วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2560

มหาโยคีทักษิณามูรติจากพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์

มหาโยคีทักษิณามูรติจากพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์

ที่มา https://www.facebook.com/profile.php?id=100011062355845


อวตารหนึ่งของพระศิวะในศาสนาฮินดู เพื่อมาเป็นพระบรมครู หรือ กูรู (อาจารย์) ผู้รู้ทุกสรรพสิ่ง ทุกอย่าง ทุกประเภท ของทุกความรู้

ในปางนี้พระอิศวรทรงเสด็จอวตารลงมาเพื่อสั่งสอนให้ความรู้แก่มหาคุรุ หรือ ครูผู้ที่มีความรู้เป็นเลิศและชำนาญในแต่ละด้าน ที่สามารถไปอบรมสั่งสอนให้ความรู้แก่มวลมนุษย์คนอื่นต่อๆไป ให้ได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ที่ดีที่สุด และ เข้าใจในองค์ความรู้เหล่านั้นอย่างละเอียดลึกซึ้ง

แสดงให้เห็นถึงการเป็นบรมครูเหนือกว่าบรมครูทั้งหมดของ พระอิศวร ทั้งเป็นครูของวิชาต่างๆ พระเวท มนต์คาถา โยคะ การบำบัดรักษาโรค ดนตรี นาฏยศาสต์ เพลง ภูมิปัญญาต่างๆ พราหมณ์ นักบวช นักพรต ดาบส มุนีทั้งหลายได้ยกย่องและให้ความเคารพบูชาในฐานะเทพเจ้าแห่งภูมิปัญญา และ การทำสมาธิ ที่สมบูรณ์ขั้นสูงสุด

ตาม พระคัมภีร์ ในสมัยอดีต กุรู หรือ ครู ของมนุษย์ทั้งหลายไม่มีความรู้ความสามารถมากพอที่จะสั่งสอนคนอื่นๆได้ เหล่ากูรูจึงได้พากันสวดอ้อนวอนพระผู้เป็นเจ้า เพื่อให้มาเป็นบรมครูของตน เพื่อที่ตนจะได้นำความรู้เหล่านั้นไปสั่งสอนผู้อื่นต่อๆไปได้

ทักษิณามูรติ แท้จริงหมายถึง "คนที่หันหน้าไปทางทิศใต้ ทักษิณาในภาษาสันสกฤต แปลว่า ภาคใต้ เป็นทิศทางแห่งความตาย

ในทุกวัดหรือศาสนสถานที่มี พระศิวะ ปางมหาโยคีทักษิณามูรติ ไม่ว่าจะเป็นภาพ หินแกะสลัก หรือรูปปั้น จะมีการติดตั้งให้หันหน้าไปทางทิศใต้ หันไปทางภาคใต้ บางทีอาจจะเป็น เทพเจ้า ของฮินดูซึ่งเป็นเพียงพระองค์เดียวที่นั่งหันหน้าไปทางทิศใต้

อาจารย์ Ramana Maharshi ผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีและเทววิทยา ได้กล่าวในจดหมายเหตุ อีกหนึ่งความหมาย ของ Dakshina คือ อยู่ในหัวใจอยู่ทางด้านขวาของร่างกาย ส่วนคำว่า Amurthy หมายถึง ผู้เป็นเลิศที่มีความรู้ชั้นเลิศ ทักษิณามูรติ "Dakshinamurthy" ในภาษาสันสกฤต จึงหมายถึง "มหาเทพผู้เป็นใหญ่ตั้งอยู่บนฝั่งขวา" หรือ สถิตในทางเบื้องขวาของความคิดและสติปัญญาของมนุษย์ ส่วนการที่พระองค์หันหน้าไปทางทิศใต้ มีนัยยะที่สื่อถึงการตรัสรู้ รอบรู้ มีความรู้ในทุกๆด้าน และพระองค์หยั่งรู้ทุกสรรพสิ่งเหนือความตาย หรือได้ก้าวพ้นความตายแล้ว

รูปแบบที่ถูกต้องตามเทวปกรณ์ในคัมภีร์พระเวท สำหรับการสร้างรูปเคารพ และ ภาพวาด พระอิศวร ปางมหาโยคีทักษิณามูรติ ในศิลปะอินเดียแบบโบราณส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะของ มหาโยคี หรือ มหาฤๅษี ในแง่ของพระองค์ที่เป็นมหาโยคีทักษิณามูรติ (Maha Yogi Dakshinamurti) พระอิศวรก็จะทรงแสดงให้เห็นโดยทั่วไปที่มีพระกร สี่พระกร หรือ สี่แขน พระองค์ทรงประทับนั่งอยู่ภายใต้ต้นไทร หันหน้าไปทางทิศใต้ พระอิศวร ทรงประทับนั่งอยู่บนพระบัลลังก์ และล้อมรอบด้วยปราชญ์ที่มีความรอบรู้ ชำนาญรอบด้าน ที่ได้รับการอบรมสั่งสอน ได้รับความรู้วิชาต่างๆจากการเรียนการสอนของพระองค์ทั้งสี่ทิศ

- ลักษณะท่าประทับนั่ง จะแสดงเป็นท่านั่งที่เท้าขวาของพระองค์เหยียบอสูร (apasmara) ตามตำนาน (อสูรซึ่งตามตำนานในพระเวทที่เป็นตัวตนของความไม่รู้ ซึ่งเป็นตัวแทนของอวิชชา เมื่ออวิชชาถูก เหยียบไม่ให้โผล่ขึ้นมาบดบังความจริง ความรู้แจ้ง {วิชชา} ก็จะปรากฏขึ้นนั่นเอง)
- และ เท้าซ้ายของพระองค์ทรงพับยกขึ้นวางอยู่บนตักของพระองค์ แสดงถึงความสุขอันเป็นที่สุดของการรู้แจ้ง มีปัญญาล้ำเลิศ
- บางภาพจะมีสัตว์ป่านาๆชนิด เป็นภาพที่สรรพสัตว์ล้อมรอบ พระอิศวร
- พระหัตถ์ขวาด้านบน ทรงถือกลองรูปร่างคล้ายๆ นาฬิกาทราย (เอวคอด) พันด้วยงู กลองเล็กๆ ใบนี้ให้จังหวะประกอบการฟ้อนรำของพระศิวะ มีนัยยะในการสร้างสรรสิ่งใหม่ๆ ให้ดำเนินไปข้างหน้าตามจังหวะชีวิต และที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เสียงกลองเป็นสัญลักษณ์แทนโลกธาตุแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในจักรวาล นั่นคือ กลองเป็นสัญลักษณ์แห่งการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ทั้งหมดทั้งมวล
- พระหัตถ์ซ้ายด้านบน ถือ พระตรีศูล อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการทำลายล้าง โดยคำว่า ทำลายล้าง ในที่นี้ หมายถึง ล้างความชั่ว ล้างอวิชชา ล้างความเขลา ความไม่รู้ ให้หมดไป เพื่อเปิดทางการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ พระกรและพระหัตถ์คู่ซ้าย-ขวา ซึ่งแทนการสร้างสรรค์และการทำลายล้างนี้ กางออกไปในระดับเสมอกัน อันบ่งบอกถึงความหมายที่ว่า "มีสลาย ก็ย่อมมีการสร้างขึ้นใหม่ได้" นั่นเอง
- พระหัตถ์ขวาด้านล่างแบออก เรียกว่า ปางอภัย (abhaya Mudra) ซึ่งมีความหมายว่า "จงอย่าได้กลัวเลย" (do not fear) เพราะไม่มีภัยใดๆ จะมากล้ำกลาย ท่านี้บ่งว่า พระศิวะ เป็นผู้ปกป้องอีกด้วย
- พระหัตถ์ซ้ายด้านล่างทรงถือ พระคัมภีร์ นี้บ่งถึงการหลุดพ้นจากความเขลา ความไม่รู้ทั้งปวง พระเวท คือศาสตร์ วิชาความรู้ต่างๆอันสูงสุด เปรียบเสมือนพระองค์ทรงมีวิชาความรู้ต่างๆที่มากมี และมากมายมหาศาล
เพิ่มเติม ลักษณะนิ้วชี้ของมือข้างขวาของพระองค์จะงอและสัมผัสปลายนิ้วหัวแม่มือ อีกสามนิ้วจะถูกยืดออกจากกัน หรือ ทรงแสดงสัญญาณมือ หรือ สัญลักษณ์มุทรา (Mudra) เป็น กนะนามุทรา (Gnana Mudra ) หรือ จนะนามุทรา (Jnana Mudra) หรือ จานามุทรา (Jana Mudra) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และ ภูมิปัญญา ...บางครั้งมือนี้อยู่ในท่า อับบายะมุทรา (Abhaya Mudra) นี้ยังเป็นท่าของการตั้งใจให้ศีลให้พรอีกด้วย
- ในลักษณะการประทับนั่งอยู่ภายใต้ต้นไทร มีนัยยะว่าพระองค์ทรงมีพระมหาบารมี มีความรู้ความสามารถที่ยิ่งใหญ่แผ่ไพศาล เป็นที่พึ่งให้กับมหาชน ดุจร่มเงาของต้นไทร
- หลุมในหูของของเทวรูป หรือรูปปั้นนี้ที่ขยายเป็นรูใหญ่ เป็นการแสดงถึงการรับรู้ ได้ยิน รับฟัง ที่ยอดเยี่ยม
มหาโยคีทักษิณามูรติ (Maha Yogi Dakshinamurthy) ถือเป็นภาคหรือปางที่ใหญ่ที่สุด อยู่ในภาคของโยคี (yogi) หรือ มหาฤๅษี บรมครูสูงสุดแห่งปัญญาและการทำสมาธิ ทั้งนามธรรมและรูปธรรม ที่เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ เป็นแบบแผน เต็มไปด้วย ความสุข ความสงบ ความสำเร็จที่เต็มล้นของทุกๆความสุขสูงสุด
ในภาคนี้จะมี 3 ปางใหญ่ๆ ปางที่โดดเด่นรองลงมา ได้แก่
- มหาวีนาถระทักษิณามูรติ Maha Veenadhara Dakshinamurthy ( ทรงถือพิณ{Veena} )
- มหาริชาบาโรดาทักษิณามูรติ Maha Rishabharooda Dakshinamurthy ( ทรงประทับนั่งอยู่บนหลังพระโค{Rishabha} )

อาจารย์ Maharshi Kardamshankara Jnanadeva ผู้เชี่ยวชาญด้านพระเวท และศาสตร์ด้านการพยากรณ์ ได้กล่าวว่า มหาโยคีทักษิณามูรติ (Maha Yogi Dakshinamurthy) นั้นหมายถึง พลังมหาอำนาจที่เป็นนามธรรม หรือ ที่มีความเที่ยงแท้แน่นอน ซึ่งจะคล้ายๆกับการตรัสรู้ของ พุทธะ ที่แสดงถึงการหยั่งรู้ในทุกสรรพสิ่งทั้ง 3 โลก โดยที่คนปกติธรรมดาทั่วไปไม่สามารถที่จะรู้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น