วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2559

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง อุดรธานี

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง


ประวัติและความเป็นมาของโครงการ

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง เป็นโครงการประเภทเขื่อนดินเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ในเขตสำนักชลประทานที่ 5 จังหวัดอุดรธานี ก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2513 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2527

กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงสร้างเมืองอุดรธานี และในขระนั้นได้ใช้น้ำจากหนองบัว, หนองสำโรง, หนองประจักษ์ และลำห้วยหมากแข้ง ซึ่งไหลผ่านตัวเมือง ในการอุปโภค-บริโภค ต่อมามีการขยายของตัวเมืองและประชากร อีกทั้งทรงจัดตั้งกองทหราเพื่อรักษาเมือง แหล่งน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ประกอบกับบางปีเกิดภาวะฝนแล้ง สร้างความเสียหายแก่พื้นที่เพาะปลูกชานเมือง สมุหเทศาภิบาลอุดรจึงร้องขอไปยังกระทรวงเกษตราธิการพิจารณาปิดกั้นทำนบดินในลำห้วยหลวง ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ และขุดคลองชักน้ำมาเลี้ยงตัวเมืองและพื้นที่การเกษตรรอบตัวเมือง


พ.ศ.2476 กรมชลประทานเริ่มพิจารณาวางโครงการ สำรวจสภาพภูมิประเทศและขออนุมัติงบประมาณ

พ.ศ.2483 ก่อสร้างอาคารเขื่อนระบายน้ำคอนกรีต ความจุ 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ขนาดประตูระบาย 5.00 เมตร จำนวน 2 ช่อง ปิดกั้นลำห้วยหลวงที่บ้านหัวขัว ตำบลกุดจับ อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี พร้อมขุดคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา ยาว 28.50 กิโลเมตร ส่งน้ำพื้นที่การเกษตรจำนวน 40,000 ไร่

พ.ศ.2513 เนื่องจากปริมาณน้ำที่เก็บกักไม่เพียงพอ กรมชลประทานได้ก่อสร้างหัวงานโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวงขึ้นใหม่ ถัดขึ้นไปทางด้านเหนือน้ำจากเขื่อนระบายน้ำห้วยหลวงเดิมอีก 7.50 กิโลเมตร ที่ตั้ง บ้านโคกสะอาด ตำบลโคกสะอาด อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันตก 25 กิโลเมตร ตามถนนหลวงหมายเลข 210 (อุดรธานี – หนองบัวลำภู) พิกัด 48 QTE 455222 ระวาง 5543 IV เส้นละติจูดที่ 17.3 N ลองติจูด 102.4 E เป็นเขื่อนดินปิดกั้นลำห้วยหลวง และลำห้วยกระติบ มีความจุ 118.362 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมระบบส่งน้ำครอบคลุมพื้นที่การเกษตรในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี และอำเภอกุดจับ จำนวน 100,000 ไร่ การก่อสร้างแล้วเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการเมื่อปี พ.ศ.2527

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น