ห้อยคอได้ไม่อายใคร"

สนนราคาเช่าหาก็สบายๆ ของทำเทียมก็ไม่ค่อยมี สบายใจกว่ากันเยอะครับผม

บัณเฑาะว์

บัณเฑาะว์ เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองจากอินเดีย มีลักษณะหัวและท้ายใหญ่ ตรงกลางคอด ขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ใช้เชือกผูกกับลูกตุ้ม กลองชนิดนี้ไม่ใช้ตีด้วยไม้ด้วยมือ แต่ใช้มือถือพลิกข้อมือกลับไปกลับมา ให้ลูกตุ้มที่ปลายเชือกกระทบหนังหน้ากลองทั้งสองด้าน

ชื่อบัณเฑาะว์ มาจากคำบาลีว่า "ปณวะ" ในอินเดียเรียกว่า "ฑมรุ" (อักษรเทวนาครี डमरू; ḍamaru) เป็นเครื่องดนตรีที่พบเห็นในหัตถ์ขวาของพระศิวะ

ในประเทศไทย บัณเฑาะว์ใช้เป็นเครื่องให้จังหวะในการบรรเลงประกอบ "ขับไม้" ในงานพระราชพิธี เช่น ขับกล่อมสมโภชพระมหาเศวตฉัตร สมโภชพระยาช้างเผือกและช้างสำคัญ เรียกว่า "ขับไม้บัณเฑาะว์" โดยอาจใช้บัณเฑาะว์ลูกเดียว หรือใช้บัณเฑาะว์ 2 ลูก ไกวพร้อมกันทั้งสองมือ

พระยาพัทลุง (ขุน) หรือ ขุนคางเหล็ก

พระยาพัทลุง (ขุน) หรือ ขุนคางเหล็ก (เกิด พ.ศ. 2277)


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เป็นบุตรชายของพระยาราชบังสัน (ตะตา) บุตรชายของพระยาพัทลุง (ฮุเซน) บุตรสุลต่านสุลัยมาน เกิดและเติบโตในกรุงศรีอยุธยา จึงพูดภาษาปักษ์ใต้ไม่เป็น เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุ 14 ปี ต่อมา เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกได้เข้าถวายตัวช่วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นครั้งแรก ตามเสด็จลงไปปราบก๊กเจ้านครศรีธรรมราช พ.ศ. 2312 ขณะนั้นอายุ 35 ปี จึงได้เป็นพระยาภักดีนุชิต สิทธิสงคราม ผู้ช่วยราชการนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2315 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯให้ไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง ในราชทินนาม พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นเดียวกับบิดา พระยาราชบังสัน (ตะตา) ซึ่งมีราชทินนามว่า พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นกัน ทว่าสร้อยต่างกัน

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560

ตลาดน้ำลำปำ จังหวัดพัทลุง

ตลาดน้ำลำปำ จังหวัดพัทลุง





มนชิต ม้วนชิดหรือกระสุนพระอินทร์

มนชิต ม้วนชิดหรือกระสุนพระอินทร์

คลานอยู่ตามพื้นดิน เวลาตกใจมันจะม้วนกลม ชอบอาศัยตามที่ชื้นๆ กินเศษพืชที่เน่าเปื่อยเป็นอาหาร เจอมากในสวนยางหรือบริเวณที่มีใบไม้ทับถมกันมากๆ




วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2560

วัดเขียน บางแก้ว จังหวัดพัทลุง

วัดเขียน บางแก้ว จังหวัดพัทลุง





"วะงั๊กคิ แบนโดะ" "Wagakki Band"

ผมมีวงดนตรีที่น่าสนใจมาแนะนำครับ ชื่อวง "วะงั๊กคิ แบนโดะ" "Wagakki Band" (和楽器バンド) จากประเทศญี่ปุ่น ผมนอนดูอยู่หลายรายการ ทั้งเพลง และแสดงสด ต้องยอมรับว่าสุดยอดมาก

คำว่า " Wagakki (和楽器)" แปลเป็นไทยได้ว่า "เครื่องดนตรีญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม" หรือเครื่องดนตรีพื้นบ้านของญี่ปุ่นนั่นเอง การแสดงสดก็เยี่ยม รวมทั้งการออกแบบเครื่องแต่งตัวก็มีเอกลักษณ์

ฝีมือสุดยอดทุกคน ทำเพลงออกมาโดยใช้เครื่องดนตรีแบบดั้งเดิมได้อย่างลงตัว บ้านเราหาแนวนี้ฟังยาก เพราะเครื่องดนตรีเก่าๆ บางชนิดมีข้อบังคับเยอะ จนไม่สามารถนำมาพัฒนาไปสู่สากลได้

https://youtu.be/yeywYftt_iE

เพลงที่นำมาให้ลองฟังชื่อเพลง "เซมบงซากุระ" ถ้าใครชอบแนวเพลงแบบนี้ลองติดตามวงดนตรีวงนี้กันดูนะครับ

เพลงรอพี่ที่บ้านนอก / กระแต อาร์สยาม

กระแต อาร์สยาม กับแนวเพลงลูกทุ่งที่ผมชอบ ผมรู้จักชื่อของกระแตมาพร้อมๆกับชื่อคนเรียบเรียงเพลงที่ชื่อ "มาร์ค ใบเตย" ผมไม่รู้จักเขาหรอกครับ แต่ผมเห็นชื่อนี้มานานมาก เพลงที่ผมชอบหลายเพลงเป็นฝีมือเรียบเรียงของคนนี้ โดยเฉพาะเพลงลูกทุ่งของกระแต

อยากจะบอกว่า คนนี้สุดยอดจริงๆ เรียบเรียงเพลงดีๆให้กระแตร้องมาหลายเพลง แนวเพลงเร็ว เพลงช้า ได้หมด เพลงเร็วๆอย่าง เพลง อ.บ.ต บุญมา หรือเพลงช้าอย่างเพลงนี้ เขาก็ทำออกมาได้ดีมากจริง เป็นคนเรียบเรียงดนตรีอีกคน ที่ผมชื่นชอบมากๆ

เพลงดี ดนตรีดี นักร้องดี เพลงจึงออกมาไพเราะน่าฟังจริงๆ ลองฟังกันนะครับ อาจจะชอบเพลงนี้เหมือนผม

เพลงรอพี่ที่บ้านนอก / กระแต อาร์สยาม


https://youtu.be/21TBlaur6DI


"บ้านนอกวันนี้ ไม่เหมือนบ้านนอกวันนั้น
น้องเดินก้มหน้ามางาน ไม่กล้าสบตากับใคร
เบื่อตอบคำถาม ว่าแฟนไปไหน
หรือพี่ไปมีคนใหม่ ถึงไม่กลับมาบ้านเก่า

มาเที่ยวงานวัด หวังว่าจะมาเจอพี่
แต่ค่ำคืนนี้ น้องมีแต่ความหมองเศร้า
เพื่อนจากเมืองหลวง มาร่วมงานบุญบ้านเรา
บอกที่พี่ไม่เหมือนเก่า เพราะไปรักสาวเมืองกรุง"