วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

ตำนานเจ้าพ่อขุนตาน

ตำนานเจ้าพ่อขุนตาน

ที่มา http://www.komkid.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/%E0%B8%9E%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99/


พญาเบิกเป็นโอรสของพญายี่บา กษัตริย์ผู้ครองแคว้นหริภุญไชยหรือ (เมืองลำพูนในปัจจุบัน) ใน ปี พ.ศ. ๑๘๑๗ พญามังราย ผู้ครองเมืองเชียงแสนปรารถนาจะได้แค้วนหริภุญไชยไว้ในอำนาจ จึงส่งอ้ายฟ้า ขุนศึกชาวลัวะเข้ามาเป็นไส้ศึก โดยทำทีเป็นลงโทษโบยตีอ้ายฟ้าอย่างหนักและเนรเทศออกจากเมือง

จากนั้น อ้ายฟ้าได้ให้พ่อค้าที่รู้จักคุ้นเคยกับตนพาไปเข้าเฝ้าพญายี่บาที่เมืองลำพูนและขอถวายตัวเป็นข้ารับใช้ ทั้งนี้ เมื่อพญายี่บาเห็นว่าอ้ายฟ้าถูกลงทัณฑ์อย่างรุนแรงเจียนตายมาจริง จึงทรงเชื่อว่าอีกฝ่ายมาสวาภักดิ์ด้วยความจริงใจ ครั้นต่อมาเมื่ออ้ายฟ้าสำแดงสติปัญญาช่วยในงานราชการบ้านเมืองเป็นอันมาก พญายี่บาก็โปรดปรานขุนศึกชาวลัวะผู้นี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยหลังจากเข้ารับราชการได้เพียงสองปี พญายี่บาก็ตั้งอ้ายฟ้าให้เป็นเสนาบดีผู้ใหญ่มีหน้าที่รับคำสั่งจากพระองค์แต่เพียงผู้เดียว

ครั้นได้ตำแหน่งสำคัญแล้ว อ้ายฟ้าก็วางอุบายทำให้ชาวเมืองเสื่อมความชื่นชมในตัวพญายี่บาต่างๆ8596665นานา เช่นเรียกเก็บภาษีเพิ่มและเรียกเกณฑ์แรงงานอย่างหนัก จนชาวเมืองพากันโกรธแค้นและเสื่อมความจงรักภักดีในพญายี่บา

หลังจากเห็นว่าแผนการของตนดำเนินมาจนเป็นผลสำเร็จแล้ว อ้ายฟ้าก็ลอบส่งข่าวให้พญามังรายยกทัพมาตีเมืองลำพูน ซึ่งเมื่อทัพเชียงแสนมาถึง พวกชาวเมืองลำพูนก็ไม่ตั้งใจสู้ศึก ซ้ำยังมีบางพวกแปรภักดิ์ไปเข้ากับทัพเชียงแสนอีกด้วย จนทำให้พญามังรายสามารถยึดลำพูนหริภุญไชยได้อย่างง่ายดาย

ฝ่ายพญายี่บาได้หนีไปอยู่ที่เมืองลำปางซึ่งพญาเบิกโอรสของพระองค์ครองเมืองอยู่ ครั้นเมื่อพญาเบิกทรงทราบว่า พระบิดาต้องกลพวกเชียงแสนจนเสียเมืองลำพูนก็โกรธกริ้วและพยายามรวบรวมไพร่พลเพื่อช่วยพระบิดายกทัพไปตีเอาลำพูนกลับคืน

สิบสี่ปีต่อมา หลังจากสะสมไพร่พลจนเข้มแข็งแล้ว พญายี่บาก็ให้พญาเบิกนำทัพใหญ่มาตีเมืองลำพูนหริภุญไชย ทว่าทางฝ่ายพญามังรายได้เตรียมตัวไว้พร้อมแล้ว จึงจัดทัพใหญ่ไว้รอรับข้าศึก และเมื่อทัพพญาเบิกมาถึง ก็ถูกทัพเชียงแสนเข้าโจมตีจนแตกพ่าย สูญเสียรี้พลไปเป็นจำนวนมาก ส่วนพญาเบิกนั้นได้นำไพร่พลที่เหลือถอยหนีไปจนถึงบ้านแม่ตานในเขตเมืองลำปาง แต่ก็ถูกทัพเชียงแสนติดตามมาทันและเข้าล้อมทัพของพระองค์ไว้ กองทัพของพญาเบิกถูกทำลายย่อยยับ ส่วนพญาเบิกนั้นถูกทหารเชียงแสนจับตัวได้และถูกปลงพระชนม์เสียในที่นั้น

ทางด้านพญายี่บาเมื่อทราบข่าวว่า พระโอรสสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ทรงเห็นว่า พระองค์หมดหนทางที่จะรักษาเมืองลำปางเอาไว้ได้ จึงเสด็จหนีออกจากลำปางลงไปพึ่งพญาสองแควที่เมืองพิษณุโลก แคว้นสุโขทัย ขณะที่ฝ่ายพญามังรายเองก็มิได้ส่งทัพไล่ติดตามไปแต่อย่างใด ด้วยเห็นว่าพญายี่บาหมดสิ้นทางที่จะต่อสู้กับเชียงแสนได้อีกแล้ว

สำหรับพญาเบิกนั้น วีรกรรมความกล้าหาญและความกตัญญูของพระองค์ที่นำทัพสู้ศึกเพื่อช่วยพระบิดาชิงเมืองกลับคืน จนต้องสิ้นพระชนม์นั้น ทำให้ชนรุ่นหลังเล่าขานเรื่องราวของพระองค์สืบมาและขนานนามให้พระองค์เป็น เจ้าพ่อขุนตาน ซึ่งในปัจจุบันมีศาลอันศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่ที่ปากถ้ำขุนตาน ใกล้กับสถานีรถไฟขุนตาน


ประวัติเจ้าพ่อขุนตาน มีพระนามว่า "พญาเบิก" เป็นเจ้าเมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) และเจ้าเมืองเวียงตานใน อ.ห้างฉัตร เป็นราชบุตรของพญายีบาเจ้านครหริภุญชัย (ลำพูน) ในราชวงศ์แห่งจามเทวี โดยในปี พ.ศ.1814 ครั้งพญายีบาเป็นเจ้าครองนครหริภุญชัย (ลำพูน) ก็ได้ให้พญาเบิก ราชบุตรในฐานะยุพราชไปครองเมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) จนกระทั่งปี พ.ศ.183 กองทัพพญาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงราย และเจ้าเมืองฝางได้ยกไพร่พลมาตีเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) และยึดเมืองหริภุญชัยได้ พญายีบาจึงเสด็จหนีไปพึ่งพญาเบิก ผู้เป็นราชบุตรที่เมืองเขลางค์นคร

ทำให้พญาเบิกเข้าเมืองเขลางค์นคร สะสมไพร่พล เพื่อความมั่นคงของเมืองเขลางค์นคร จึงไปสร้างเมืองต้านศึกในบริเวณพื้นที่แห่งหนึ่งในเขต อ.ห้างฉัตร ใกล้กับทิวเขาใหญ่ หรือดอยขุนตานในปัจจุบัน ต่อมาก็มีการขนานนามว่า "เวียงต้าน" (เวียงตาลในปัจจุบัน) ส่วนทิวเขาใหญ่กั้นระหว่างลำปาง และลำพูน ซึ่งเป็นแนววางกำลังไพร่พลตีสกัดทัพพญาเม็งราย ต่อมาเรียกว่า ดอยขุนต้าน (ดอยขุนตาลในปัจจุบัน)

การสู้รบที่เมืองต้นศึก และตามแนวทิวเขาขุนตานเป็นการสู้รบอย่างหนัก ในที่สุดก็พ่ายแพ้ทัพพญาเม็งรายถอยร่นมาติดหล่มหนองใหญ่แห่งหนึ่ง ปัจจุบัน คือ บ้านหนองหล่ม และแพ้อย่างสิ้นเชิงที่ตำบลเนินทุ่งแห่งหนึ่ง ปัจจุบันก็คือ บ้านหลิ่งก้าน ในตำบลหนองหล่ม อำเภอห้างฉัตร นั่นเอง โดยศึกในการปกป้องบ้านเมืองในครั้งนี้ พญาเบิกเป็นยอดนักรบ ที่ทรงเสียสละพระชนม์ชีพในการศึก จึงทำให้ได้รับการเทิดทูนพระประวัติของพญาเบิก เป็นที่รู้จักในนามเจ้าพ่อขุนตาน มาจนถึงทุกวันนี้ และทุกวันที่ 12 พฤษภาคมของทุกปี ก็จะมีพิธีบวงสรวง และสักการะพระองค์ท่าน เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป


พระคาถาบูชาเจ้าพ่อขุนตาล (พระยาเบิก)

พระคาถาบูชาดังนี้

ตั้งนะโม3จบ

สัพพะทา อะเนกะตานะ สัมปันเน มหาปัพพะเต
ปะติฎฐิตัสสะ วิสาระทะรัญโญ ปะฎิรูปัสสะ
สิระสา นะมามิ ตัสสานุภาเวนะ มัยหัง
สัพพะปัททะวา สะหะสา วิคัจฉันตุ

( กล่าว 3 ครั้ง แล้วอธิฐานดังนี้ )

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมไหว้ต่อสารูปพระยาเบิก(เจ้าพ่อขุนตาน)อันตั้งอยู่บนภูเขาขุนตาน ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของข้าพเจ้าทั้งหลาย
ผู้สัญจรไปมา ขอบารมีพระองค์จงปกปักรักษาข้าพเจ้าให้ปราศจากภัยอันตรายทั้งปวง และให้มีโชคมีลาภตลอกกาลนานเทอญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น