วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นพระราชวังฤดูร้อนซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ประวัติ

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นพระราชวังฤดูร้อนซึ่งเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็นพระราชวังที่มีความเรียบง่ายที่สุดซึ่งสร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เองเพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2467 เป็นเวลา3เดือน และครั้งที่สองในปีเดียวกัน หลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก5เดือนต่อมาพระองค์ก็ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง
ปัจจุบัน

ปัจจุบัน พระราชนิเวศน์ยังคงอยู่บนที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นค่ายพระรามหก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อพระราชนิเวศน์ทรุดโทรมลงจนถึงขั้นปรักหักพัง ความทราบฝ่าพระบาท สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ พร้อมพระราชทานกำเนิดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ เพื่อเป็นกำลังหลักในการฟื้นฟูและพัฒนาพระราชนิเวศน์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมของประเทศ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
ตำนานของพระราชนิเวศน์แห่งนี้

พระราชนิเวศน์แห่งนี้ มีตำนานที่เล่าขานต่อๆ สืบเนื่องมาจากเมื่อคราวที่พระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี ทรงพระครรภ์นั้น พระมหาธีรราชเจ้าทรงพระเกษมสำราญยิ่งด้วยทรงมุ่งหวังว่าจะทรงมีพระราชปิโยรส แต่ความหวังทั้งมวลก็สิ้น สลายเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ ไม่สามารถมีพระประสูติกาลได้ ยามนั้นพระองค์ท่านทรงอภิบาลพระมเหสีด้วยน้ำพระทัยเป็นห่วงและเศร้าสร้อย ณ พระที่นั่งสมุทรพิมานแห่งนี้ อย่างไรก็ดี พระราชนิเวศน์ยังเป็นสถานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบังเกิดพระราชประดิพัทธ์ในความรักครั้งต่อมากับคุณสุวัทนา ซึ่งต่อมาทรงสถาปนาเป็นเจ้าจอมสุวัทนา และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ตามลำดับ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวันพร้อมด้วย พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ซึ่งมีพระครรภ์พระหน่อ อีกครั้งระหว่างวันที่ 12 เมษายน ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2468การเสด็จครั้งนี้เสมือน หนึ่งการเสด็จมาเพื่ออำลาพระราชนิเวศน์ที่ทรงรักโดยแท้ เพราะเมื่อเสด็จกลับพระนคร อีก 5 เดือนพระนางเจ้าสุวัทนาฯ ประสูติพระราชธิดาแล้ว วันรุ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรมของพระราชนิเวศน์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์คือ(ไทยผสมยุโรป)สร้างด้วยไม้สักทองลักษณะเป็นอาคาร2ชั้นเปิดโล่งใต้ถุนสูงบริเวณใต้ถุนทำเป็นคอนกรีตหลังคาเป็นหลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องว่าวแบบสี่เหลี่ยมซึ่งสามารถกันแดดและกันฝนได้ดีกว่าแบบธรรมดาเพดานยกพื้นสูงมีบานเกร็ดระบายความร้อนโดยมีเสารองรับพระที่นั่งทั้งหมด1080ต้นวางในแนวเดียวกันเสาทุกต้นมีการหล่อขอบฐานและยกขอบขึ้นไปรางน้ำเรียกว่าบัวขอบเพื่อกันมดและสัตว์อื่นๆซึ่งในสมัยนั้นมีมดและสัตว์อื่นๆชุกชุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น