วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การแบ่งเขตเวลา Time Zone ในสหรัฐอเมริกา

การแบ่งเขตเวลา Time Zone ในสหรัฐอเมริกา

ที่มา เหล่ากอพระกฤษณะ สมณะ ฅน สร้างภาพ


ประเทศสหรัฐอเมริกา มีเนื้อที่กว้างใหญ่ ซึ่งถ้าเทียบกันแล้วก็ใหญ่กว่าเมืองไทยเราถึง 9 เท่า ระยะทางจากตะวันออกไปตะวันตกไกลมาก จึงต้องมีการแบ่งเป็นเขตเวลา (Time Zones) ต่างๆ จะใช้เวลามาตรฐานเดียวแบบที่เมืองไทยคงไม่ได้

ถ้าไม่มีการแบ่งเขตเวลา ลองคิดดูว่าที่ New York ค่ำแล้ว แต่ที่ Los Angeles ยังบ่ายแดดเปรี้ยงอยู่ แล้วจะใช้เวลาหนึ่งทุ่มเหมือนกันก็คงแปลกๆ เพราะฉะนั้นเรามารู้จักการแบ่งเขตเวลาในอเมริกากันเลย

-------------------------------------------------------
เขตเวลาตะวันออก (Eastern Time Zone)

ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันออกทั้งหมดอย่างเช่น New York, Washington D.C., Florida โดยเวลาจะช้ากว่าเมืองไทย 12 ชั่วโมง ถ้าไทยเที่ยงวัน แถบนั้นก็เที่ยงคืนพอดี

เขตเวลาตอนกลาง (Central Time Zone)

จะถัดจากเขตตะวันออกเข้ามาในประเทศ ช้ากว่าเมืองไทย 13 ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่ตอนกลางตั้งแต่เหนือจดใต้ โดยได้แก่พื้นที่รัฐ Illinois, North Dakota, Kansas, Texas เป็นต้น

เขตเวลาแถบภูเขา (Mountain Time Zone)

ตั้งตามลักษณะภูมิประเทศซึ่งมีเทือกเขาร็อคกี้ผ่านจากเม็กซิโกยาวไปถึงแคนาดา ทำให้เป็นที่มาของชื่อแถบภูเขา โดยเวลาจะช้ากว่าไทย 14 ชั่วโมง ได้แก่รัฐ Arizona, Colorado, Montana

เขตเวลาแปซิฟิค (Pacific Time Zone)

เขตเวลาทางตะวันตกสุดของประเทศ อยู่ริมมหาสมุทรแปซิฟิค (ทำไมตะวันออกเรียก Eastern แล้วตะวันตกไม่เรียก Western) เวลาจะช้ากว่าเมืองไทย 15 ชั่วโมง มีพื้นที่ตั้งแต่รัฐ Calirofornia ยาวขึ้นไปจนถึง Washington

นอกจาก Time Zones หลักทั้ง 4 นี้แล้ว ยังมีเขตเวลาพิเศษอีก 2 เขต ซึ่งไม่ค่อยคุ้นหูกันนักเพราะไม่ได้ใช่เขตเวลาหลักๆของประเทศ ได้แก่

- Alaskan Time Zone ช้ากว่าเมืองไทย 16 ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่รัฐ Alaska

- Hawaiian Time Zone ช้ากว่าเมืองไทย 18 ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่รัฐ Hawaii

ทั้งหมดนี้ก็คือเขตเวลาในประเทศสหรัฐอเมริกา ดินแดนที่กว้างใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก หวังว่าคนที่อยากจะไปเรียนต่อคงจะได้ข้อมูลดีๆเพิ่มมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น