วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พระธาตุนาดูน

พระธาตุนาดูน


พระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ที่มา http://www.oceansmile.com/E/Mahasarakam/PhatadNadun.htm

บริเวณที่ตั้งขององค์พระธาตุนาดูน แต่เดิมเป็นที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรหมู่บ้านนาดูน อันเป็นที่ตั้งเดิมของเมืองโบราณนครจำปาศรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีการขุดพบสถูบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวสารหักสีขาวขุ่น คล้ายแก้วมุกดา ซึ่งบรรจุในผอบซ้อนกันสามชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลางเป็นเงิน และชั้นนอกเป็นสำริด รวมถึงพระพุทธรูป พระพิมพ์ลายหลายแบบจำนวนมาก เมื่อกรมศิลปากรมาสำรวจพบว่า บริเวณนี้เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ นครจัมปาศรี ซึ่งมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-15

ต่อมาจึงได้สร้างองค์พระธาตุนาดูนขึ้นในบริเวณที่ขุดพบสถูป องค์พระธาตุมีความสูง 50.50 เมตร ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2530 เป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นเพื่อสิริมงคลแก่ภูมิภาค พื้นที่โดยรอบได้ถูกพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางส่งเสิรมกิจการพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเรียกขานว่าเป็น “พุทธมณฑลอีสาน” รอบองค์พระธาตุมีบริเวณกว้างขวาง จัดแต่งเป็นสวนรุกขชาติ ปลูกต้นไม้ในพุทธประวัติ นับเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาคู่บ้านคู่เมืองของชาวมหาสารคาม

รูปลักษณะพระธาตุนาดูน จำลองแบบจากสถูปสำริดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ฐานประยุกต์แบบศิลปทวาราวดี ฐานกว้าง 35.70 * 35.70 เมตร มีความสูงจากฐานถึงยอด 50.50 เมตร ฐานรากและโครงสร้างทั่วไปเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทั้งหมด ผนังภายนอกพระธาตุส่วนใหญ่ทำด้วยหินล้างเบอร์ 4 บางแห่งฉาบปูนเรียบสีขาว มีลวดลายลวดบัว เสาบัวต่าง ๆ จำลองแบบ พระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ ที่ขุดพบมาประดิษฐานพระธาตุจำนวน 32 รูป และมีมารแบกปั้นเป็นแบบนูนสูงประดับที่ฐาน จำนวน 40 ตัว ตัวองค์พระธาตุจะแบ่งออกเป็น 16 ชั้น ลักษณะการก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด ภายในโปร่ง จากฐานรากขึ้นไปชั้นที่ 1 สูง 3.7 เมตร

ชั้นที่ 1 คือฐานรากมีจำนวนฐานททั้งหมด 105 ฐาน มีเสาขึ้นจากฐานทั้งหมด 144 ต้น ส่วนฐานที่เป็นองค์พระธาตุมีลักษณะกลม มีเสาทั้งหมด 16 ต้น ชั้นที่ 1 มีพื้นทางเดินโดยรอบ และมีซุ้มประตูลายปูนปั้น 4 ประตูประจำทิศ ผนังประดับด้วยกระเบื้องด่านเกวียนศิลปะของ ภาคอีสาน พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง

ชั้นที่ 2 สูงจากชั้นที่หนึ่ง 5.00 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 86 ต้น มีพื้นที่โดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเหนือ ทั้ง 4 และพระพุทธรูปประจำซุ้ม 4 องค์ ผนังประกอบด้วยปูนปั้นเป็นรูปเสามีบัวเหนือเสา พื้นปูด้วยกระเบื้องเซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไป ทำด้วยหินล้างและประดับกระเบื้องด่านเกวียน

ชั้นที่ 3 สูงจากชั้นที่สอง 4.80 เมตร โครงสร้างมีเสาทั้งหมด 44 ต้น มีพื้นโดยรอบ สำหรับก่อสร้างเจดีย์องค์เล็กประจำทิศเฉียง 4 องค์ เช่นเดียวกับชั้นที่ 2 พื้นปูด้วยกระเบื้อง เซรามิก 6 เหลี่ยม ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง

ชั้นที่ 4 สูงจากชั้นที่สาม 1.60 เมตร ประกอบด้วยฐาน 8 เหลี่ยม เป็นชั้นเริ่มต้นของ ตัวองค์พระธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 24 ต้น ผนังทั่วไปทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 5 สูงจากชั้นที่สาม 1.00 เมตร ประกอบด้วยฐานบัวกลม โครงสร้างประกอบ ด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น ผิวภายนอกทำด้วยหินล้าง

ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 10มีความสูง 11.00 เมตรเป็นตัวองค์ระฆังของพระธาตุโดยเฉพาะชั้นที่ 8 จะเป็นชั้นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โครงสร้างประกอบด้วยเสาทั้งหมด 16 ต้น จนถึงชั้นที่ 9 ชั้นที่ 10 ลดเหลือเสา 9 ต้น ลักษณะองค์ระฆังภายนอกทำด้วยหินล้างทั้งหมด เป็นชั้นบัลลังก์ ลักษณะโครงสร้างมีเสาทั้งหมด 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้าง
ชั้นที่ 11 ถึงชั้นที่ 14 มีความสูง 4.60 เมตร เป็นชั้นบัลลังก์ประกอบด้วยลักษณะทรงกลมมีลายปูนปั้นเป็นกลีบบัว โครงสร้างประกอบด้วยเสา 5 ต้น ผนังทำด้วยหินล้างทั้งหมด
ชั้นที่14 ถึงชั้นที่ 16 มีความสูง 6.80 เมตร เป็นชั้นปล้องไฉน มีทั้งหมด 6 ปล้อง โครงสร้างประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ปล้องไฉนทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ผิวทำด้วยหินล้าง ชั้นที่ 16 ถึงยอดคือปลียอด มีชั้นปลี ชั้นลูกแก้ว และะชั้นฉัตรยอด โครงสร้าง ประกอบด้วยเสาแกนต้นเดียว ผนังผิวทำด้วย หินล้างโดยรอบ ส่วนฉัตรยอดบุด้วยโมเสกแก้วสีทอง

คำนมัสการพระธาตุนาดูน : อะติเตกิระ จำปาศรีนะคะเร สัมมาสัมพุทธะ สารีริกธาตุ นาตุละมัง นะคะระฐาเนวะ มหาสาระคามัง นะคะระสีมัง ปัจจุปันนัญจะ สิระสานะมามิ (สิระสานะมามะ)

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน

เคยไปจังหวัดน่านมาสามครั้ง แวะที่วัดนี้ทุกครั้ง ครั้งล่าสุดที่ผมได้ไปจังหวัดน่าน มีงานจัดแสดงภาพเก่าของจังหวัดน่านอยู่พอดี เลยถ่ายภาพนี้มาจากภาพถ่ายเก่าครับ


ประวัติวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน

ที่มา http://www.rd.go.th/nan/57.0.html

วัดภูมินทร์ อยู่ใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่านเป็นวัดที่มีลักษณะแปลกกว่าวัดอื่น ๆ คือ โบสถ์และวิหาร สร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน ประตูไม้ทั่งสี่ทิศ แกะสลักลวดลายงดงามโดยฝีมือช่างเมืองน่านนอกจากนี้ฝาผนังแสดงถึงชีวิตและวัฒนธรรมของยุดสมัยที่ผ่านมาตามพงศาวดารของเมืองน่าน วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2319 โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างขึ้น หลังจากขึ้นครองนครน่านได้ 6 ปีปรากฎในคัมภีร์เมืองเหนือว่าเดิมชื่อ "วัดพรหมมินทร์ " ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ ผู้สร้างแต่ตอนหลังชื่อวัดได้เพี้ยนไปจากเดิมเป็นวัดภูมินทร์ดั้งกล่าว

ความสวยแปลกของวัดภูมินทร์ที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทยคือเป็นพระอุโบสถและพระวิหารสร้างเป็นอาคารหลังเดียวกัน เป็นทรงจตุรมุข (กรมศิลปากรได้สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถจตุรมุขหลังแรกของประเทศไทย) นาคสะดุ้งขนาดใหญ่แห่แหนพระอุโบสถเทินไว้บนกลางลำตัวตรงใจกลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่สี่องค์ ประทับนั้งบนฐานชุกชี หันพระพักตร์ออกด้านประตู ทั้งสี่ทิศ เบื้องพระปฤษฎางค์ชนกันภายในพระอุโบสถ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปกรรมไทลื้อ ที่เล่าเรื่องชาดก ตำนานพื้นบ้านและความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต

โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ในอดีต

โรงแรมรถไฟเชียงใหม่ในอดีต


ผมนั่งเปิดหนังสือเก่าๆของปี 2511 เพื่อหาข้อมูลบางอย่าง แต่ต้องมาสะดุดตากับโฆษณาเก่าชิ้นนี้ เป็นภาพวาดโรงแรมรถไฟที่เชียงใหม่ มีบรรยายข้อมูลไว้ว่า

ใกล้สถานีรถไฟและตัวเมือง
บริเวณกว้างขวาง
มีอ่างอาบน้ำทุกห้อง
มีห้องคอกเทล
ห้องโถงสำหรับจัดประชุม
ห้องแต่งผม
ห้องเสริมสวย
บริการซักรีด
บริการนำเที่ยว
บริการรถรับส่งฟรี ระหว่างโรงแรมถึงสถานีรถไฟ และท่าอากาศยาน

อัตรา

ห้องเดี่ยว 70 บาท
ห้องเดี่ยว ปรับอากาศ 100 บาท
ห้องคู่ 120 บาท
ห้องคู่ ปรับอากาศ 150 บาท
ห้องพิเศษปรับอากาศ 300 บาท
บังกาโลว์ 80 บาท

สำรองทางโทรเลขได้จาก นายสถานีรถไฟทุกแห่ง ฟรี
และที่ แผนกประชาสัมพันธ์ กองการโดยสาร อาคารสถานีกรุงเทพ โทร 817010 - 817020

โฆษณาเก่าๆ มีความสวยงาม เรียบง่าย และทำให้เราได้มองเห็นบรรยากาศในสมัยก่อนได้อย่างดี ทั้งเรื่อง ค่าเงิน การใช้ชีวิต และสภาพบ้านเมืองในสมัยนั้น ผมว่าสมัยก่อนหน้านี้เป็นยุคสมัยที่ไม่เร่งรีบมากมายนัก ใช้ชีวิตสบายๆ ไม่ต้องแข่งกับเวลาเหมือนคนในสมัยนี้ เดี๋ยวว่างๆจะลองหาโฆษณาเก่าๆมาให้ชมกันอีกนะครับ ผมว่ามันน่าสนใจดี

วัดพระพายหลวง

วัดพระพายหลวง


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดพระพายหลวง เป็นวัดคณะสงฆ์เถรวาท สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และมีประวัติการก่อสร้างนับตั้งแต่กรุงสุโขทัย เป็นวัดโบราณสถานที่มีพระสงฆ์อยู่อาศัย ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ฝังบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียก "คูแม่โจน" วัดพระพายหลวงนี้เป็นศูนย์กลางของชุมชนในระยะแรกก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย โบราณสถานที่เก่าแก่ที่สุดของวัดคือ พระปรางค์ 3 องค์ ก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะแผนผังและรูปศิลปะเป็นแบบเขมรบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Rebecca Romney ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหนังสือเก่า จาก Pawn Stars

Rebecca Romney ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหนังสือเก่า หายาก จากรายการ Pawn Stars

ผมชอบดูรายการ Pawn Stars มากๆ เป็นรายการที่สนุกและให้สาระความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เรื่องราวเก่าๆ และของเก่าๆได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญในแต่ละตอนจะมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา เข้ามาให้ความรู้และวิเคราะห์ รวมทั้งตีราคาสิ่งของให้กับทีมงาน ซึ่งบางครั้งจะน้อยกว่า หรืออาจจะมากกว่าราคาที่เจ้าของตั้งราคาไว้ ทำให้ผู้ชมได้รับความรู้เพิ่มเติม จากสิ่งของที่เอาเข้ามาจำนำหรือเอามาขายเพิ่มขึ้น

ในตอนล่าสุดที่ผมได้ดู ผมเห็นผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือเก่าที่เป้นผู้หญิงที่เก่งมาก เหมือนกับว่าเธอจะรู้เรื่องหนังสือทุกประเภทในโลกใบนี้ รู้ประวัติเรื่องราวความเป็นมาของหนังสือมากมาย รวมทั้งทำธุระกิจด้านการซื่อขายหนังสือเก่าอยู่ด้วย ทำให้บ่อยครั้งที่เห็น ทางร้านโทรตาม รีเบคก้า ให้มาช่วยดูหนังสือในร้าน

รายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับ รีเบคก้า หาอ่านได้จาก เวบไซท์ของเธอ และหน้าแฟนเพจ ตามรายละเอียดด้านล่างได้เลยครับ และจะรู้ว่า ผู้หญิงที่สวย เก่ง ฉลาด ยังหาได้ในโลกใบนี้

Expert in rare books, manuscripts and documents from the 15th to the 21st centuries, and manager at the Las Vegas Gallery of Bauman Rare Books.

I am Rebecca Romney, the Rare Book Expert on Pawn Stars. AMA. From https://www.reddit.com

I am a rare bookseller based in Las Vegas, where I manage a gallery for Bauman Rare Books. I started appearing in Season 4 of Pawn Stars in 2011 to appraise antique books and occasionally documents for the shop.

I keep up a blog and a Facebook page with interesting facts about books and advice on book collecting:

http://rebeccaromney.com -- verification here https://www.facebook.com/romneyrebecca

Also visit my company's site to see what I really do outside of Pawn Stars: http://www.baumanrarebooks.com/

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ถนนปรีดีพนมยงค์ ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แห่งแรกของไทยที่มีรูปแบบการจัดแสดงแบบใหม่คือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงจำนวนไม่มากจนเกินไปและใช้แสงสีมาทำให้การนำเสนอดูน่าสนใจ

ประวัติ

ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า “ โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษา และตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่”

ด้วยเหตุนี้ กรมศิลปากรจึงได้สร้าง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้น เพื่อเก็บรักษาจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และโบราณวัตถุพบในจังหวัดนี้ โดยใช้เงินเงินบริจาคจากประชาชน และผู้บริจาคได้รับพระพิมพ์ที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นการสมนาคุณ

ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์ และเมื่อสร้างเสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 มีพระราชปรารภกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้นว่า

โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ สมควรจะได้มีพิพิธภัณฑสถานเก็บรักษา และตั้งแสดงให้ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยานี้ หาควรนำไปเก็บรักษา และตั้งแสดง ณ ที่อื่นไม่

กรมศิลปากรจึงได้สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ขึ้นเพื่อเก็บรักษาจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ และโบราณวัตถุพบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาคารก่อสร้างด้วยเงินบริจาคจากประชาชน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ผู้ทรงสร้างพระปรางค์วัดราชบูรณะเป็นนามพิพิธภัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2504

โบราณวัตถุที่สำคัญ อาทิ พระแสงดาบทองคำ ขนาด ยาว 115 ซม. กว้าง 5.5 สมัยอยุธยา ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ พระเต้าทักษิโณทกทองคำ ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.7 ซม. สูง 18.5 ซม. สมัยอยุธยา ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ช้างทรงเครื่องทองคำ ขนาด ยาว 15.5 ซม. สูง 12 ซม. สมัยอยุธยา ได้จากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

นอกจากนี้จัดแสดงในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในแหล่งอนุสรณ์สถาน คือ จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่พบในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจากการขุดแต่งบูรณะโบราณสถาน ซึ่งจัดแสดง 3 อาคาร ซึ่งได้จัดแสดง เครื่องปั้นดินเผา และเครื่องถ้วย เงินตรา จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่พบในประเทศไทยตั้งแต่สมัยทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง อยุธยา รัตนโกสินทร์ เพื่อใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ ฯลฯ

การให้บริการ 1.ให้บริการบรรยายนำชมแก่ สถานศึกษา โรงเรียน สถาบันต่างๆ ทั้งในและนอกสถานที่ 2.ให้บริการจำหน่ายหนังสือ โปสการ์ด สิ่งพิมพ์ และของที่ระลึก เวลาทำการ 9.00-16.30 น. เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

ค่าธรรมเนียม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา ถนนโรจนะ พระนครศรีอยุธยา 13000 โทรศัพท์ : 0-3524-1587 แฟกซ์ 0-3524-4570

วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ปลาพลวงหิน

ปลาพลวงหิน

วันนี้มีเพื่อนสอบถามเรื่องเจ้าปลาตัวนี้เลยไปค้นหาข้อมูล เห็นว่ามีประโยชน์เลยนำมาลงไว้ที่นี่ครับ


ภาพปลาพลวงหิน ผมถ่ายมาจากถ้ำปลาจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ปลาพลวงหิน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาพลวง (อังกฤษ: Mahseer barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Neolissochilus stracheyi) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวยาว ด้านข้างแบน มีเกล็ดขนาดใหญ่ หัวเล็ก มีหนวด 2 คู่ อยู่ปากบนและมุมปาก ครีบหางเว้าเป็นแฉกลึก กระโดงหลังค่อนข้างสูงมีก้านแข็ง 1 อัน ครีบหูมีขนาดเล็ก ครีบท้องและครีบก้นมีขนาดใกล้เคียงกัน ลำตัวมีสีน้ำตาล ปนเขียว สีของปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม บางแหล่งอาจจะมีสีน้ำตาลปนดำเข้ม มีแถบสีคล้ำพาดกลางลำตัวตามยาวไปใกล้โคนหาง ด้านท้องสีจาง ขนาดโดยประมาณ 60 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร

อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่นับ 100 ตัวขึ้นไป ตามแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำใสสะอาด เช่น บริเวณแหล่งน้ำเชิงภูเขา หรือตามลำธารน้ำตกต่าง ๆ ทั่วประเทศ

อาหารได้แก่ เมล็ดพืชต่าง ๆ เป็นปลาใหญ่ที่มักไม่มีใครนำมารับประทาน เนื่องจากทานไปแล้วเกิดอาการมึนเมา จึงเชื่อว่าเป็นปลาเจ้า แต่ความจริงแล้ว ปลาชนิดนี้ได้สะสมพิษจากเมล็ดพืชที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย เช่นเดียวกับกรณีของปลาบ้า (Leptobarbus hoevenii) มีการรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติเพื่อขายส่งเป็นปลาสวยงาม

ปลาพลวงหิน มีชื่อเรียกต่างออกไปตามภาษาถิ่นเช่น ภาคเหนือเรียก "พุง" หรือ "มุง" บางพื้นที่เรียกว่า "จาด" หรือ "โพ" เป็นต้น และมีชื่อเป็นภาษากะเหรี่ยงว่า "ยะโม"

ในประเทศไทยสถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถพบปลาพลวงได้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ น้ำตกตาดหลวง จังหวัดน่าน, น้ำตกพลิ้ว และ น้ำตกลำนารายณ์ จังหวัดจันทบุรี, อุทยานถ้ำปลาและอุทยานถ้ำธารลอด จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พญาสิงหนาทราชาเดิมชื่อ “ ชานกะเล ”

พญาสิงหนาทราชาเดิมชื่อ “ ชานกะเล ”



มีเชื้อสายเป็นคนไตหรือไทใหญ่ เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๖๙ ที่เมืองจ๋าม รัฐฉาน ในประเทศพม่า เมื่อพ.ศ.2399 เกิดเหตุการณ์การสู้รบขึ้นในรัฐฉาน จึงอพยพเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านปางหมู มาอาศัยอยู่กับพะก่าหม่อง ชานกะเลเป็นคนขยัน กล้าหาญ ฉลาด อดทน และซื่อสัตย์ ได้ช่วยพะก่าหม่องทำงานเป็นอย่างดีจนพะก่าหม่องรักใคร่เหมือนบุตร จึงยกบุตรสาวชื่อ “ นางใส ” ให้เป็นภรรยา จากนั้นชานกะเลอพยพครอบครัวไปอยู่ที่บ้านกุ๋นยวม ( อำเภอขุนยวม ) ชาวบ้านเห็นเป็นคนดี มีความสามารถและมีลักษณะเป็นผู้นำจึงยกย่องให้เป็น นายบ้านกุ๋นยวม ต่อมาได้รับการสถาปานาเป็นเจ้าเมืองกุนยวมเป็นคนแรก

และเมื่อนางใสภรรยาเสียชีวิต เจ้าฟ้าโกหล่านเจ้าเมืองหมอกใหม่ได้ยกหลานสาวชื่อ “ นางเมี๊ยะ ” ให้เป็นภรรยา ชานกะเลปกครองเมืองกุ๋นยวมเป็น เวลา 8 ปี ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองมาตลอด โดยทำการค้าขายไม้สักกับบริษัทอังกฤษในประเทศพม่า และนำรายได้ถวายแก่เจ้าเมืองเชียงใหม่ตลอดมา ต่อมาถูกเรียกตัวเข้าเฝ้าและให้อยู่ ณ เมืองเชียงใหม่เป็นเวลา 3 ปีเศษ จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๔๑๗ พระเจ้าอินทรวิชานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่เห็นความสามารถของชานกะเล จึงตั้งให้ชานกะเลเป็นเจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น “ พญาสิงหนาทราชา ” แม่ฮ่องสอนครองเมืองจนถึงปี พ.ศ.๒๔๒๗ รวมเวลาได้ ๑๐ ปี พญาสิงหนาทราชาก็ถึงแก่อสัญกรรม สิริอายุรวมได้ ๕๘ ปี เป็นอนุสาวรีย์เจ้าเมืององค์แรกของจังหวัดแม่ฮ่องสอน สร้างขึ้นเพื่อระลึกที่พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างเมืองแม่ฮ่องสอน สร้างเพื่อเตือนใจให้ลูกหลานในจังหวัดได้รำลึกบุญคุณและเป็นที่เคารพสักการะแก่ประชาชนทั่วไป

หลวงปู่เปี้ยน วัดโพธาราม อู่ทอง สุพรรณบุรี

พระครูสัทธานุสารี(เปี้ยน ชิณปุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม(จรเข้สามพัน)

สืบเนื่องมาจากการที่ได้ฟังเพลง คิดถึงบ้านเกิด ของสังข์ทอง สีใส ซึ่งเป็นเพลงที่ผมชอบมากๆ ฟังหลายเที่ยวจนร้องได้จบทั้งเพลง ทำให้มีความอยากรู้ว่า วัดโพธาราม อู่ทอง อยู่ตรงไหน และอยากไปกราบหลวงปู่เปี้ยนเหมือนในเพลง อีกทั้งช่วงหลังๆมานี้ผมเดินทางผ่านทาง อำเภออู่ทอง ไปอยุธยาอยู่บ่อยๆ ดังนั้นเมื่อมีโอกาสและเวลา ผมจึงได้มากราบหลวงปู่เปี้ยน สมดังที่ตั้งใจไว้ครับ



เกิดเมื่อปีพ.ศ.2397 เป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอจรเข้สามพันรูปแรก(เมื่อก่อนอู่ทองยังไม่ใช่อำเภอ) เหรียญรุ่นแรกสร้างปีพ.ศ.2460 เป็นที่ระลึกสำหรับท่านผู้บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียนธรรมวัดโพธาราม เหรียญรุ่นสองสร้างเปนที่ระลึกได้รับพระครูสัญญาบัตรพระครูสัทธานุสารี พ.ศ.2471

หลวงปู่เปี้ยนมรณะภาพเมื่อปี พ.ศ.2477 รวมอายุ 80 ปี



ประวัติความเป็นมา ตำบลจรเข้สามพัน

ตำบลจรเข้สามพัน เป็นตำบลที่อยู่ในเขตการปกครองของ อ.อู่ทอง ซึ่งประกอบด้วย 14 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัว, หมู่ที่ 2 บ้านวังหลุมพอง, หมู่ที่ 3 บ้านรางโพธิ์, หมู่ที่ 4 บ้านจรเข้สามพัน, หมู่ที่ 5 บ้านจรเข้สามพัน, หมู่ที่ 6 บ้านจรเข้สามพัน, หมู่ที่ 7 บ้านหนองบอน, หมู่ที่ 8 บ้านเขาชานหมาก, หมู่ที่ 9 บ้านรางโพธิ์, หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งยายพัก, หมู่ที่ 11 บ้านเขาวงศ์พาทย์, หมู่ที่ 12 บ้านโพธิ์ทอง, หมู่ที่ 13 บ้านวังทอง, หมู่ที่ 14 บ้านเนินสมบัติ, หมู่ที่ 15 บ้านวังขอน

พื้นที่

ตำบลจรเข้สามพันตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภออู่ทอง ห่างจากอำเภอไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 324 ระยะทาง 8 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 37,540 ไร่ พื้นที่การเกษตร 30,000 ไร่

เขตพื้นที่

ทิศเหนือ ติดกับ อบต.อู่ทอง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
ทิศใต้ ติดกับ เทศบาลต.รางหวาย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี
ทิศตะวันออก ติดกับ อบต.ยุ้งทะลาย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก ติดกับ อบต.หนองประดู่ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี

จระเข้สามพันสืบประวัติได้ตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๔๕ ทางการยกฐานะเป็นอำเภอจระเข้สามพัน ขึ้นต่อเมืองสุพรรณบุรี ต่อมาเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๒ ทางการเปลี่ยนจาก อ.จระเข้สามพัน เป็น อ.อู่ทอง สมเด็จกรมพระยาดำรงฯเสด็จอู่ทองปี ๒๔๔๖ ในหลวงและราชินีเสด็จอู่ทองปี ๒๕๐๙

เพลงคิดถึงบ้านเกิด สังข์ทอง สีใส

สายลมโบกพริ้ว โบกพริ้ว พัดปลิวละล่อง
คิดถึงอู่ทอง ที่เคยนอน หัวใจใหวหวั่น
จากมาหลายปี จากที่จังหวัดสุพรรณ
จรเข้สามพัน ถิ่นนั้น ฉันเคยอยู่มา

ดินแดนถิ่นนี้ ถิ่นนี้ มิมีต้อยต่ำ
วัดโพธาราม ยังจำ สวยงามสง่า
หลวงปู่เปี้ยนดี เป็นที่สักการะบูชา
รู้กันทั่วหน้า หากว่าใคร ไปจรเข้สามพัน

วัดโพธาราม ยังจำมองเห็น
ตอนเด็กวิ่งเล่น ร่มเย็น วิ่งเล่นที่นั่น
หลวงปู่คุ้มครอง ได้เป็นนักร้องสุพรรณ
อยากไปกราบท่าน ไปกราบรูปปั้นอีกที

ขอพรอีกครั้ง ให้โด่งดัง เหมือนเมื่อครั้งก่อน
หลวงปู่ช่วยวอน ขอพรให้ดังอีกที
ช่วยเสกคาถา ให้แฟน เมตตาปราณี
หลวงปู่ช่วยที ช่วยที ... ศิษย์วัดโพธาราม

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เหรียญพระประทานวัดเกาะธรรมประทีป สุราษฎร์ธานี

เหรียญพระประทานวัดเกาะธรรมประทีป สุราษฎร์ธานี


จักสร้างขึ้นเพื่อแจกให้กับผู้มาร่วมงานฉลองพระประธานในพระอุโบสถ ของวัดเกาะธรรมประทีป อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 17 มกราคม 2558 โดยรูปแบบเป็นพระพุทธชินราช ที่เป็นพระประธานในโบสถ์ โดยการจัดสร้างครั้งนี้ได้ขออนุญาตท่านเจ้าอาวาส คือท่านอาจารย์มหาอ้น (พระครูวินัยธรพิชัยศิษฐ์ วิชโย) จัดสร้างเป็นจำนวน 3000 เหรียญ เป็นเนื้อทองแดงทั้งหมด

โดยคณะผู้จัดสร้าง มีนายนภดล มณีวัต นายวุฒิพงษ์ ลุประสิทธิ์ พร้อมคณะ ได้ร่วมทุนกันจัดสร้างถวายวัดเกาะธรรมประทีป โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีจิคศรัทธาได้ร่วมกันบริจาคเงิน ร่วมจัดสร้างพระในครั้งนี้ด้วย


มีการตอกโค๊ด เพื่อเป็นที่สังเกตและป้องกันการปลอมแปลง "อ.๑" ไว้ที่ด้านหน้า บริเวณใต้ฐานพระประธาน

พระพุทธรูปปางปฐมเทศนา หรือ ปางแสดงธรรมจักร



ที่มา พระมหาบุญโฮม ปริปุณฺณสีโล วัดท่าไทร จ.สุราษฎร์ธานี

พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นรูปวงกลม เป็นกิริยาแสดงธรรม พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นประคอง ลางแห่งทำแบบวางพระหัตถ์ซ้ายบนพระเพลาบ้าง ยกขึ้นถือชายจีวรบ้าง ลางแห่งทำแบบนั่งห้อยพระบาทก็มี

“พระพุทธรูปปางนี้ มีตำนานดังนี้” ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงมั่นพระทัยในอันจะแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์แล้ว ก็ทรงรำพึงพิจารณาหาบุคคลผู้สมควรที่พระองค์จะทรงแสดงธรรมโปรดในชั้นต้นทรงมุ่งหาเฉพาะผู้ที่มีอินทรีย์แก่กล้า ควรจะรับพระธรรมเทศนาเท่านั้น ฉะนั้นจึงทรงเลือกสรรในหมู่บรรพชิตก่อน เพราะอนาคาริยบุคคล คือผู้สละเคหสถานตลอดทรัพย์สมบัติออกมาบำเพ็ญพรตอยู่แล้ว เป็นผู้มีกายวิเวก และมีจิตวิเวกเป็นสมุฏฐานอยู่ ควรจะสดับธรรมเพื่อผลเบื้องสูงขึ้นไป จึงทรงระลึกถึง อาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร ซึ่งพระองค์เคยเสด็จไปทรงศึกษาสมาบัติอยู่ในสำนักของท่านอาจารย์ทั้งสองด้วยทรงเห็นว่ามีอุปนิสัยดีสมควรจะได้ธรรมพิเศษ แต่แล้วก็ทรงทราบด้วยพระญาณว่า ดาบสทั้งสองได้สิ้นชีวิตเสียแล้วเมื่อก่อน ๗ วันนี้

ต่อจากนั้นจึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ รูป คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ที่เคยปฏิบัติบำรุงพระองค์เมื่อครั้งทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ครั้นพระองค์ทรงเลิกทุกกรกิริยา ด้วยทรงเห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้ ทรงปฏิบัติในทางจิตตามมัชฌิมาปฏิปทา จึงภิกษุทั้ง ๕ นี้ ไม่เลื่อมใส เห็นว่าพระองค์คลายความเพียร เวียนมาเป็นคนมักมากแล้วไม่มีทางสำเร็จได้จึงได้ชวนกันทอดทิ้งพระองค์ และหนีไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงเห็นว่าปัญจวัคคีย์มีอินทรีย์แก่กล้าสมควรจะได้ธรรมวิเศษแล้ว จึงทรงพระมหากรุณาเสด็จดำเนินจากโพธิมณฑล ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน อันเป็นที่อยู่ของปัญจวัคคีย์ภิกษุในเวลาเย็นของวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๘ ก็เสด็จถึงที่อยู่ของปัญจวัคคีย์ดังพระพุทธประสงค์

ในระยะแรกปัญจวัคคีย์ไม่ยอมเชื่อว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ถึงแก่ใช้วาจาไม่สมควรแย้งพระผู้มีพระภาคว่า เมื่อพระองค์คลายความเพียรเวียนมาเป็นผู้มักมากแล้ว อย่างไรพระองค์จะได้ตรัสรู้ เพราะพระปัญจวัคคีย์ถือมั่นอยู่ในความรู้ความเห็นของตนว่า ทุกกรกิริยาเท่านั้นที่เป็นทางจะให้ผู้ปฏิบัติตรัสรู้ธรรมวิเศษได้

พระพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนปัญจวัคคีย์ ให้หวนระลึกถึงความหลังเมื่อครั้งอยู่ปฏิบัติบำรุงพระองค์อยู่เป็นเวลานานว่า “ปัญจวัคคีย์ เคยได้ยินวาจาที่รับสั่งว่า ได้ตรัสรู้แล้วอยู่บ้างหรือ? แม้วาจาอื่นใดอันไม่เป็นความจริงที่เคยรับสั่งเล่น ยังเคยได้ยินอยู่บ้างหรือ?” เมื่อปัญจวัคคีย์ได้พิจารณาตามพระกระแสรับสั่งเตือน จึงได้เห็นจริงตามพระวาจา และปลงใจเชื่อว่า พระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่ แล้วพร้อมกันถวายความเคารพ คอยสดับพระโอวาทอยู่ตลอดเวลา

ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๘ พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดง "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" อันเป็น "ปฐมเทศนา" โปรดปัญจวัคคีย์ภิกษุประกาศความตรัสรู้ของพระองค์ว่า "กามสุขขัลลิกานุโยค คือการประกอบตนให้พัวพันด้วยความสุขในกาม ๑ อัตตกิลมถานุโยค การประกอบความทุกข์ยากให้เกิดแก่ผู้ประกอบ ๑ ทั้งสองนี้ ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ บรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนมัชฌิมาปฏิปทาข้อปฏิบัติเป็นทางกลาง ที่เราตรัสรู้แล้ว เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อนิพพาน คือสิ้นตัณหาเครื่องรัดรึง เป็นธรรมที่บรรพชิตควรดำเนิน ด้วยเป็นทางทำผู้ดำเนินให้เป็นพระอริยะ"

“ทางสายกลาง” มัชฌิมาปฏิปทานั้น ได้แก่ทางมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฎฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปโป ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา วาจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ ๑ สัมมาวายามะ ความชอบ ๑ สัมมาสติ ระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ ๑ .. มัชฌิมาปฏิปทานี้แล เราได้ตรัสรู้แล้ว ทำให้เกิดดวงตา คือ ปรีชาญาณ เห็นแจ้งแทงตลอดซึ่งเญยยธรรมทั้งปวงเป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อนิพพาน พร้อมกับทรงประกาศสัจจธรรมทั้ง ๔ ประการ คือ ทุกขสัจจะ สมุทยสัจจะ นิโรธสัจจะ และมัคคสัจจะ โดยทรงจำแนกยถาภูตทัศนญานด้วยอาการ ๑๒ บรรจบครบบริบูรณ์ เมื่อจบปฐมเทศนา ท่านโกณฑัญญะ ได้ธรรมจักษุ บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระสาวกชั้นพระอริยบุคคลองค์แรกในพระพุทธศาสนา.

พระพุทธจริยา ที่พระองค์ทรงพระมหากรุณาแสดงปฐมเทศนาครั้งนี้ เท่ากับประกาศความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้โลกรู้แจ้งชัด ด้วยพระปรีชาญานอันหาผู้เสมอมิได้ ได้พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นสักขีพยานในการตรัสรู้ของพระองค์เป็นนิมิตรอันดี ในการที่พระองค์จะประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองในโลกสืบไป ข้อนี้เป็นเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูปปางนี้เรียกว่า "ปางปฐมเทศนา" หรือ "ปางแสดงธรรมจักร"

เง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นเทพเจ้าสูงสุดของจีน

เง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นเทพเจ้าสูงสุดของจีน


ที่มาจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรจีนตัวย่อ: 玉皇上帝
อักษรจีนตัวเต็ม: 玉皇上帝
พินอิน: Yù huáng shàng dì
Wade-Giles: Jade Emperor
สำเนียงแต้จิ๋ว: เง็กอ้วงเซี่ยงตี่
สำเนียงฮกเกี้ยน: หยกอ๋องซ่งเต้, ยกฮ่องซ่งเต้
ภาษาญี่ปุ่น | : 玉皇上帝
ภาษาเกาหลี | อักษรฮันกุล: 옥황상제
เกาหลี: og-hwang-sang-je
ภาษาเวียดนาม: Ngọc Hoàng Thượng Đế

ชื่ออื่นๆ :

หยกอ๋องไต่เทียนจุน (玉皇大天尊)
เอี่ยนเกวี่ยนโกซ่งเต้ (玄穹高上帝)
หยกอ๋องซ่งเต้ (玉皇上帝)
หยกอ๋องไต่เต้ (玉皇大帝)
ฮ่องเทียนซ่งเต้ (皇天上帝)
โฮเทียนซ่งเต้ (昊天上帝)
เทียนก๊วนซูฮก (天官赐福)
ทีเต่เป่โบ้ (天地父母)
ทีกงเปะ (天公伯)
หยกอ๋อง (玉皇)
ฮ่องเทียน(皇天)
ซ่งเทียน (上天)
หยกเต้ (玉帝)
ทีกง (天公)
ทีเต้ (天帝)
ทีเต่ (天地)


เทวรูปและรูปวาดขององค์เง็กเซียนฮ่องเต้จะทรงฉลองพระองค์เช่นเดียวกับจักรพรรดิจีน คือมีพระมาลา ด้านหน้ามีเส้นร้อยไข่มุกเป็นแถวห้อยลงมาหน้าพระพักตร์ พระหัตถ์ทรงพระป้ายซือฮุดหน้าพระอุระ ด้านหลังมีพนักงานสองคนคอยโบกพัด ด้านหน้ามีองครักษ์สององค์ทั้งฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น พระองค์ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าสูงสุดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ เป็นต้นมา

เง็กเซียนฮ่องเต้

คำว่า เง็กเซียนฮ่องเต้ คนคนไทยเรียกกันเกิดจากการผสมภาษาจีนระหว่าง 2 สำเนียง คือ ฮกเกี้ยนกับแต่จิ๋ว คือ เง็ก (แต้จิ๋ว) เซียน (ฮกเกี้ยน) ฮ่องเต้ (ฮกเกี้ยน) ชื่อ "เง็กเซียนฮ่องเต้" นี้เป็นการเรียกแบบไทย ชาวจีนโดยส่วนมากเรียก อวี่หวงต้าตี้ (ตัวเต็ม: 玉皇大帝, ตัวย่อ: 玉皇大帝, พินอิน: Yù huáng dà dì , ฮกเกี้ยน: หยกฮ่องไต่เต้,สำเนียงแต้จิ๋ว:เง็กอ้วงไต่ตี่ ) หรือ อวี่หวงซ่างตี้ (ตัวเต็ม: 玉皇上帝, ตัวย่อ: 玉皇上帝, พินอิน: Yù huáng sháng dì , ฮกเกี้ยน: หยกอ๋องซ่งเต้,สำเนียงแต้จิ๋ว:เง็กอ้วงเซี่ยงตี่ ) แปลว่า จักรพรรดิหยก หรือ ทีกง หรือ เทียนกง 天公 แปลว่า ปู่สวรรค์ หรือปู่ฟ้า ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวฮกเกี้ยนและชาวไต้หวันเรียกแบบใกล้ชิดเสมอญาติ

เง็กเซียนกับวัฒนธรรมชาวจีน

ชาวจีนมีความเชื่อว่าทีกงคือผู้ดลบันดาลทุกอย่างที่มีบนโลก ทั้งธรรมชาติ ดวงชะตา และความเป็นไปของมนุษย์ ดั้งนั้นทีกงจึงมีผลต่อวิถีของชาวจีน ตามศาลเจ้าหรือวัดจีนทั่วโลก ก่อนที่จะทำการบูชาเทพเจ้าองค์อื่นต้องบูชาทีกงเป็นอย่างแรกเพื่อเป็นการให้เกียรติ โดยตามศาลเจ้าจีนส่วนมากจะตั้งกระถางธูปของทีกงไว้ตรงหน้าของศาล โดยตรงกระถางธูปหรือป้ายบูชาทีกงของคนจีนแต่ละกลุ่มภาษาจะสลักตัวอักษรแตกต่างออกไป ศาลเจ้าของชาวฮกเกี้ยนและชาวกวางตุ้ง จะสลักคำว่า 天官赐福 เทียนก๊วนซูฮก ศาลเจ้าของชาวแต้จิ๋วและไหหลำ จะสลักคำว่า 天地父母 เทียนเต่เป่โบ้

ในทุกปีหลังวันตรุษจีนไปแล้ว 8 วัน ชาวจีนฮกเกี้ยนทั่วโลกจะมีพิธีทีกง เรียกกันว่า ป่ายเทียนกง (拜天公) เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของเง็กเซียนฮ่องเต้และเป็นวันประสูติของพระองค์ และมีความเชื่อว่าเมื่อสมัยราชวงค์หมิงชาวจีนฮกเกี้ยนทุกรุกรานจากญี่ปุ่นจึงพากันหนีไปหลบกันในดงอ้อย เมื่อญี่ปุ่นยกทัพกับไปจึงได้พากันออกมา วันนั้นเป็นวันขึ้น 9 คำ เดือน 1 (จีน) พอดีซึ่งตรงกับวัน ป่ายทีกง ชาวจีนฮกเกี้ยนจึงเชื้อว่าที่พวกตนรอดจากการรุกรานของญี่ปุ่นเป็นเพราะทีกงช่วยเอาไว้ จึงได้จัดการป่ายทีกงในวันประสูติของเง็กเซียนฮ่องเต้ในทุกๆปี เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณ และ ได้นำต้นอ้อยมาร่วมในบูชาด้วย และอ้อยในภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า ก้ามเจี่ย (甘蔗) ซึ่งไปพ้องเสียงกับคำว่า กัมเสี่ย (感謝)ซึ่งแปลว่า ขอบคุณ

ยี่หนึงจินกุน หลานของเง็กเซียน เป็นตัวละครในเรื่องไซอิ๋ว ท่านเป็นผู้เดียวที่สามารถปราบซุนหงอคงแล้วเอาตัวมาลงโทษบนสวรรค์ได้ แต่อย่างไรก็ตามซุนหงอคงมีฤทธิ์มากเมื่อนำตัวขึ้นสวรรค์ไปประหารก็ไม่ตาย ทางสวรรค์จึงขออาศัยบารมีพระพุทธเจ้า (พระยูไล) พระพุทธเจ้าจึงจับตัวหงอคงไปขังไว้ใต้ภูเขาเป็นเวลานานถึง 500 ปี รอจนผู้มีบุญมาช่วย ซึ่งผู้มีบุญนั้นคือพระแม่กวนอิมและพระเสวียนจั้ง และทำให้หงอคงกลับตัวกลับใจจนเข้าร่วมอัญเชิญพระไตรปิฎกอีกด้วย ยี่หนึงจินกุนมีพี่น้อง 7 คน

เง็กเซียนฮ่องเต้แต่ละสมัย

ชาวจีนบางกลุ่มเชื่อว่าเง็กเซียนฮ่องเต้ เป็นตำแหน่งสืบทอดที่มีวาระ โดยเง็กเซียนฮ่องเต้องค์ปัจุบันเป็นองค์ที่ 18 คือเทพเจ้ากวนอู ทั้ง 18 องค์มีลำดับดังนี้


1.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเอี่ยนโกส่งเต่ พระนามว่า อึ้งเหล่า 玉皇大天尊 玄玄高上帝(黃老)
2.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนหงวนโกส่งเต่ พระนามว่า จีมุ้ยเต้กุน玉皇大天尊 玄元高上帝(紫微帝君)
3.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเบ๋งโกส่งเต่ พระนามว่า ไต้ฮ้วงก่าฮ่วยเสี่ยจู้ 玉皇大天尊 玄明高上帝(大寰教化聖主)
4.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเต็งโกส่งเต่ พระนามว่า ฮ้งกึงเหล่าโจ้ว 玉皇大天尊 玄徵高上帝(鴻鈞老祖)
5.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนห่องโกส่งเต่ พระนามว่า แชฮ่วยเต้กุน 玉皇大天尊 玄寰高上帝(星化帝君)
6.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนกินโกส่งเต่ พระนามว่า 玉皇大天尊 玄巾高上帝
7.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอียนลี้โกส่งเต่ พระนามว่า ก่องฮั้วเซ่งจู้ 玉皇大天尊 玄理高上帝(光華聖主)
8.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเทียนโกส่งเต่ พระนามว่า ไต่ล้อจ้อซู 玉皇大天尊 玄天高上帝(大羅祖師)
9.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนอุ๊นโกส่งเต้ พระนามว่า เจียงอิดเทียนซู 玉皇大天尊 玄運高上帝(精一天師)
10.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนหัวโกส่งเต่ พระนามว่า เอี่ยงเอี๋ยงจ้อซู 玉皇大天尊 玄化高上帝(延衍祖師)
11.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนอิมโกส่งเต่ พระนามว่า ปักฮั้วเต้กุน 玉皇大天尊 玄陰高上帝(北華帝君)
12.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเอี๊ยงโกส่งเต่ พระนามว่า กงโต่วจินอ๋อง玉皇大天尊 玄陽高上帝(廣度真王)
13.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเจี่ยโกส่งเต่ พระนามว่า โต่วหัวเทียนจุน 玉皇大天尊 玄正高上帝(度化天尊)
14.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนขี่เกาส่งเต่ พระนามว่า ฮกม้อเซ่จ้อ玉皇大天尊 玄炁高上帝(伏魔世祖)
15.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนจุ้นโกส่งเต่ พระนามว่า หิ้นยู้เทียนจุน 玉皇大天尊 玄震高上帝(興儒天尊)
16.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเชียงโกาส่งเต่ พระนามว่า กิ่วเซ่เทียนอ๋อง 玉皇大天尊 玄蒼高上帝(救世天王)
17.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเกวียงโกส่งเต่ พระนามว่า เมี้ยหลกก๊กอ๋อง (บางตำราเชื่อว่าเป็นพระบิดาของพระโพธิสัตว์กวนอิม 玉皇大天尊玄穹高上帝(妙樂國王)
18.หยกอ๋องไต่เทียนจุน เอี่ยนเหลียงโกส่งเต่ พระนามว่า กวนเซ่งเต้กุน 玉皇大天尊玄靈高上帝(關聖帝君)

พระมงคลบพิตร วิหารพระมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระมงคลบพิตร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


พระมงคลบพิตร วิหารพระมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระมงคลบพิตร ไม่ปรากฏหลักฐานชัดว่าสร้างในรัชกาลใดแห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างใน สมัยอยุธยาตอนต้น เพราะพระพักตร์แม้จะมีลักษณะค่อนข้างเป็นวงรีแล้ว แต่ก็ยังคงเห็นเค้าพระพักตร์เป็นเหลี่ยมอยู่ ซึ่งเป็นพุทธลักษณะแบบอยุธยาตอนต้น เมื่อพิจารณาถึงเส้นพระขนงที่โค้ง ก็จะพบว่าเป็นศิลปที่ ผสมผสานกับศิลปะสุโขทัยอีกด้วย องค์พระก่อด้วยอิฐแล้วหุ้มสำริดแผ่น นับเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดองค์ หนึ่งของไทย

จากหลักฐานมีอยู่ว่า เมื่อปี พ.ศ. 2146 พระเจ้าทรงธรรมได้โปรดเกล้า ฯ ให้ชะลอหลวงพ่อวัดมงคลบพิตร จากด้านตะวันออกของวังหลวงมาไว้ทางด้านตะวันตก ณ ที่ประดิษฐานปัจจุบัน และยังได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระมณฑปที่มีลักษณะเช่นเดียวกับมณฑปพระพุทธบาทสระบุรีสวมไว้ด้วย

ในสมัยพระพุทธเจ้าเสือ เกิดอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑป เกิดไฟไหม้พังลงมาต้องพระศอของพระมงคล บพิตรหัก พระองค์จึงโปรดเกล้า ฯ ให้รื้อเครื่องบนออกแล้วสร้างใหม่เป็นพระวิหาร แต่คงทำเครื่องยอดอย่าง มณฑปของเดิม ต่อมาในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศน์เป็นแม่กองบูรณปฏิสังขรณ์ และได้รื้อยอดมณฑปเดิมเปลี่ยนเป็นพระวิหาร วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟเผาผลาญ ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2310 จนเครื่องบนของพระวิหารพังลงมา ถูกพระเมาฬีและพระกรขวาขององค์พระชำรุด พระยาโบราณราชธานินทรเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา ได้บูรณะซ่อมแซมให้คืนดี สำหรับพระวิหารที่ชำรุดหักพังเกือบจะโดยสิ้นเชิงนั้น ได้บูรณะขึ้นใหม่อย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 2499 โดย นายอูนุ นายกรัฐมนตรีสหภาพพม่าในขณะนั้น ได้บริจาคเงินจำนวนสองแสนบาท ร่วมกับฝ่ายรัฐบาลไทยอีกสองแสนห้าหมื่นบาท

พระเจ้าพรหมมหาราช

พระเจ้าพรหมมหาราช หรือ พระเจ้าพรหมกุมาร


พระเจ้าพรหมมหาราช จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เป็นราชบุตรของพระเจ้าพังคราช ครองเมืองโยนกชัยบุรี (โยนกชัยบุรีราชธานีศรีช้างแสน) ราว พ.ศ. 1480 ถึง พ.ศ. 1541 ซึ่งเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำกก แต่มีหลักฐานท้องถิ่นระบุว่าพระองค์ประสูติใน พ.ศ. 1655 ที่เวียงสี่ตวง (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย) และสิ้นประชมน์ใน พ.ศ. 1732 (พระชนมมายุ 77 พรรษา มีพระชนมมยุในช่วง พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ที่ครองราชย์ใน พ.ศ. 1656- พ.ศ. 1693 จนถึงตอนต้นของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ครองราชย์ใน พ.ศ. 1724- พ.ศ. 1762 ในยุคพระนครของกัมพูชา ) พระองค์มีพระปรีชาสามารถด้านการรบ สามารถตีเอาเมืองโยนกชัยบุรี คืนได้จาก พญากลอมดำ (ขอมดำ จากเมืองอุโมงคเสลา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ที่ครองราชย์ใน พ.ศ. 1633- พ.ศ. 1650 ในยุคพระนครของกัมพูชา ) ซึ่งยกทัพมาชิงเมืองโยนกในสมัยพระเจ้าพังคราช (พระบิดาของพระเจ้าพรหมมหาราช) เมื่อตีเอาเมืองโยนกคืนได้ ยังทรงยกทัพไล่ต้อนทัพพญากลอมดำ ลงมาถึงใกล้เขตแดนลวรัฐ (ที่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งคือเขตเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน) ก็ทรงเลิกทัพกลับไป และทรงคืนโยนกชัยบุรีให้พระบิดา ส่วนพระองค์ ขยับลงมาสร้างเมืองทางตอนใต้ไม่ห่างกันมาก และตั้งชื่อว่าไชยปราการ และทรงครองที่เมืองนี้ตลอดพระชนม์ชีพ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอีกว่าภาพสลักนูนต่ำที่นครวัดในห้องภาพที่ชื่อว่าเสียมกุก อาจหมายถึง กองทัพชาวสยามที่มาจากลุ่มแม่น้ำกก แห่งเมืองโยนก แม่ทัพสยามที่ประทับบนหลังช้างทรงนั้นคือพระเจ้าพรหมมหาราชนั้นเอง ด้วยเหตุที่พระองค์เข้าเป็นพันธมิตรกับพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 แห่งเมืองพระนคร เพื่อร่วมโจมตีอาณาจักรจามปาใน พ.ศ. 1687 จนได้รับชัยชนะเป็นพระเกียรติยศขณะที่พระชนมายุได้ 32 พรรษา

พระราชประวัติ

พระเจ้าพรหมมหาราช (พระพรหมกุมาร) เป็นโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้าพังคราช พระองค์เสด็จครองเมืองเวียงไชยปราการ เมืองหน้าด่านแห่งราชอาณาจักรโยนกในขณะที่ทรงเจริญพระชนมายุได้ 19 พรรษา ใน พ.ศ. 1674 พระพรหมอุปราชแห่งอาณาจักรโยนกนคร เชียงแสน ทรงทำการกอบกู้เอกราชขยายอาณาเขต อยู่เป็นประมาณ 3 ปี เศษ จึงทรงสร้างเมืองขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ทรงขนานนามว่า “ไชยปราการ” และทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ มีเมืองชะเลียง (สวรรคโลก) เป็นเมืองหน้าด่านใต้ ประชิดอาณาเขตขอม และทรงสถาปนาเมืองหริภุญไชย ซึ่งเคยเป็นของละว้าและขอมมาก่อน เป็นหัวเมืองเอก พระองค์เป็นมหาราชผู้ประเสริฐพระองค์นี้ ได้ทำนุบำรุง บ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นกว่าแต่ก่อนทุก ๆ ด้าน เป็นอันมากในการปรปักษ์รักษาบ้านเมืองให้อยู่รอด มีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะต่อสู้กับอริราชศัตรู พระองค์ทรงเสริมสร้างป้อมคูประตูหอรบ ขยายอาณาเขตให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ในรัชสมัยของพระเจ้าพรหมมหาราชทรงครองราชย์อยู่ ณ เมืองไชยปราการนั้น บ้านเมืองในแว่นแคว้นโยนกเจริญรุ่งเรืองเต็มไปด้วยความวัฒนาผาสุก พระเกียรติยศของพระองค์รุ่งเรืองปรากฏไปทั่วทุกทิศ ในสมัยที่พระองค์ทรงถือกำเนิดนั้น คือใน พ.ศ. 1461 พระเจ้าพังคราชพระราชบิดาและพระมเหสีผู้เป็นมารดาของพระองค์ต้องถูกพวกขอมเนรเทศให้ออกจากอาณาจักรโยนกไปอยู่เมืองเล็กเมืองหนึ่ง เมืองนี้มีชื่อว่า “เวียงสีทวง” (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ใกล้ ๆ ชายแดนพม่าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านปางห่าประมาณ 6 กิโลเมตร มีชื่อใหม่ว่า “บ้านเวียงแก้ว” แต่เดิมเรียกว่า “สี่ตวง” เป็นเมืองออกของไทย ปกครองโดยพวกลัวะ พอถึงปีที่ต้องนำทองคำสี่ตวงลูกมะตูมมาส่งให้เป็นบรรณาการ นานเข้าเรียกเพี้ยนเป็นเวียง “สี่ตวง” ) เมื่ออยู่เวียงสี่ตวงได้ 1 ปี ก็ได้พระราชโอรสองค์แรกจะเป็นด้วยกำลังอยู่ในระหว่างตกทุกข์ได้ยาก จึงได้ตั้งพระนามพระโอรสว่า “ทุกขิตราชกุมาร” ครั้นอยู่ต่อมาอีกสองปี จึงได้พระราชโอรสองค์ที่สองนี้ เมื่อประสูติออกมานั้นมีพระวรกายงดงามทรงตั้งพระนามว่า “พรหมราชกุมาร” พระองค์ประสูติในวันอาทิตย์ แรม 8 ค่ำ เดือน 6 เหนือ (คือเดือน 4 ใต้) ปีมะเส็ง พ.ศ. 1461 ขณะที่พระมเหสีทรงครรภ์ราชโอรสองค์นี้ได้ 7 เดือน ได้กราบทูลพระสวามีว่า ขอให้นำเอาศาตราวุธมาให้ดูว่ามีอะไรบ้าง ที่ใช้ในราชการสงคราม พระสวามีก็แสวงหามาตกแต่งไว้ในห้องให้พระมเหสีทอดพระเนตรทุกวัน ในที่สุดก็ประสูติพระราชโอรส

ตามตำนานได้กล่าวถึงอิทธิปาฏิหาริย์อันเกิดจากพระองค์ว่า เมื่อพระชนม์ได้ 7 พรรษาก็ทรงชอบเรียนวิชาเพลงอาวุธและตำรับยุทธวิธีสงคราม เมื่อพระราชกุมารทรงพระเจริญวัยขึ้นมีพระชนม์ 13 พรรษา คืนหนึ่งทรงพระสุบินว่ามีเทวดามาบอกพระองค์ว่า ถ้าอยากได้ช้างเผือกคู่พระบารมีสำหรับทำศึกสงครามแล้วไซร้ วันพรุ่งนี้ตอนเช้าก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นให้ออกไปที่ฝั่งแม่น้ำโขง แล้วคอยดูจะมีช้างเผือกล่องน้ำมาตามแม่น้ำโขง 3 ตัวด้วยกัน ถ้าจับได้ตัวใดตัวหนึ่งก็จะใช้เป็นพาหนะทำศึกสงคราม ถ้าจับได้ตัวที่หนึ่งจะปราบได้ทั้งสี่ทวีป ถ้าจับได้ตัวที่สองจะปราบได้ทั่วชมพูทวีป ถ้าจับได้ตัวที่สามจะดินแดนแคว้นล้านนาไทยได้ทั้งหมด สิ้นสุบินนิมิตรแล้ว เจ้าพรหมราชกุมารตื่นจากบรรทม ไม่ทันสรงพระพักตร์ไปเรียกมหาดเล็กของท่าน ซึ่งเป็นลูกทหารแม่ทัพนายกองจำนวน 50 คน ให้ไปตัดไม้รวกเป็นขอตามคำเทวดาบอก ให้ใช้ขอไม้รวกและเกาะคอช้างจะได้ลากขึ้นฝั่ง แล้วพากันไปที่ฝั่งแม่น้ำโขง พอได้สักครู่ใหญ่ ๆ ท้องฟ้าก็สว่าง ในขณะนั้นมีงูใหญ่ตัวหนึ่งสีเหลืองตัวใหญ่โตประมาณ 3 อ้อม ยาว 10 กว่าวา ลอยมาตามแม่น้ำโขง เข้ามาใกล้ฝั่งที่พระองค์และมหาดเล็กอยู่นั้น เจ้าพรหมราชกุมารและมหาดเล็กเห็นเข้าก็ตกใจกลัวมิอาจเข้าไปใกล้ได้ เจ้างูนั้นก็เลยล่องผ่านไป พออีกสักครู่ใหญ่ ๆ ก็มีงูลอยตามน้ำมาอีกแต่ตัวเล็กกว่าเก่า ขนาดก็สั้นกว่าตัวเก่าเป็นงูอย่างเดียวกันก็ลอยล่องไปอีก เจ้าพรหมราชกุมารไม่กล้าทำอะไร พอตัวที่สองนี้ผ่านไปได้ครู่ใหญ่ ๆ ก็นึกว่าเทวดาบอกว่าจะมีช้างเผือกลอยมา 3 ตัว ไม่เห็นช้างเผือกลอยมาสักตัวเห็นแต่งูลอยมาสองตัวแล้ว ถ้าหากว่ามีอีกตัวหนึ่งต้องเป็นช้างเผือกแน่ ตัวที่สามนี้อย่างไรก็ต้องเอาละเพราะเป็นตัวสุดท้ายแล้ว พอเจ้างูตัวที่ 3 ลอยมา เจ้าพรหมก็ลงน้ำและบุกน้ำลงไป ไปถึงก็เอาไม้รวกเกาะคองูนั้น พอขอไม้รวกเกาะคองู งูก็แปรสภาพเป็นช้างเผือกทันที มหาดเล็ก 50 คน ก็ช่วยกันเอาขอไม้รวกเกาะคอช้างจะเอาขึ้นฝั่งทำอย่างไรมันก็ไม่ยอมขึ้นฝั่ง เดินไปเดินมา อยู่ในน้ำนั่นเอง เจ้าพรหมราชกุมาร ก็ใช้ให้มหาดเล็กไปกราบทูลพระราชบิดาว่าได้ช้างเผือกแล้ว แต่ไม่ยอมขึ้นฝั่ง เมื่อพระเจ้าพังคราชทรงทราบเช่นนั้นก็เรียกโหรหลวงมาถาม โหรหลวงก็ทูลว่า ให้เอาทองคำประมาณยี่สิบตำลึงมาตีพางอันหนึ่ง (พางคือระฆังหรือกระดิ่งผูกคอช้าง) แล้วบอกว่าให้พระราชโอรสองค์ใหญ่เอาพางไปที่ฝั่งแม่น้ำ และเอาไม้ตีพางเข้าพอพางดังช้างจะขึ้นฝั่งเอง พระเจ้าพังคราชก็มีรับสั่งให้ทำพางขึ้นและนำไปที่ฝั่งแม่น้ำโขง และไม้เคาะที่พางก็มีเสียงดังเหมือนระฆัง ช้างก็ขึ้นมาจากฝั่ง เจ้าพรหมกุมารก็นำช้างเข้าเมือง พระราชบิดาก็สร้างโรงช้างเผือกเข้าเลี้ยงบำรุงไว้ที่นั่น ช้างก็เลยได้ชื่อว่า “ช้างเผือกพางคำ” แล้วเจ้าพรหมกุมารก็ได้โปรดให้สร้างเมืองขึ้นที่นั่น โดยขุดคูเอาน้ำจากแม่น้ำสายมาเป็นคูเมืองและให้ชื่อว่า “เมืองพานคำ” ( ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายตรงที่สำนักงานไร่ยาสูบ อ.แม่สายในปัจจุบัน ) และทรงใช้เวียงพานคำนี้เป็นแหล่งชุมนุมไพร่พล เพราะเวียงพานคำมีอาณาเขตเป็นที่ราบกว้างอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารเหมาะแก่การประชุมพล

นับแต่นั้นมา พระองค์ก็ฝึกซ้อมทหารให้ชำนาญในยุทธวิธี และสะสมเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ไว้มากมาย ทรงทราบว่าบ้านเมืองของพระองค์เป็นประเทศราชของขอม พระบิดาต้องส่งส่วยให้ขอมทุกปี ก็ทรงพระดำริที่จะกอบกู้เอกราช โดยประกาศแข็งเมืองไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการให้แก่กษัตริย์ขอมดำ การสงครามระหว่างไทยกับขอมดำก็เริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่ปรากฏว่า คราวนี้ขอมพ่ายแพ้ และตีหัวเมืองที่อยู่ในอำนาจของขอมกลับคืนหมด จากนั้นพระเจ้าพรหมราชกุมารก็ทรงดำริต่อไปว่า หากปล่อยให้ขอมดำมีถิ่นฐานบ้านเมืองอยู่อาณาเขตติดต่อกันเช่นนี้ ไม่ช้าสงครามก็จะเกิดขึ้นอีก และถ้าเผลอก็จะตกเป็นทาสของขอมอีก พระองค์จึงทรงประกาศอิสรภาพของชาติไทย ใน พ.ศ. 1497 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่อาณาจักรโยนกหรือโยนกนาคพันธ์ ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของขอมมาเป็นเวลา 20 ปี ซึ่งเมื่อพระองค์แข็งเมืองขึ้นนั้นก็เป็นเหตุให้พวกขอมยกทัพใหญ่มาเพื่อจะทำการปราบปราม ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 16 พรรษาเท่านั้น แต่ด้วยความรักชาติบ้านเมือง รักในความเป็นอิสรเสรี และด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้าของพระองค์ในที่จะปลดแยกอาณาจักรโยนกออกจากการปกครองของพวกขอม พระองค์จึงยกกองทัพใหญ่ไล่จับพวกขอมที่เป็นชายฆ่าเสียเกือบหมด พวกที่รอดตายไปได้ คือพวกที่มาทางใต้ พระเจ้าพรหมฯ ตั้งพระทัยที่จะทำลายพวกขอมให้หมดสิ้น เป็นการขับไล่ชนิดที่เรียกว่า “กวาดล้าง” เพราะพวกขอมมีหลายหัวเมืองด้วยกัน เช่น เมืองหริภุญชัย เมืองสุโขทัย เมืองละโว้ เมืองศรีสัชชนาลัย เมื่อขับไล่มาถึงเมืองศรีสัชชนาลัยแล้วกษัตริย์ขอมดำที่เป็นเจ้าเมืองศรีสัชชนาลัยไม่กล้าสู้ ยอมแพ้และยอมถวายพระราชธิดาองค์หนึ่ง

ด้วยการรบอย่างรุนแรง เพื่อจะขจัดอิทธิพลของพวกขอมนั่นเอง ในตำนานโยนกจึงได้กล่าวถึงปาฏิหาริย์ที่จะยับยั้งมิให้พระองค์ทำการรุกไล่พวกขอมต่อไปว่า ร้อนถึงพระอินทร์เจ้าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เล็งทิพย์เนตรมาเห็น ถ้าไม่ไปช่วยไว้ ขอมจะต้องตายหมด ชีวิตมนุษย์ก็จะเป็นอันตรายมากจำต้องช่วยป้องกันไว้ จึงมีเทวองค์การสั่งให้พระวิศณุกรรมเทพบุตรลงไปเนรมิตรกำแพงแก้ว ก็หยุดเพียงแค่นั้น ไม่ได้ไล่ตามต่อไป ที่ตั้งกำแพงแก้วนี้ ต่อมาเกิดมีเมืองขึ้นเมืองหนึ่งมีชื่อว่า “เมืองวชิรปราการ” แปลตามพยัญชนะว่า “กำแพงเพชร” คือจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบันนี้ ข้อความในตำนานนี้พอจะสันนิษฐานได้ว่าเมื่อพระเจ้าพรหมลุกไล่พวกขอมลงไปทางใต้เป็นระยะทางไกลพอสมควรแล้ว ทรงเห็นว่าพวกขอมที่แตกพ่ายไปอย่างไม่เป็นกระบวนนั้น คงไม่สามารถที่จะรวมกำลังยกกองทัพมารวบกวนได้อีก และประกอบกับบรรดาไพร่พลของพระองค์อิดโรยอ่อนกำลัง เพราะทำการสู้รบติดพันกันเป็นเวลานานถึง 1 ปีเศษ ได้อาณาเขตกว้างขวางมากอยู่พอแล้ว มีพระราชประสงค์จะหยุดพักไพร่พลเสียบ้างจึงได้ยกกองทัพกลับมายังบ้านเมือง คืออาณาจักรโยนกนคร ครั้นพระเจ้าพรหมเสด็จมาถึงโยนกนครแล้วก็ทรงอัญเชิญให้พระเจ้าพังคราชพระราชบิดาเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติในนครโยนกตามเดิมและให้เจ้าทุขิตราชกุมารพระเชษฐาเป็นมหาอุปราช แต่ทรงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองชัยบุรี” เพราะว่าที่ตีมานี้ได้ชัยชนะ ( บางทีเรียกว่า “ชัยบุรีเชียงแสน” หรือไม่ก็เรียกว่า “เมืองเชียงแสนชัยบุรี” ) นอกจากนั้นพระเจ้าพรหมฯ กับพระราชบิดายังช่วยกันสร้างพระเจดีย์ขึ้นแห่งหนึ่งในราชอาณาจักร พระเจดีย์ที่ทรงสร้างขึ้นในประวัติศาสตร์เรียกว่า “เจดีย์จอมกิตติ” (เดี๋ยวนี้เรียกว่าพระธาตุจอมกิตติ เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่บนเขาสูงบนฝั่งน้ำแม่โขง ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนปัจจุบันไปทางซ้ายมือประมาณ 1 ก.ม. เป็นปูชนียสถานที่สำคัญเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไป) หลังจากที่พระเจ้าพรหมมหาราชทรงอัญเชิญให้พระราชบิดาคือพระเจ้าพังคราชเสด็จครองเมืองชัยบุรีเชียงแสนแล้ว พระองค์จึงเสด็จหาที่ตั้งราชธานีใหม่ ในที่สุดก็เสด็จมาถึงบริเวณแม่น้ำฝาง เห็นเป็นที่ทำเลเหมาะดี ก็ทรงสร้างนครขึ้นที่นั่น เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงขนานนามเมืองว่า “เมืองไชยปราการ” แล้วพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติใน พ.ศ. 1480 เมืองนั้นอยู่ห่างจากเมืองชัยบุรีเชียงแสน ระยะทางประมาณ 300 ก.ม. (คือเชียงแสนกับฝางปัจจุบันนี้)

โปรเฟสเซ่อรแคมแมน นักสำรวจโบราณวัตถุแห่งมหาวิทยาลัยมลรัฐเพ็นซิลวาเนีย อเมริกา ให้ข้อสันนิษฐานว่า เมืองไชยปราการที่พระเจ้าพรหมมหาราชทรงสร้างขึ้นนั้นมิใช่ตัวเมืองฝางปัจจุบันนี้ แต่เป็นเวียงริมน้ำฝางทางทิศตะวันออก อยู่ในท้องที่ตำบลแม่งอน ทางทิศใต้ของอำเภอฝาง มีระยะทาง 32 ก.ม. ยังปรากฏรากกำแพงเมือง ซุ้มประตู และซากพระราชฐาน พระราชวังอยู่โดยชัดแจ้ง ส่วนตัวเมืองฝางนั้นเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในภายหลัง ในรัชสมัยพระเจ้าพรหมมหาราชเสด็จมาครองราชสมบัติ ณ เมืองไชยปราการนั้น แว่นแคว้นโยนก แบ่งออกเป็น 4 มหานคร คือ

ไชยบุรีเชียงแสน เป็นราชธานี ภายหลังได้จมลงสู่พื้นธรณีในสมัยพระเจ้าไชยมหาชนะ หรือพระเจ้ามหาไชยชนะครองราชสมบัติอยู่ ปัจจุบันอยู่ในท้องที่ท่าข้าวเปลือก ไกลจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระยะทาง 112 ก.ม.
เวียงไชยนารายณ์ คือท้องที่อำเภอเมืองเชียงรายในปัจจุบันนี้
เวียงไชยปราการ อยู่ที่อำเภอฝางมาทางทิศใต้ระยะทางประมาณ 32 ก.ม
เวียงพานคำ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาย ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในปัจจุบันนี้

ในครั้งนั้น แว่นแคว้นโยนกนับว่ามีกำลังแข็งแรงมาก พระเจ้าพรหมมหาราช ได้ทรงวางกำลังป้องกันพวกขอมไว้อย่างแข็งแรง จนพวกขอมไม่ยกกองทัพมารบกวนอีกตลอดรัชสมัยของพระองค์ พระเจ้าพรหมมหาราช มีราชโอรสองค์เดียว คือพระเจ้าสิริไชยหรือไชยสิริ พระองค์ทรงปกครองราชบัลลังค์ได้ 60 ปี เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1538 เมื่อพระชนมายุ 77 ชัญษา เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชเสด็จสวรรคตแล้วมุขมนตรีก็อัญเชิญพระเจ้าสิริไชยราชโอรสขึ้นครองราชย์ปกครองบ้านเมืองเป็นกษัตริย์นครไชยปราการ อันดับที่ 2 สืบแทนต่อมา

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พระรามราชนิเวศน์ วังบ้านปืน

พระรามราชนิเวศน์ วังบ้านปืน


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน ตั้งอยู่ที่เขตบ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเสด็จประพาสจังหวัดเพชรบุรี โดยมีนายคาร์ล ดอห์ริง สถาปนิกชาวเยอรมนีเป็นผู้เขียนแบบ, ดร.ไบเยอร์ ชาวเยอรมนี เป็นนายช่างก่อสร้าง, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมการก่อสร้าง, และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต (พระยศขณะนั้น) ทรงควบคุมด้านการไฟฟ้า

พระรามราชนิเวศน์เป็นที่ตั้งของ พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2453

ด้วยเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะมีพระราชวังนอกพระนครเพื่อประทับค้างแรมได้โดยสะดวก จังหวัดเพชรบุรีที่พระองค์มีพระประสงค์จะให้เป็นพระราชวังที่ใช้ประทับยามหน้าฝน พระองค์จึงมีพระราชโองการให้ซื้อที่ดินจากชาวบ้านที่เขตบ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นแม่งานควบคุมการก่อสร้าง และมีพระบัญชาให้ คาร์ล ซีกฟรีด เดอห์ริง (Karl Siegfried Dohring) ผู้เคยออกแบบ วังบางขุนพรหม วังวรดิศ และวังพระองค์เจ้าดิลกนพรัฐมาแล้ว เป็นสถาปนิกออกแบบ

นายดอห์ริงได้เลือกผู้ร่วมงานทั้งสถาปนิก วิศวกร และมัณฑนากรเป็นชาวเยอรมันทั้งสิ้น เพื่อการทำงานให้มีศิลปะเป็นแบบเดียวกันพระที่นั่งองค์นี้จึงมีรูปแบบศิลปะตะวันตกอย่างเต็มตัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่ต้องการพระตำหนักแบบโมเดิร์นสไตล์ สถาปนิกจึงได้ออกแบบมาในลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเยอรมัน โดยได้แบบแผนมาจากตำหนักในพระราชวังของพระเจ้าไกเซอร์แห่งเยอรมันที่ทรงเคยประทับ
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

พระตำหนักได้ใช้ลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบบาโรค (Baroque) และแบบอาร์ต นูโว (Art Nouveau) หรือที่เยอรมันเรียกว่าจุงเกนสติล (Jugendstil) ตัวพระตำหนักจะเน้นความทันสมัยโดยจะไม่มีลายปูนปั้นวิจิตรพิสดารเหมือนอาคารในสมัยเดียวกัน พระตำหนักหลังนี้จะเน้นในเรื่องของความสูงของหน้าต่าง ความสูงของเพดานซึ่งกว้างเป็นพิเศษ ทำให้พระตำหนักดูใหญ่โต โอ่อ่า สง่างาม และตระการตา

แผนผังของตัวอาคารสร้างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมสวนหย่อม มีสระน้ำพุตั้งอยู่ตรงกลาง ส่วนที่ประทับเป็นตึกสองชั้นขนาดใหญ่ หลังคาทรงสูงรูปโดม ภายในเป็นโถงสูงมีบันไดโค้งขึ้นสู่ชั้นสองซึ่งจัดเป็นจุดเด่นของพระตำหนักเพราะรวมสิ่งน่าชมไว้หลายหลาก ตัวอย่างเช่น เสาที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบและตกแต่งด้วยโลหะ ขัดเงา เสาเหล่านี้แล่นตลอดจากพื้นจดเพดานชั้นสองและประดับด้วยกระเบื้องเขียวเข้ากันกับบริเวณโดยรอบโถงบันได ที่หัวเสาตาม ราวบันไดโค้งมีตุ๊กตากระเบื้องรูปเด็กในอิริยาบถต่าง ๆ ประดับไว้ รอบบริเวณโถงบันไดชั้นบนยังมีกรอบลูกไม้กระเบื้องเคลือบประดับตามช่องโดยรอบอีกด้วย

พระตำหนักหลังนี้ยังมีสิ่งที่น่าชมอีกมาก กล่าวคือ การตกแต่งภายในแต่ละห้องให้มีรูปลักษณ์แตกต่าง กันไปทั้งสีสันและวัสดุที่ใช้ เช่น บริเวณโถงบันไดใช้โทนสีเขียว ห้อง เสวยใช้โทนสีเหลือง ตกแต่งช่องประตูด้วยเหล็กดัดแบบอาร์ต นูโว และประดับผนังด้วยแผ่นกระเบื้องเคลือบสีเหลืองสด ตัดกรอบด้วยกระเบื้องเขียวเป็นช่อง ๆ ตามแนวยืน โดยกระเบื้องประดับผนังมีลวด ลายนูนเป็นรูปสัตว์และพรรณพืชต่าง ๆ แทรกอยู่เป็นระยะ ๆ ห้องพระบรรทมใช้โทนสีทอง โดยตกแต่งเสาในห้องด้วยแผ่นโลหะสีทองขัดเงาดุนลาย หัวเสาเป็นภาพเขียนแจกันดอกไม้หลากสี บนพื้นครึ่งวงกลมสีทอง ดูสง่างามและมลังเมลือง

การก่อสร้างพระที่นั่งแห่งนี้ มาสำเร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2461 และพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนาม "พระราชวังบ้านปืน" โดยพระราชทานนามพระราชวังใหม่ว่า “พระรามราชนิเวศน์” นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงดำเนินการหล่อรูปปั้นพระนารายณ์ทรงปืนเพื่อนำมาประดิษฐานไว้ยังหน้าพระที่นั่ง (ปัจจุบัน รูปปั้นนี้ย้ายมาไว้ยังหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) แต่คนทั่วไปจะเรียกติดปากว่าพระราชวังบ้านปืนตาม ชื่อเดิมของถิ่นที่อยู่นั่นเอง แม้ว่าพระรามราชนิเวศน์จะสร้างเสร็จในรัชกาลที่ 6 แต่พระองค์ก็มิได้เสด็จประพาสมายังพระราชวังนี้บ่อยนัก จะเสด็จมาประทับเพื่อทอดพระเนตรการซ้อมเสือป่าบ้าง แต่ก็น้อยครั้งมาก วังนี้จึงเริ่มทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ

ครั้นมาถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดฯ ให้ปรับพระราชวังนี้เป็นสถานศึกษาของเหล่าครูในแขนงวิชาชีพต่าง ๆ มาจนกระทั่งวิชาชีพเหล่านี้แข็งแกรงขึ้นจนย้ายออกไปตั้งอยู่ที่อื่นได้ วังนี้จึงถูกปล่อยให้ทรุดโทรมลงอีกครั้ง หลังจากนั้น พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชวังแห่งนี้เป็นโรงเรียนวังพระรามราชนิเวศน์ โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม โรงเรียนฝึกหัดครูผู้กำกับลูกเสือในพระบรมราชูปถัมภ์ และโรงเรียนประถมวิสามัญหญิง จนกระทั่ง โรงเรียนเหล่านี้ย้ายออกไป พระราชวังบ้านปืนจึงถูกทิ้งให้รกร้างอีกครั้ง

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ฝ่ายทหารได้ใช้พระราชวังนี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการทหาร ปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็นที่ตั้งของจังหวัดทหารบกเพชรบุรีและต่อมาได้เป็นมณฑลทหารบกที่15 และได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และศิลปะของจังหวัดเพชรบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดฯ ให้ใช้พระราชวังบ้านปืนนี้เป็นหนาวยบัญชาการของ ทหารบก และเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร-ศิลปะของจังหวัดเพชรบุรีด้วย แต่หากเราจะขอเข้าชมก็ต้องได้รับการอนุญาตจากผู้บังคับการจังหวัดทหารบก กองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 เพื่อขอเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการเสียก่อน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นพระราชวังฤดูร้อนซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นพระราชวังฤดูร้อนซึ่งเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็นพระราชวังที่มีความเรียบง่ายที่สุดซึ่งสร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เองเพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2467 เป็นเวลา3เดือน และครั้งที่สองในปีเดียวกัน หลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก5เดือนต่อมาพระองค์ก็ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง
ปัจจุบัน

ปัจจุบัน พระราชนิเวศน์ยังคงอยู่บนที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นค่ายพระรามหก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อพระราชนิเวศน์ทรุดโทรมลงจนถึงขั้นปรักหักพัง ความทราบฝ่าพระบาท สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ พร้อมพระราชทานกำเนิดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ เพื่อเป็นกำลังหลักในการฟื้นฟูและพัฒนาพระราชนิเวศน์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมของประเทศ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
ตำนานของพระราชนิเวศน์แห่งนี้

พระราชนิเวศน์แห่งนี้ มีตำนานที่เล่าขานต่อๆ สืบเนื่องมาจากเมื่อคราวที่พระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี ทรงพระครรภ์นั้น พระมหาธีรราชเจ้าทรงพระเกษมสำราญยิ่งด้วยทรงมุ่งหวังว่าจะทรงมีพระราชปิโยรส แต่ความหวังทั้งมวลก็สิ้น สลายเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ ไม่สามารถมีพระประสูติกาลได้ ยามนั้นพระองค์ท่านทรงอภิบาลพระมเหสีด้วยน้ำพระทัยเป็นห่วงและเศร้าสร้อย ณ พระที่นั่งสมุทรพิมานแห่งนี้ อย่างไรก็ดี พระราชนิเวศน์ยังเป็นสถานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบังเกิดพระราชประดิพัทธ์ในความรักครั้งต่อมากับคุณสุวัทนา ซึ่งต่อมาทรงสถาปนาเป็นเจ้าจอมสุวัทนา และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ตามลำดับ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวันพร้อมด้วย พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ซึ่งมีพระครรภ์พระหน่อ อีกครั้งระหว่างวันที่ 12 เมษายน ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2468การเสด็จครั้งนี้เสมือน หนึ่งการเสด็จมาเพื่ออำลาพระราชนิเวศน์ที่ทรงรักโดยแท้ เพราะเมื่อเสด็จกลับพระนคร อีก 5 เดือนพระนางเจ้าสุวัทนาฯ ประสูติพระราชธิดาแล้ว วันรุ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมของพระราชนิเวศน์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์คือ(ไทยผสมยุโรป)สร้างด้วยไม้สักทองลักษณะเป็นอาคาร2ชั้นเปิดโล่งใต้ถุนสูงบริเวณใต้ถุนทำเป็นคอนกรีตหลังคาเป็นหลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องว่าวแบบสี่เหลี่ยมซึ่งสามารถกันแดดและกันฝนได้ดีกว่าแบบธรรมดาเพดานยกพื้นสูงมีบานเกร็ดระบายความร้อนโดยมีเสารองรับพระที่นั่งทั้งหมด1080ต้นวางในแนวเดียวกันเสาทุกต้นมีการหล่อขอบฐานและยกขอบขึ้นไปรางน้ำเรียกว่าบัวขอบเพื่อกันมดและสัตว์อื่นๆซึ่งในสมัยนั้นมีมดและสัตว์อื่นๆชุกชุม

อุทยานราชภักดิ์

อุทยานราชภักดิ์



ที่มา http://www.rta.mi.th/RTAweb/pageinfor/weppage.html

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองทัพบกจัดสร้าง "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม" พร้อมจัดสร้างอุทยานประวัติศาสตร์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อว่า “อุทยานราชภักดิ์" ซึ่งเป็นอุทยานที่สร้างขึ้นด้วยความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และเพื่อเป็นการเทิดทูนและประกาศเกียรติคุณสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งสยาม ๗ พระองค์ ได้แก่

๑.พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย)
๒.สมเด็จพระนเรศวร (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๓.สมเด็จพระนารายณ์ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๔.สมเด็จพระเจ้าตากสิน (สมัยกรุงธนบุรี)
๕.พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
๖.พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
๗.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)

ซึ่งทุกพระองค์ล้วนทรงสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อประเทศชาติ

พื้นที่และกรอบแนวคิดการจัดสร้าง

กองทัพบก จะดำเนินการจัดสร้าง อุทยานราชภักดิ์ ภายในพื้นที่ของกองทัพบก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยใช้พื้นที่ก่อสร้างรวมทั้งสิ้น ๒๒๒ ไร่เศษ ซึ่งองค์ประกอบภาพรวมของอุทยานราชภักดิ์ จะมีโครงสร้างหลักที่สำคัญ จำนวน ๓ ส่วนหลัก ประกอบด้วย

ส่วนที่ ๑ : พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์ แห่งสยาม จำนวน ๗ พระองค์ โดยน้อมถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์แต่ละยุคสมัยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ชึ่งพระนามแต่ละพระองค์เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้แก่ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้พื้นที่ประมาณ ๕ ไร่ โดยรูปแบบของพระบรมราชานุสาวรีย์ จะจัดสร้างในลักษณะพระอิริยาบถทรงยืน ความสูงเฉลี่ยไม่เกิน ๑๓.๙ เมตร หล่อด้วยโลหะสำริดนอก

ส่วนที่ ๒ : ลานอเนกประสงค์ มีเนื้อที่ประมาณ ๙๑ ไร่ ใช้สำหรับกระทำพิธีที่สำคัญของกองทัพ และรับรองบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ

ส่วนที่ ๓ : อาคารพิพิธภัณฑ์ หรือห้องจัดแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์ โดยการค้นคว้า รวบรวม และจัดทำพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจที่สำคัญของบูรพกษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยจะดำเนินการจัดสร้างบริเวณด้านล่างของฐานพระบรมราชานุสาวรีย์

พื้นที่ส่วนที่เหลือจำนวน ๑๒๖ ไร่ จะเป็นสภาพภูมิทัศน์โดยรอบ และการจัดสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวก

กรอบระยะเวลาดำเนินงาน

๑. การจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบูรพกษัตริย์แห่งสยาม จำนวน ๗ พระองค์ และการก่อสร้างลานอเนกประสงค์
ตั้งแต่เดือน พ.ย.๕๗-ส.ค.๕๘ รวมระยะเวลา ๑๐ เดือน

๒. การจัดทำนิทรรศการแสดงพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบูรพกษัตริย์ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในห้องพิพิธภัณฑ์ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ย.๕๘ เป็นต้นไป หรือภายหลังจากการก่อสร้างฐานและพระบรมราชานุสาวรีย์เสร็จเรียบร้อย
เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน
[url=http://www.rta.mi.th]www.rta.mi.th[/url]

ประชาชนหรือองค์กรทั่วไปร่วมบริจาคสมทบทุน โดยการโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารทหารไทย สาขา บก.ทบ.
ชื่อบัญชี "กองทุนสวัสดิการกองทัพบก" บัญชีกระแสรายวัน หมายเลขบัญชี ๐๗๗-๑-๐๗๔๗๔-๗

ทั้งนี้สามารถนำใบเสร็จไปลดหย่อนภาษีได้
รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่กองกิจการพลเรือน สำนักกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก โทรศัพท์ ๐-๒๒๙๗-๗๕๘๑-๔

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ยำกุนเชียง

ยำกุนเชียง

หลังจากตระเวณตามวงเหล้า ลานเบียร์ตามบ้านเพื่อนฝูงอยู่นาน ได้เห็นแม่ครัวทั้งมืออาชีพและสมัครเล่น ทำกับข้าวกับแกล้มมาให้ชิม เลยคิดว่าลองหาสูตรมาบอกต่อกันดีกว่า เพื่อที่จะได้ทำกินกันเองที่บ้านไม่ต้องออกไปข้างนอกให้เสียเงินมากไปโดยใช่เหตุ เอาเงินส่วนต่างมาซื้อเบียร์ ซื้อเหล้า มานั่งกินดีกว่า

เมนูนี้เป็นเมนูที่มีกันแทบทุกครัวเรือน สูตรใครสูตรมัน ไม่แน่นอนแล้วแต่ความชอบ แต่โดยรวมแล้วก็ทำประมาณนี้ เริ่มจากวัตถุดิบกันก่อน สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการทำยำกุนเชียง คือ กุนเชียงครับ ถ้าไม่มีจะไม่เป็นยำกุนเชียงเด็ดขาด (เชื่อผมเถอะ) เอามาประมาณสองชิ้นก็พอ มากไปมันเปลือง

ส่วนผสมยำ แตงกวา หอมใหญ่ พริกขี้หนู น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาลทราย และถ้าบ้านไหนมี ขึ้นฉ่ายกับมะเขือเทศ ก็เอามาด้วย ถ้ามีจะทำให้น่ากินขึ้น แต่ปกติ วงเหล้าจะเป็นกับแกล้มเอื้ออาทร คือมีอะไรก็ใส่ลงไป มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ฤดูกาล และไปกินที่บ้านใคร

วิธีการทำ เอากุนเชียงไปทำให้สุก จะทอด หรือ ย่างก็แล้วแต่แม่ครัว หั่นผัก แตงกวา หอมใหญ่ ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ เตรียมไว้ จัดการทำน้ำปรุงรส โดยการผสมน้ำมะนาว น้ำปลา พริกขี้หนู น้ำตาลทราย ในสัดส่วนตามชอบ คนจนเข้ากันดี เอาผักใส่รวมกับน้ำปรุงรสที่ทำไว้ เอากุนเชียงใส่จาน ราดส่วนผสมน้ำยำ แต่งจานนิดหน่อยโดยการกวาดไปรวมๆกันตรงกลาง ส่งไปวงเหล้าหน้าบ้านได้เลยครับ

หลังจากนั้น เตรียมกุนเชียง เพิ่มอีกชุด เพราะตามปกติแล้ว กุนเชียงจานแรกจะหมดก่อนน้ำยำ เอากุนเชียงชุดใหม่ผสมกับน้ำยำจานแรก จะได้เป็น ยำกุนเชียงอีกจาน นั่งจิบเบียร์ต่อได้อีกพักใหญ่ๆเลยทีเดียว

อาจจะหาสาระไม่ได้ แต่เมนูนี้ มีแทบทุกวงเหล้าแถวบ้านผมครับ

นภดล มณีวัต

สถานีรถไฟหัวหิน

สถานีรถไฟหัวหิน


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีรถไฟหัวหิน ตั้งอยู่ถนนพระปกเกล้า ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้ ทางด้านอาคารสถาปัตยกรรมได้รับยกย่องเป็นอาคารอนุรักษ์ อาคารหลังแรกก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2454

แต่อาคารที่เห็นในปัจจุบัน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2469 โดยพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการรถไฟ แห่งกรุงสยาม ซึ่งได้จากการยกอาคารไม้ที่จะใช้ในงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีแผนจะจัดที่สวนลุมพินีเมื่อปลายปี พ.ศ. 2468 แต่ไม่ได้มีการจัดจริงเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต และ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสให้เลิกจัดงานดังกล่าว เมื่อ 2 มกราคม พ.ศ. 2468 (นับอย่างปัจจุบันต้องปี พ.ศ. 2469 เพราะอยู่ในปี ค.ศ. 1926)

อาคารสถานีรถไฟหัวหินเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ อิทธิพลจากสถาปัตยกรรมวิคทอเรียเช่นเดียวกับโรงแรมรถไฟหัวหิน มีราย ละเอียดสวยงามประดับเสา ค้ำยัน และอื่นๆ

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ขงจื๊อ

ที่มาจาก http://www.rta.mi.th/chukiat/story/khongjue.html

ขงจื๊อ มีชื่อแบบสามัญว่า ข่งชิว บรรพบุรุษของ ขงจื๊อ เดิมเป็นชนชั้นสูงใน ประเทศซ่ง ซึ่งปัจจุบันคือจังหวัดเหอหนาน ภายหลังพวกเขาได้อพยพไปอยู่ในประเทศหลู่ (ปัจจุบันคือซานตง) ภายหลังที่พ่อของขงจื๊อ ถึงแก่กรรม แม่ผู้ยังเยาว์วัยได้หอบหิ้วขงจื๊อเข้าไปอยู่ในเมือง ชวีฝู่ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศหลู่ ผู้เป็นแม่เป็นห่วงเรื่องการศึกษาของขงจื๊อเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเล็งเห็นว่าการจะมีชีวิตที่มีอนาคตนั้น ขงจื๊อต้องเป็นขุนนาง และมีวิธีเดียวที่จะบรรลุได้ คือการเรียนหนังสือให้อ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นหนทางของการมีความรู้นั่นเอง ขงจื๊อเป็นเด็กที่เชื่อฟังคำของมารดาเป็นอย่างยิ่ง ตั้งใจเรียนหนังสืออย่างจริงจังและขยันขันแข็ง อ่านหนังสือจนลืมพักผ่อนบ่อยๆ แต่ละวันๆ มารดาต้องเตือนให้พักผ่อน เขาจึงจะหยุดพักผ่อน ซึ่งก็เป็นการพักผ่อนเพียงชั่วครู่ เขามักจะพูดว่า เรียนหนังสือต้องเรียนให้ดี การทำอะไรทั้งมวลต้องไม่หยุดกลางคัน


ตั้งแต่เด็กจนเป็นหนุ่ม ขงจื๊อมีความรู้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อายุยังไม่ถึง 20 ปี ก็เป็นผู้มีชื่อเสียงของประเทศหลู่คนหนึ่งแล้ว เมื่ออายุ 20 ปีเศษ มีบุตรชายหนึ่งคน ฮ่องเต้ของประเทศหลู่ ได้ส่งปลา หลี่-ยวี๋ มาแสดงความยินดี ลูกชายของขงจื๊อจึงมีชื่อว่า หลี่ ( ขง หลี่ )

แม้ว่าขงจื๊อจะมีชื่อเสียง แต่ก็เป็นผู้เปิดกว้าง ถ่อมตน มักจะพูดว่า เรื่องที่ตัวรู้นั้นยังมีไม่มาก ดังนั้นเพื่อนฝูงและเพื่อนบ้านต่างชอบเขาโดยทั่วกัน

ขงจื๊อเป็นผู้ที่มีความชาญฉลาดเป็นเลิศ เขามีดำริที่จะทำอะไรให้แก่ประเทศชาติเพื่อให้ประเทศหลู่เป็นประเทศที่เข้มแข็งประเทศหนึ่ง แต่เหล่าขุนนางที่เสนอหน้าต่อฮ่องเต้พูดถึงขงจื๊อ แต่เรื่องไม่สร้างสรรค์ ดังนั้นเขาจึงได้เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยอยู่ 2 ครั้ง ระหว่างอายุ 20 - 27 ปี จนกระทั่งในปี 501 ก่อน ค.ศ. อายุได้ 51 ปี ขงจื๊อจึงได้รับโองการจากฮ่องเต้ให้ดูแลกิจการภายในเมืองหลวง และภายหลังฮ่องเต้ทรงเห็นผลงานที่สำเร็จเรียบร้อยทั้งหลาย ยิ่งมอบงานสำคัญให้ขงจื๊อมากขึ้น ส่งผลให้ประเทศหลู่เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว

ประเทศฉี ซึ่งมีอาณาเขตติดกับประเทศหลู่ เป็นประเทศใหญ่ประเทศหนึ่ง ฮ่องเต้ประเทศฉี มีความกังวลต่อความเจริญของประเทศหลู่ จึงเกิดความคิดที่จะเชิญฮ่องเต้ประเทศหลู่มาพบปะสนทนาเจรจาความเมือง แล้วลักพาตัวฮ่องเต้ประเทศหลู่ เพื่อจะทำให้ประเทศฉีปกครองประเทศหลู่ได้

ก่อนที่ฮ่องเต้หลู่จะไปร่วมประชุมสนทนา ขงจื๊อได้กราบทูลว่าเคยได้ยินผู้อื่นพูดว่า การแลกเปลี่ยนใด ๆ กับต่างประเทศต้องเตรียมกำลังทหารให้พร้อม การเจรจาจึงบรรลุจุดประสงค์ ดังนั้น เห็นควรนำกองทหารติดตามฮ่องเต้ไปด้วย ฮ่องเต้หลู่เห็นชอบกับขงจื๊อ

วันนัดพบมาถึง ระหว่างที่ฮ่องเต้ 2 แผ่นดินกำลังเจรจากัน คนของฮ่องเต้ฉีได้เข้ามารายงานว่าได้เตรียมคณะเต้นรำไว้พร้อมแล้ว จะขอเริ่มการแสดงให้ชม ฮ่องเต้ฉี อนุญาตโดยไม่ลังเล บรรดานักแสดงทุกคนมีอาวุธ อีกทั้งการปรากฎตัวก็ดูไม่เหมือนคณะเต้นรำ ขงจื๊อเห็นสถานการณ์ไม่ดี ก็ตะโกนด้วยเสียงอันดังขึ้นว่า "ฮ่องเต้ของ 2 ประเทศกำลังสนทนากันอยู่ในเรื่องสำคัญ ทำไมจึงอนุญาตให้ผู้คนเหล่านี้เข้ามาเต้นรำ ขอให้สั่งให้พวกเขาออกไปเดี๋ยวนี้" ฮ่องเต้ฉี เห็นอาวุธมีดที่ตัวขงจื๊อ ซึ่งยืนประชิดอยู่ ก็รู้ว่าต้องให้นักแสดงเหล่านั้นออกไป และฮ่องเต้ฉี ทราบว่ากองทหารของประเทศหลู่ ก็ตั้งอยู่ไม่ไกล แผนการณ์จับตัวฮ่องเต้หลู่ไม่ประสบผลสำเร็จแน่นอน จึงประกาศจบการสนทนา

ระหว่างที่ขงจื๊อเป็นขุนนางประเทศหลู่ ประเทศนี้มีความเข้มแข็งมาก คุณภาพของชีวิตของประชาชนยิ่งดีวันดีคืน ฮ่องเต้และประชาชนล้วนเคารพนับถือขงจื๊อ

ขงจื๊อขณะอายุได้ 30 ปี ได้ตั้งโรงเรียนขึ้น 1 แห่ง นับเป็นโรงเรียนเอกชนแห่งแรกของประเทศจีน ในสมัยนั้นคนรู้หนังสือ จะมีอยู่เฉพาะในหมู่ขุนนางเท่านั้น คนธรรมดาอ่านหนังสือไม่ออก แต่นักเรียนของขงจื๊อสามารถทำอะไรได้ทุกอย่าง ในตอนเริ่มต้นพวกขุนนางต่างดูถูกขงจื๊อ ต่างคิดว่าคนอายุน้อยคงจะไม่สามารถสอนนักเรียนให้ดีได้ ต่อมาจึงเป็นที่ประจักษ์ว่านักเรียนที่ขงจื๊อสอนนั้นไม่เลว จึงได้นำบุตรหลานส่งเข้าเรียนที่โรงเรียนของขงจื๊อ

ขงจื๊อปฏิบัติต่อนักเรียนด้วยความเข้มงวด วันหนึ่งท่านวิพากย์นักเรียนชื่อ เหยียนหุย ว่า "ฉันพูดอะไร เธอพูดอย่างนั้น ตัวเองไม่มีความริเริ่ม ไม่มีการพัฒนา แล้วจะก้าวหน้าได้อย่างไร" เหยียนหุย ถามว่า "ทำอย่างไรจึงจะพัฒนา"

"ต้องคิดอยากพัฒนา ต้องหมั่นเล่าเรียน พินิจพิจารณามากๆ เอาแต่เรียนโดยไม่ได้พิจารณา ย่อมไม่สามารถได้รับความรู้อย่างสูง อย่างเช่น ฉันบอกเธอว่า มุมหนึ่งของโต๊ะเป็นมุมฉาก เธอควรจะพิจารณาว่าอีก 3 มุม ก็เป็นมุมฉาก และสรุปว่าโต๊ะนี้เป็นโต๊ะ 4 เหลี่ยม ไม่ใช่โต๊ะกลม"

นักเรียนอีกคนหนึ่งถามว่า "ถ้าอย่างนั้นจะทำอย่างไร จึงจะทำให้ตัวเองมีความรู้มาก ๆ "

"เรื่องนี้ต้องเรียนให้มากขึ้น พบเหตุปัญหาอะไรล้วนต้องถามว่าทำไม เมื่อไม่เข้าใจ อย่าทำเป็นเข้าใจ ทำอย่างฉันนี่ เมื่อมีคนถามปัญหาฉัน มีบ่อยๆ ที่ฉันตอบไม่ได้ ฉันก็นำปัญหานั้นไปถามคนอื่น อย่างนี้ เวลานานไปความรู้ย่อมมากขึ้นตามมา"

"อาจารย์พูดถูก" เหยียนหุยเห็นด้วย แต่ถามต่ออีกว่า "หากไม่มีท่านอาจารย์ พวกเราจะเรียนจบได้ความรู้ได้อย่างไร"

"ที่เธอพูดนั้นไม่ถูก เธอต้องรู้ว่า บนพื้นโลกนี้มีครูอยู่มากมาย หากมีคน 3 คนเดินมาในนั้นอย่างน้อย ต้องมี 1 คนเป็นครูของเรา แน่นอน เขาทำอะไรถูกต้องพวกเราก็ทำตามที่เขาทำ หากเขาทำอะไรไม่ดีงามพวกเรารู้ก็อย่างทำตามนั้น"

นักเรียนให้ความเคารพขงจื๊ออย่างมาก มีบางคนเรียนกับขงจื๊อถึง 12 ปี ยังไม่อยากจบ ขงจื๊อสอนลูกศิษย์ได้ประมาณ 3,000 คน มีอยู่ 72 คนบรรลุถึงความเป็นผู้มีชื่อเสียง บางคนยังได้เป็นขุนนางของประเทศด้วย

เมื่อขงจื๊ออายุมากขึ้น ได้ทำเรื่องสำคัญคือการเขียนหนังสือเรื่อง ชุนชิว เป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เน้นเรื่องไปที่บุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญของประเทศหลู่ ระหว่างปี 722 ก่อน ค.ศ. ถึง ปี 481 ก่อน ค.ศ. รวมประมาณ 240 ปี ในสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษ ต้องเขียนตัวหนังสือบนแผ่นไม้ไผ่ ตอนเริ่มเขียนเรื่องนี้ ขงจื๊อจะไม่ออกมาข้างนอกบ้านเป็นวันๆ มือข้างหนึ่งถือแผ่นไม้ไผ่ มืออีกข้างหนึ่งถือพู่กัน เขียนเรื่องอย่างตั้งอกตั้งใจ นักเรียนของท่านเห็นการทำงานที่จริงจัง และเหน็ดเหนื่อย ต่างเสนอตัวเขียนแทนท่าน ท่านบอกว่า "ไม่ได้ เรื่องที่ฉันเขียนเป็นเรื่องของคนที่ตายแล้ว และฉันต้องการนำทัศนะของฉันบรรจุลงไปด้วย ฉันคิดว่าคนรุ่นหลังจะได้เข้าใจฉัน หรือไม่ก็ประณามฉันได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า ฉันได้เขียนบทอย่างนี้ของชุนชิว

ขงจื๊อเมื่อตอนปลายอายุ 71 ปี จึงได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงเล่มนี้สำเร็จ เป็นเพราะการที่ขงจื๊อตั้งอกตั้งใจเขียนเป็นพิเศษ ดังนั้นทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญเหล่านั้นจึงถูกบันทึกไว้อย่างถูกต้องอย่างยิ่ง

ขณะที่ขงจื๊อเขียนหนังสือชุนชิวนั้น ได้เขียนบทกวีร่วมสมัยขึ้นด้วย ขงจื๊อชอบดนตรีเป็นชีวิตจิตใจ ตอนที่ท่านไปอยู่ที่ประเทศฉี เคยได้ยินการบรรเลงเพลงที่ไพเราะยิ่ง ฟังแล้วครั้งหนึ่ง ใน 3 เดือน ต่อมา จะไม่มีความรู้สึกอยากลิ้มรสเนื้อ ตัวท่านเองชอบร้องเพลงและเล่นขิม ไม่เพียงแต่บรรเลงเพลงด้วยตัวเอง แต่ยังสอนนักเรียนให้ฝึกหัดดนตรี ท่านได้แต่งบทกวีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโรงเรียนของท่าน จัดกลุ่มนักเรียนให้ศึกษาวิจัยทางดนตรี ทำให้นักเรียนบางคนมีความสามารถทั้งการบรรเลงดนตรี และการขับร้อง

ในเวลานั้นบทกวีที่มีชื่อเสียงในสังคมมีมากกว่า 3,000 บท ขงจื๊อ ได้คัดเลือกออกมา 305 บท รวบรวมเป็นหนังสือบทกวีเล่มแรกของประเทศจีนชื่อว่า ซือจิง

ในปีที่ขงจื๊ออายุ 69 ปี ลูกชายของท่าน (ขงหลี่) ได้ถึงแก่กรรม เมื่ออายุได้ 71 ปี นักเรียนที่ท่านรักที่สุดคือ เหยียนหุย ก็ถึงแก่กรรม อีก 2 ปี ถัดมา ท่านก็ได้สูญเสียศิษย์ที่ท่านรักที่สุดอีกคนหนึ่งคือ จื่อลู่ ขงจื๊อเสียใจมาก ได้เร่งรัดงานเขียนหนังสือหนักขึ้น แต่ในฤดูใบไม้ผลิของปี 479 ก่อน ค.ศ. ท่านได้ล้มป่วยลง แม้จะได้รับการเอาใจใส่อย่างดียิ่งจากบรรดาลูกศิษย์ แต่ท่านมีความรู้สึกว่าการมีชีวิตอยู่ต่อไปก็ไม่มีความหมายใดๆ แล้ว

วันหนึ่ง ลูกศิษย์ชื่อ จื่อก้ง ได้เข้ามาเยี่ยม ขงจื๊อพูดกับจื่อก้งว่า "นับจากวันนี้ฉันไม่สามารถพูดได้อีกต่อไป"

จื่อก้งรีบถามว่า "หากท่านไม่พูด แล้วพวกเราจะทำอย่างไรเล่า"

ท่านตอบว่า " สวรรค์ก็ไม่พูดอะไรเลย แต่ละปีก็ยังคงมี 4 ฤดู ไม่ใช่หรือ "

ในที่สุดนับจากวันนั้น ขงจื๊อก็ไม่พูดอะไรอีกเลย เจ็ดวันเจ็ดคืนไม่กินอาหารไม่ดื่มน้ำ และในที่สุดก็จากลูกศิษย์ของท่านไป

แปลจากแบบเรียนภาษาจีนของมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมแห่งปักกิ่ง
โดย พันเอก ชูเกียรติ มุ่งมิตร E-mail : Chukiati@rta.mi.th
เมื่อ 18 มี.ค. 2545

วัดอาฮงศิลาวาส จังหวัดบึงกาฬ

วัดอาฮงศิลาวาส จังหวัดบึงกาฬ


ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=538979569&Ntype=22

ที่ตั้ง

วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่เขตพื้นที่บ้าน อาฮง หมู่ 3 ต.ไคสี อ. บึงกาฬ จ.หนองคาย ตั้งอยู่ห่างจาก อ.บึงกาฬ 21 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดหนองคาย 115 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮง

ประวัติวัด

เมื่ออดีตกาลนานมาแล้วหลวงพ่อลุนผู้ก่อตั้งวัดนี้ขึ้นมาในกลางป่าดงดิบปะปนกับโขดหิน น้อยใหญ่ ซึ่งเป็นเทือกเขาเชื่อมโยงมาจากฝั่งประเทศลาว วัดนี้มีชื่อเรียกว่า "วัดป่าเลไลย" ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2506 หลวงพ่อลุนได้มรณภาพลงทำให้วัดนี้ไม่มีพระภิกษุอยู่จำวัดแบบถาวร เลย คงเหลือแต่ ชีแก่ๆอยู่เฝ้าจำวัดและรักษาวัดกระทั่งปี พ.ศ.2517ท่านเจ้าคุณนิเทศศาสนคุณ (หลวงพ่อมหาสมาน สิริปัญโญ)ผ่านมาแวะเข้าไปดูบริเวณวัดและเห็นสภาพทั่วไปสงบร่มรื่น อยู่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำโขงซึ่งจะมีโขดหินเรียงรายอยู่ในแม่น้ำยื่นจากฝั่งออกไปสู่กลางลำน้ำโขง มีชื่อเรียกว่า"แก่งอาฮง"

ต่อมาหลวงพ่อได้ปรึกษากับคณะพระภิกษุสงฆ์พร้อมญาติโยม จะ ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ให้เป็นวัดที่สมบูรณ์และถาวร โดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมและก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความจำเป็นแก่พระภิกษุสามเณรและญาติโยม เสร็จแล้วหลวงพ่อตั้งชื่อวัดใหม่ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมว่า"วัดอาฮงศิลาวาส" จนถึงปัจจุบันและได้พัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในปัจจุบัน

วัดถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่

วัดถ้ำเสือ จังหวัดกระบี่


ที่มา http://www.watthumsua-krabi.com/history-temple.htm

ในปี พ.ศ. 2518 หลวงพ่อจำเนียรมีความประสงค์จะหาสถานที่ปฏิบัติธรรมใหม่ ก็เกิดนิมิตในมโนภาพว่าเป็นสถานที่มีภูเขาล้อมรอบ และถ้ำชื่อ “ถ้ำเสือ” ตลอดถึงถ้ำต่างๆ หลายถ้ำ และอยู่ในเขตจังหวัดกระบี่ด้วย ทันทีที่เกิดนิมิตเห็นก็เกิดความรู้สึกนึกรักสถานที่นั้นขึ้นมาจับใจ เหมือนรู้สึกคุ้นเคยกับสถานที่นี้มาก่อน หลวงพ่อได้ให้พระอาจารย์หีด ไปเสาะแสวงหาสถานที่จะตั้งสำนัก จนในที่สุดพระอาจารย์หีดได้พบสถานที่หลายๆแห่งรวมถึงถ้ำเสือด้วย

หลวงพ่อได้มีโอกาสไปดูสถานที่ถ้ำตามที่พระอาจารย์หีดบอก ก็ตรงกับนิมิตที่หลวงพ่อเห็นจริงๆ หลวงพ่อจำเนียร ได้นำคณะพระภิกษุ สามเณร 53 แม่ชี 56ท่าน จากวัดสุคนธาวาส มาอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้อันมีนามว่าถ้ำเสือ หรือในอดีตวัดมี ชื่อว่า “สำนักสงฆ์หน้าชิง” ตามชื่อหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2518
และได้เปลี่ยนเป็น “วัดถ้ำเสือ” เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 มาบุกเบิกเปิดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานจนถึงปัจจุบัน ที่ได้ชื่อว่า วัดถ้ำเสือนั้น จากการสอบถามชาวบ้านได้ความว่า ในอดีตเคยมีเสือโคร่งจำนวนมากอาศัยอยู่บริเวณของถ้ำที่ตั้งอยู่หน้าเขาแก้ว ภายในถ้ำยังปรากฏหินธรรมชาติเป็นรูปแบบอุ้งเท้าเสืออีกด้วย

วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในจังหวัดกระบี่และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งชาวต่างประเทศ ทั้งความโดดเด่นของวัดและชื่อเสียงของ "หลวงพ่อจำเนียร" ประธานสงฆ์วัดถ้ำเสือที่มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาช้านาน สภาพโดยทั่วไปของ วัดถ้ำเสือมีลักษณะ เป็นสวนป่า เป็นโพรงถ้ำ มีเพิงผาและแหล่งถ้ำธรรมชาติ เช่น ถ้ำคนธรรพ์ ถ้ำลอด ถ้ำช้างแก้ว ถ้ำลูกธนู ถ้ำงู ถ้ำเต่า ถ้ำมือเสือ สิ่งสำคัญใน"วัดถ้ำเสือ"นั้นที่ดูเหมือนจะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์มากที่สุดและ เป็นที่นิยมชื่นชอบของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

ศาลหลักเมือง อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ศาลหลักเมือง อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาลหลักเมืองประจวบคีรีขันธ์ สร้างขึ้นในสมัย ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ ศาลหลักเมืองที่มีความสวยงามมาก เป็นศิลปะแบบ ลพบุรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ให้เปิดศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ที่ตั้งของศาลหลักเมืองจังหวัดประจวบอยู่ที่ ถนนสละชีพ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ที่มา http://prachuapparadise.blogspot.com/2010/04/blog-post_23.html

องค์หลักเมืองประจวบคีรีขันธ์ แกะสลักด้วยลวดลายประณีต วิจิตรบรรจงตามรูปแบบศิลปะลพบุรี เป็นศาลหลักเมืองที่ได้ชื่อว่าสวยและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวประจวบคีรีขันธ์ พากันมาสักการะอยู่เป็นประจำ ถือเป็นมงคล และหลักชัยคู่บ้านคู่เมือง สร้างขึ้นในสมัยที่ ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบรมราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิด ศาลหลักเมืองนี้ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2537
รอบบริเวณจะประกอบไปด้วยต้นไม้หลากหลายพันธุ์ สนามหญ้าปูเต็มพื้นที่ ทำให้รู้สึกถึงความร่มเย็นเป็นสุขเมื่อได้มาสักการะบูชา ผู้คนเมือง ชาวประจวบคีรีขันธ์มักจะให้ความสำคัญในการขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเชื่อว่าขอแล้วมักจะได้สมความปราถนา ถ้าเพื่อนๆแวะมาแถวประจวบฯ ก็อยากให้เข้ามาสักการะสักครั้งหนึ่งในชีวิต(อาจจะรู้ว่าความสมหวังเป็นไง) ซึ่งจะตั้งอยู่ใจกลางเมืองประจวบคีรีขันธ์ มองจากด้านหน้าศาลหลักเมือง จะสามารถเห็นทะเลอ่าวประจวบคีรีขันธ์ได้เลย บริเวณใกล้ๆกันจะเป็นสถานที่ตั้งศาลากลางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งใกล้วัดเขาช่องกระจก และวัดธรรมิการาวรวิหาร


ที่มา http://www.prachuaptown.com/travel/prachuap/lakmuang.php

เป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวประจวบคีรีขันธ์ พากันมาสักการะอยู่เป็นประจำ เพราะถือว่าเป็นมงคล และหลักชัยคู่บ้านคู่เมือง ทำให้ประชาชนอยู่ร่มเย็นเป็นสุข รุ่งเรืองตลอดเวลา สร้างขึ้นในสมัยที่ ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบรมราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเปิด ศาลหลักเมืองนี้ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2537

ศาลหลักเมืองชึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานเสาหลักเมือง สร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมสมัยลพบุรี ได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับอย่างสวยงาม นับเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง

แผ่นป้ายจารึกไว้ว่า

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมยอดชัยหลักเมือง และแผ่นดวงเมือง ตรงกับวันที่8 ธันวาคม พุทธศักราช 2536 และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ประกอบพิธีเปิดศาลหลักเมือง ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พุทธศักราช 2537

องค์หลักเมือง "จตุโชค" กำเนิดตรงกับวันที่ 29 ธันวาคม พุทธศักราช 2535 ณ เทือกเขาเขตบ้านย่านซื่อ ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีขนาดความสูง 2.74 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง0.37 เมตร สี่เศียร สี่พักตร์ แกะสลักลายไทย ศิลปศรีวิชัยทั้งองค์ และประดิษฐานเป็นการถาวร ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม พุทธศักราช 2536

ศาลหลักเมืองวางศิลาฤกษ์ ตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2536 เวลา 09.59 นาฬิกา ทรงจตุรมุขยอดปรางค์ 9 ชั้น ศิลปสยามลพบุรี พร้อมด้วยศาลบริวารประดิษฐานองค์เทพทั้งสี่ศาล

ร.ต.อำนวย ไทยานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการด้วยความร่วมมือร่วมใจ ของชาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และขาวจังหวัดอื่นๆ โดยมี พล ต.ต.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ให้คำปรึกษา และนางสาวศิระภา วาระเลิศ กับนายพรชัย วัฒนวิกย์กิจ รับผิดชอบงานวิศวกรรม สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม

พระธาตุดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

พระธาตุดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=30580.0


วัดพระธาตุดอยสะเก็ด เป็นวัดที่สร้างมาช้านาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2155 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2461 มีตำนานว่า พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์มาปรากฏกายทิพย์ ณ บนดอยแห่งนี้ มีพญานาค 2 สามีภรรยาที่อยู่บริเวณนั้น ถวายดอกบัว จึงทรงแสดงธรรมโปรดและประทานพระเกศาธาตุแก่พญานาคคู่นั้น พญานาคจึงได้อธิษฐานสร้างเจดีย์หิน แล้วนำเอาพระเกศาธาตุบรรจุ ประดิษฐานไว้บนดอยแห่งนี้

ตำนาน พระธาตุดอยสะเก็ด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ที่มา http://www.sookjai.com/index.php?topic=54613.0;wap2

วัดพระธาตุดอยสะเก็ด เป็นวัดที่เก่าแก่สร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๑๕๕ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑ และเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓ ได้รับให้ยกฐานะเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ประวัติหรือตำนานตามที่บันทึกไว้ในประวัติ-ตำนานวัด มีดังนี้
ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมอันวิเศษแล้ว ได้นำเอาธรรมะออกเผยแผ่แก่ชาวชนบทน้อยใหญ่ในชมพูทวีป จนได้มีผู้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมเป็นจำนวนมาก

ในกาลนั้นแล พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์มาปรากฏกายทิพย์ ณ บนดอยแห่งนี้ แล้วทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีสว่างเจิดจ้าไปทั่ว ขณะนั้นได้มีพญานาคคู่หนึ่งอาศัยอยู่ในหนองบัว (ห่างจากวัดพระธาตุดอยสะเก็ดประมาณ ๑ กิโลเมตร ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) ได้เห็นฉัพพรรณรังสีจึงแปลกใจพากันเลื้อยขึ้นสู่บนดอยแล้วได้ทัศนาเห็นพระพุทธองค์ บังเกิดความเลื่อมใสจึงแปลงกายเป็นชายหนุ่มหญิงสาวมาเข้าเฝ้าพร้อมกับได้นำดอกบัวมาถวาย พระพุทธองค์ทรงรับเอาดอกบัวแล้วจึงทรงแสดงธรรมโปรด และประทานพระเกศาธาตุแก่พญานาคแปลงคู่นั้น พญานาคจึงได้อธิษฐานสร้างเจดีย์หิน แล้วนำเอาพระเกศาธาตุบรรจุประดิษฐานไว้บนดอยแห่งนี้

ต่อมาได้มีนายพรานผู้แสวงหาของป่าได้มาพบเห็นเจดีย์มีลักษณะสวยงาม จึงเกิดอัศจรรย์แล้วได้นำเอาก้อนหินมาก่อเป็นรูปเจดีย์ขึ้น กลางคืนได้นิมิต (ฝัน) ว่าเจดีย์ที่ตนพบนั้นเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า จึงได้บอกกล่าวชักชวนประชาชนในแถบนั้นขึ้นไปสักการบูชา และเรียกชื่อภูเขาแห่งนี้ว่า “ดอยเส้นเกศ” บ้าง “ดอยสะเก็ด”บ้าง ที่เรียกว่าดอยเส้นเกศนั้นเพราะเรียกตามพระเกศาธาตุ ที่เรียกว่าดอยสะเก็ดเพราะเรียกเพี้ยนสำเนียงตามที่พญานาคลอกคราบ (ชาวเหนือเรียกดอยสะเก็ด หรือสละเกล็ด) คือ ถอดหรือลอกคราบนั้นเอง

ดอยแห่งนี้ได้มีพุทธศาสนิกชนขึ้นมานมัสการเจดีย์หิน อันเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุมากขึ้น จึงได้ก่อเจดีย์ปูนเสริมให้ใหญ่และมั่นคงกว่าเดิม

ต่อมาได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่า “ครูบาเก๋” จากอำเภอเมือง จังหวัดน่าน มาสร้างวิหารและบูรณะเจดีย์ พร้อมทั้งสถาปนาขึ้นเป็นวัด เรียกว่า “วัดพระธาตุดอยสะเก็ด” และได้มีชาวบ้านเข้ามาอยู่อาศัยในเชิงดอยและใกล้เคียงมากขึ้น ทางราชการจึงได้จัดตั้งเป็นอำเภอ โดยใช้ชื่อว่า “อำเภอดอยสะเก็ด” ตามภาษาเรียกของชาวบ้านเป็นต้นมา

จุลศักราช ๑๑๙๗ พ่อน้อยอินทจักร ได้มาบูรณะวิหารหลังเก่า และเมื่อจุลศักราช ๑๒๗๔ ครูบาชัย วัดลวงเหนือ (วัดศรีมุงเมืองปัจจุบัน) ได้มาซ่อมแซมวิหารให้ดีกว่าเดิม และเสริมองค์เจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม และในจุลศักราช ๑๒๕๗ ตรงกับ พ.ศ.๒๔๔๘ พระอภิวงศ์ หรือ ครูบากาวิชัย พร้อมด้วยพ่อหนานอินทวงศ์ (พ่อขุนผดุงดอยแดน) ได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ในหมู่บ้านเชิงดอย (ตลาดอำเภอ) เป็นครอบครัวแรก ได้ร่วมกันอุปถัมภ์วัดพระธาตุดอยสะเก็ดตลอดมา

ปูชยนียวัตถุของโบราณเก่าแก่ล้ำค่าของวัดพระธาตุดอยสะเก็ดมีมาก อาทิเช่น มีเจดีย์ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี มีพระบรมสารีริกธาตุอันเป็นปูชนียวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สักการะเคารพของชาวอำเภอดอยสะเก็ดทุกปี

ในเดือน ๘ เป็ง (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ใต้) ทางวัดจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากที่ประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนสรงน้ำ

การรดน้ำผู้ใหญ่ ในประเพณีสงกรานต์

การรดน้ำผู้ใหญ่ ในประเพณีสงกรานต์

สืบเนื่องจากที่ผมมีความสงสัยใคร่อยากจะรู้ ในเรื่องราวของการรดน้ำผู้ใหญ่เพื่อขอพร ในวันสงกรานต์ว่าจริงๆแล้วมีที่มาอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไรที่จะทำได้อย่างถูกต้อง เพราะทุกวันนี้ดูเหมือนจะทำตามใจตัวเอง หรือตามใจผู้จัด พอให้จบๆงานไปก็แค่นั้น ว่าแล้วก้หันไปรื้อตู้หนังสือเก่าที่บ้านมาหาขัอมูล และได้ข้อมูลมานิดหน่อย เลยนำมาเล่าสู่กันฟัง

ผมเจอข้อมูลจาก หนังสือลัทธิธรรมเนียมประเพณีไทย ของท่านเสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป พิมพ์ในปี 2508 เลยนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ท่านเล่าว่าในการรดน้ำผู้ใหญ่ที่ทำกันในภูมิภาคนั้น มักจะนัดหมายกันที่วัดซึ่งจะจัดสถานที่ไว้เป็นที่รดน้ำ มีการนิมนต์พระมาให้ศีล แล้วเริ่มพิธีรดน้ำ รดอาบแล้วผู้รดจะนำผ้าใหม่ มาให้เปลี่ยนมี ผ้านุ่งผืนหนึ่ง ผ้าห่มผืนหนึ่ง พร้อมดอกไม้ ธูปเทียน เป็นสักการะบูชา การรดน้ำในพิธีเป็นการรดน้ำ อาบน้ำให้กันจริงๆ และน่าจะเปียกไปทั้งตัว ดังนั้นผู้รดจึงต้องเตรียมผ้ามาให้เปลี่ยนด้วย

นอกจากนี้ท่านได้สอบถามเพื่อนๆชาวอินเดีย ที่อยู่ในแคว้นเบงกอล ปัญจาป ได้ความเพิ่มเติมมาอีกว่า ในวันก่อนหน้ามหาสงกรานต์หรือวันมหาสงกรานต์ และวันต่อๆไปอีกสองวัน จะมีพิธีที่เรียกว่า พิธีสนานกาย คือการอาบน้ำเพื่อชำระมลทิน ถ้าอยู่ใกล้แม่น้ำคงคา ก็จะไปสนานกายที่แม่น้ำคงคา คนแก่ๆจะไปทำพิธีพลีบูชา ที่เทวาลัย แล้วจะมีการแจกเสื้อผ้าของขวัญให้เด็กๆ ลูกหลานและคนใช้ มีการเลี้ยงอาหาร เป็นงานใหญ่เลยทีเดียว

ดังนั้นผมคิดว่าการรดน้ำผู้ใหญ่แบบนี้เราทำอยู่คือ การรดลงบนมือแล้วผู้ใหญ่นำน้ำกลับมาพรมบนหัวให้พร แบบที่เราทำกันอยู่ก็เหมาะสมดีแล้วกับบ้านเรา และเป็นข้อดีของบ้านเราที่สามารถรับเอาทุกๆวัฒนธรรมรอบด้านเข้ามา และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเข้ากันได้ดีกับชีวิตประจำวัน

ยังมีเรื่องราวอีกมากที่ยังน่าสนใจและน่าค้นหา ช่วงนี้พอมีเวลาว่าง จะลองรื้อๆค้นๆ หามาอ่านดู และถ้ามีอะไรที่น่าสนใจจะนำมาเลาสู่กันฟังอีกครั้งนะครับ

นภดล มณีวัต

วัดสรศักดิ์ จังหวัดสุโขทัย

ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ใกล้ ศาลตาผาแดง และ วัดซ่อนข้าว สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1955 ประวัติและเรื่องราวของวัดได้ถูกจารึกลงใน ศิลาจารึกวัดสรศักดิ์ (ศิลาจารึกหลักที่ 49) ที่ได้ค้นพบใกล้กับบริเวณตระพังสอ เป็นจารึกหินชนวน รูปใบเสมา ซึ่งจารึกไว้เมื่อปี พ.ศ. 1960 ได้กล่าวไว้ว่า นายอินทรสรศักดิ์ ได้ขอพระราชทานที่ดินจาก ออกญาธรรมราชา (พระมหาธรรมราชาที่ 3) เจ้าเมืองสุโขทัย เพื่อสร้างวัดถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์


ครั้นสร้างเสร็จ ได้นิมนต์พระมหาเถรธรรมไตรโลกญาณทัสสี พระน้าของพระองค์ จากตำบลดาวขอน ให้มาจำพรรษาที่ ณ วัดแห่งนี้ ต่อมาปี พ.ศ. 1959 สมเด็จพระบรมราชาที่ 2 (เจ้าสามพระยา) แห่งกรุงศรีอยุธยา ขณะยังทรงพระเยาว์ ได้เสด็จมาบำเพ็ญพระราชกุศล พร้อมพระราชมารดาและพระมาตุจฉา (พระน้า) ที่เมืองสุโขทัย โดยพระมาตุจฉาได้เสด็จประทับยังพระตำหนักสนามเก่า ติดกับวัดสรศักดิ์

โบราณสถานภายในวัดสรศักดิ์ ประกอบด้วย

พระวิหาร ตั้งอยู่ส่วนหน้าของวัด เป็นพระวิหาร ขนาด 5 ห้อง เหลือเฉพาะส่วนฐานที่ก่อด้วยอิฐ และเสาที่ก่อด้วยศิลาแลง โกลนเป็นก้อนกลมก่อซ้อนกันเป็นรูปเสา

เจดีย์ประธานรูปช้างล้อม ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ก่อด้วยอิฐ รอบฐานประดับด้วยปูนปั้นรูปช้าง จำนวน 25 เชือก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพาหนะของพระเจ้าจักรพรรดิ (ชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า) เป็นตัวแทนของสัตว์พาหนะที่ค้ำจุนพระพุทธศาสนา ฐานเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมหน้ากระดานยกสูง ประดับด้วยปูนปั้นรูปช้างทั้งสี่ด้าน ส่วนบนเป็นฐานกลม ลดหลั่นเป็นชั้นขึ้นไปถึงชั้นบัวถลา เหนือระฆังเป็นบัลลังก์ ก้านฉัตรและปลียอด

วัดสรศักดิ์ ตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 1113 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

หลวงพ่อเกษม เขมโก

หลวงพ่อเกษม เขมโก (นามเดิม เจ้าเกษม ณ ลำปาง) เป็นพระเถระและเกจิอาจารย์ ผู้เคร่งครัดในธุดงควัตร ปลีกวิเวก พุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำปางและชาวไทยเคารพนับถือว่าท่านเป็นพระเถราจารย์ปูชนียบุคคลรูปหนึ่งของประเทศไทย และมีผู้มีความเคารพศรัทธาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นเจ้านายในราชวงศ์ทิพย์จักร ที่ออกผนวชอีกด้วย


http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=30568.0

ประวัติ

หลวงพ่อเกษม เขมโก เดิมมีนามว่า เจ้าเกษม ณ ลำปาง ประสูติ เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 เป็นบุตรใน เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ) รับราชการเป็นปลัดอำเภอ กับ เจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง และเป็นราชปนัดดาในเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้าย

สมัยตอนเด็กๆมีคนเล่าว่าท่านซนมากมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านปีนต้นบ่ามั่น(ต้นฝรั่ง)เกิดผลัดตกจนมีแผลเป็นที่ศีรษะ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งเป็นการบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดั๊ว 7 วันได้ลาสิกขาและท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอีกครั้งเมื่ออายุ 15 ปีและจำวัดอยู่ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ท่านได้ศึกษาด้านพระปรัยัติธรรมจนสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. 2474 และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในปีถัดมา โดยมีพระธรรมจินดานายก เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "เขมโก" แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม โดยพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ได้ศึกษาภาษาบาลีที่สำนักวัดศรีล้อม ต่อมาได้ย้ายมาศึกษาแผนกนักธรรมที่สำนักวัดเชียงราย

พ.ศ. 2479 ท่านสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก ท่านเรียนรู้ภาษาบาลีจนสามารถเขียนและแปลได้ รวมทั้งสามารถแปลเป็นภาษาบาลีได้เป็นอย่างดี แต่ท่านไม่ยอมสอบเอาวุฒิ จนครูบาอาจารย์ทุกรูปต่างเข้าใจว่าพระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณะศักดิ์สูง ๆ เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น

เมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติธรรมแล้ว ท่านแสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนา จนกระทั่ง ท่านทราบข่าวว่ามีพระเกจิรูปหนึ่งมีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนา คือ ครูบาแก่น สุมโน ท่านจึงฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านได้ตามครูบาแก่น สุมโน ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึก จนถึงช่วงเข้าพรรษาซึ่งพระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราวท่านจึงต้องแยกทางกับพระอาจารย์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออก ก็ติดตามอาจารย์ออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนา

ต่อมา เจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืน มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ได้ประชุมกันเพื่อหาเจ้าอาวาสรูปใหม่และต่างลงความเห็นพ้องต้องกันเห็นควรว่า พระภิกษุ เจ้าเกษม เขมโก มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อท่านได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ท่านก็ไม่ยินดียินร้าย แต่ท่านก็ห่วงทางวัดเพราะท่านเคยจำวัดนี้ ท่านเห็นว่าถือเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน หลังจากนั้นท่านก็ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสหลายครั้งเนื่องจากท่านอยากจะออกธุดงค์ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น ท่านจึงออกจากวัดบุญยืนไปที่ศาลาวังทานพร้อมเขียนข้อความลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสไว้ด้วย

หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นพระสายวิปัสสนาธุระ ไม่ยึดติดแม้แต่สถานที่ ท่านได้ปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ตลอดชนชีพ เป็นพระที่เป็นที่เคารพสักการะของคนในจังหวัดลำปางและทั่วประเทศ ท่านปฏิบัติศีลบริสุทธิ์ตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ติดยึดในกิเลสทั้งปวง หลวงพ่อเกษม เขมโก มรณภาพ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อเวลา 19:40 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ซึ่งตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 2 ยังความอาลัยเศร้าโศกเสียใจมายังหมู่สานุศิษย์ทั่วประเทศ ส่วนสรีระของท่านนั้นก็ยังความอัศจรรย์ด้วยเนื่องจากไม่เน่าเปื่อยเหมือนอย่างสังขารทั่วไป ทั้งยังเขียนป้ายบอกผู้ที่มาเคารพสรีระ ท่านด้วยว่าให้พนมมือไหว้ที่หน้าอกเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์อย่างศพของพระเถระทั่วไปนับว่าท่าน นั้นถือสมถะเป็นอย่างมาก

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลย

พระธาตุศรีสองรัก ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ. 2103 เสร็จในปี พ.ศ. 2106


พระธาตุศรีสองรักสร้างขึ้นเพื่อ เป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา(สมัยพระมหาจักรพรรดิ) และกรุงศรีสัตนาคนหุต (ปัจจุบันคือ เวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)

กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงครองราชสมบัติ ตรงกับสมัยที่พม่าเรืองอำนาจ และมีการรุกรานดินแดนต่าง ๆ เพื่อขยายอำนาจ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช จึงตกลงรวมกำลัง เพื่อต่อสู้กับพม่า จึงทรงกระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน และเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีต่อกัน จึงได้ร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรักเพื่อเป็นสักขีพยาน ณ กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นรอยต่อของทั้งสองราชอาณาจักร

นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปะทิเบต หัวนาคปรกสร้างด้วยศิลา องค์พระพุทธรูปสร้างด้วยทองสัมริด มีหน้าตักกว้าง 21 นิ้ว สูง 30 นิ้ว

ทุกวันขึ้น 15 เดือน 6 ชาวอำเภอด่านซ้าย หรือ"ลูกผึ้งลูกเทียน" จะร่วมกันจัดงานสมโภชพระธาตุขึ้น โดยจะนำต้นผึ้ง มาถวายพระธาตุถือเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นประจำทุกปี