วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

ตักกสิลา หรือ ตักศิลา (Takkasilā)

ตักกสิลา หรือ ตักศิลา (Takkasilā)

ที่มา https://www.facebook.com/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2-442993079227558/

ตักกสิลา หรือ ตักศิลา (Takkasilā) - เมืองหลวงของอาณาจักรคันธาระ มักปรากฎในชาดกทางพุทธศาสนาว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาก่อนที่จะมีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น ในพระไตรปิฎกพบว่ามีการเอ่ยถึงเมืองตักกสิลาแต่ในหมวดชาดก ไม่พบในพระสูตร ในอรรถกถายังระบุว่า ในช่วงพุทธกาลบรรดาเจ้านายและผู้สูงศักดิ์มักไปร่ำเรียนวิชาที่เมืองตักกสิลากัน เช่น พระจ้าปเสนทิโกศล หรือมหาลิ แห่งลิจฉวี หรือพันธุละแห่งมัลละ หรือแม่แต่พระองคุลีมาล ก็เป็นศิษย์สำนักตักกสิลา แต่ตามปกติแล้วจะมีแต่พวกวรรณพรหามณ์และกษัตริย์เท่านั้นที่ได้เรียนวิชาที่นี่


นักศึกษาแห่งตักกสิลา เรียนวิชาไตรเพท ศิลปศาสตร์ 18 วิชา รวมถึงและวิชากลศาสตร์และการยิงเกาทัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีวิชาแพทย์ศาสตร์และสัลยกรรม วิชาดาบ วิชาคชศาสตร์ หรือแม้แต่วิชาเวทมนต์และการบังคับอสรพิษ วิชาค้นหาทรัพย์สมบัติในแผ่นดิน

นักศึกษาจะต้องจ่ายค่าเล่าเรียนเป็นทอง 1,000 เหรียญ แล้วไปอยู่กับอาจารย์ที่บ้าน ตอนกลางวันคอยช่วยงานของท่านและหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเอง กลางคืนจะเป็นเวลาสอนวิชาต่างๆ นักศึกษามีทั้งหญิงและชาย มีสถานะในบ้านอาจารย์ดั่งคนในครอบครัวท่าน

ย่อความจาก Dictionary of Pali Names" ของ G P Malalasekera
ภาพเมืองตักกสิลาในจิตนาการ ช่วงหลังพุทธกาลประมาณ 500 กว่าปี

#ศัพท์ชาวพุทธวันละคำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น