บ้านผาผ่า อำเภอสบเมย มีอยู่ 6 ตำบล ซึ่งแต่ละตำบลประกอบด้วยหมู่บ้านต่างๆมากมาย หาดูรายละเอียดได้ดังนี้
ประวัติความเป็นมาอำเภอสบเมย
บ้านผาผ่า แต่เดิมมีสภาพเป็นป่าทึบแน่น ต่อมาท้าวพรหม ซึ่งเดินทางมาจากเชียงใหม่เพื่อปราบปรามข้าศึกได้เดินทางผ่านป่าดงนี้ เห็นว่าสถานที่แห่งนี้เหมาะสมกับการที่จะก่อตั้งเป็นที่พักริมทาง จึงได้สร้างบ้านเรือนขึ้นมาอีกประมาณสิบกว่าหลังคาเรือน และเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่าหมู่บ้านดอยล้อมหรือดอยวง ทั้งนี้ก็เพราะว่าหมู่บ้านตั้งอยู่กลางหุบเขา ซึ่งมองดูคล้ายกับอยู่ในกระทะ ต่อมาหมู่บ้านดอยล้อมมีผู้คนเพิ่มมากขึ้น บ้านเรือนก็ขยับขยายขึ้นเป็นลำดับ จนวันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ประหลาดขึ้นในหมู่บ้าน ซึ่งในขณะนั้นเป็นเวลากลางคืนได้เกิดฝนฟ้าคะนอง และเกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวคล้ายกับภูเขาถล่ม ชาวบ้านผู้กล้าหาญหลายคนได้จุดใต้ออกไปดู ก็พบรอยมีลักษณะเป็นร่องคล้ายกับถูกของหนักครูดไถไปตามทางเดินของหมู่บ้าน ด้วยความแปลกใจก็พากันเดินไปตามรอยนั้นไป จนสุกทางเดินในหมู่บ้าน ก็พบก้อนหินโตประมาณ 6 คนโอบ ตั้งอยู่ตรงท่าน้ำก้อนหินมีสีขาวสลับดำซึ่งทำให้เกิดเสียงและมีรอยดังกล่าวกลิ้งลงมาจากยอดเขา ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าดอยผาลาย คำว่าผาลาย เป็นภาษาถิ่น ผา หมายถึง หิน ลายก็มี 2 สี หรือ 3 สีสลับกันไป ด้วยเหตุที่มีก้อนหินลายกลิ้งผ่านกลางหมู่บ้านลงไปนี่เอง บ้านดอยวงจึงเปลี่ยนชื่อเป็นบ้านผาผ่าตราบจนทุกวันนี้
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่คะตวน อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิกัด LV 875935
ทิศเหนือ จรดบ้านแพะหะหลวง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่คะตวน
ทิศใต้ จรดบ้านไหม้ หมู่ที่ 2 ตำบลแม่คะตวน
ทิศตะวันออก จรดบ้านแม่ออกใต้ หมู่ที่ 4 ตำบลแม่คะตวน
ทิศตะวันตก จรดกับบ้านห้วยสิงห์ อำเภอแม่สะเรียง
ศาสนาประเพณีและวัฒนธรรม
ประชากรร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ วัฒนธรรมและประเพณีทั่วไปเหมือนกับหมู่บ้านอื่นในภาคเหนือ เช่น ประเพณีวันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา เป็นต้น
นอกจากนี้ ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 จะมีประเพณีนมัสการพระธาตุผาผ่า ในวันดังกล่าวจะมีการเดินขึ้นดอยไปนมัสการพระธาตุผาผ่า มีการจุดบั้งไฟเป็นพุทธบูชาและการแข่งขันบั้งไฟด้วย ซึ่งนับได้ว่าเป็นประเพณีของหมู่บ้านที่จัดขึ้นทุกปี ส่วนประเพณีความเชื่อ ชาวบ้านผาผ่ามีความเชื่อมาตั้งแต่บรรพบุรุษว่า ลูกหลานหรือผู้ที่จะมาอยู่ในหมู่บ้านหรือเดินทางออกจากหมู่บ้านหรือกลับเข้าหมู่บ้าน จะต้องมีการบอกกล่าวให้ “เจ้าที่บ้าน” คอบปกป้องดูแลรักษา จึงต้องมีการบอกกล่าวที่ศาลเจ้าหรือผู้ดูแลศาลเจ้าเรียกว่า “ตักฟาย”
โบราณสถานโบราณวัตถุ
บ้านผาผ่าเป็นแหล่งกำเนิดนักบุญแห่งล้านนาไทยอีองค์หนึ่ง คือ ครูบาผาผ่า หรือพระครูปัญญาวรวัตร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดผาผ่า จนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2504 และมีการสร้างอนุสรณ์สถานไว้ดังนี้
รูปเหมือนครูบาผาผ่า ประดิษฐานไว้กลางวัดผาผ่า
สถูปเจดีย์และรูปเหมือนครูบาผาผ่า ประดิษฐานในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของครูบาผาผ่า ซึ่งสร้างเป็นอนุสรณ์สถาน
เจดีย์บรรจุอัฐิครูบาผาผ่า สร้างไว้บนภูเขาขนาดย่อม บริเวณทิศเหนือของอนุสรณ์สถาน
ลักษณะสภาพภูมิศาสตร์และการคมนาคม
สภาพภูมิศาสตร์ เป็นไหลเขาและที่ราบลุ่มน้ำยวม และที่ราบในหุบเขาริมห้วยแม่ปาน พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าแพะและป่าไม้ผลัดใบ เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้สัก
การคมนาคม มีถนนสาย แม่สะเรียง – ท่าสองยางผ่านหมู่บ้าน
ลักษณะทั่วไปและลักษณะประชากร ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนพื้นเมือง ผิวขาวเหลือง อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านชุมชนขนาดใหญ่ มีการศึกษา มีความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต
สภาพทางเศรษฐกิจ
ประชากรมีอาชีพหลักคือ เกษตรกรรม ในฤดูฝนทำนาหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วจะปลูกพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และกระเทียม โดยมีอ่างเก็บน้ำบ้านผาผ่า ที่สร้างกั้นห้วยแม่ปานมาช่วยในการเกษตร มีรายได้ค่อนข้างสูง สามารถส่งบุตรหลานศึกษาต่อในระดับที่สูงได้
ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เท่าที่มีในปัจจุบันนี้ได้แก่ การเล่นดนตรีพื้นเมือง เช่น สะล้อ ซึง ปี่ ขลุ่ย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น