วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกไว้กันลืม 2

บันทึกไว้กันลืม 2

จากหนังสือประชุมพระนิพนธ์ สรรพความรู้
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ในหนังสือทำเนียบสมณศักดิ์ของชาวเมืองเวียงจันทน์แต่โบราณ เรียกพระภิกษุว่า "เจ้าหัว" และ "เจ้าหม่อม" คำว่า "หัว" "หม่อม" คือหัวของผู้เรียกนั่นเอง

เป็นคำเดียวกันกับที่เรียกเจ้าผู้ครองเมืองว่า "เจ้าย่ำกระหม่อม" หรือ "พระเจ้าอยู่หัว"

ภาษาชาวใต้แต่โบราณเรียกพระว่า "เจ้ากู" มีอยู่ในมหาชาติคำหลวง ซึ่งแต่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๕ และยังปรากฏใช้คำว่า "เจ้ากู" มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ กรุงรัตนโกสินทร์

(คำว่าชาวใต้ ในสมัยก่อน คนทางเหนือจะใช้เรียกพวกแถบภาคกลาง อยุธยา บางกอก ถ้าภาคใต้ในสมัยนี้ จะเรียก ถลาง ไชยา นครศรีธรรมราช หรือมลายู ... อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัว)

ภาษาขอม (เขมรเก่า) มีในศิลาจารึก เรียกเจ้าว่า "กมฺรเต็ญอัญ" "กมฺรเต็ญ" แปลตรงกับคำว่า "กู"

ภาษามอญ เรียกพระภิกษุว่า "ตะละปอยน์" ตะละ แปลว่า "เจ้า" ปอยน์ ตรงกับคำว่า "กู"

ภาษามลายู เรียกเจ้าว่า "ตวนกู" ตวน แปลว่าเจ้า ส่วนกู ตรงกับ "กู" ที่ไทยใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น